ส่องไทม์ไลน์เตรียมการเลือกตั้ง! สดจาก กกต. ปลดล็อค-แบ่งเขต-ไพรมารีโหวต ช่วงไหน?
"...เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายประกาสคณะรักษาความสงบแห้งชาติหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง และร่วมกันจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั้วไปที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญโดยให้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจะเชิญผู้แทนพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้าหารือด้วยก็ได้.."
สืบเนื่องจากกรณีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการแก่พรรคการเมือง ครั้งที่ 2/2561 เรื่อง “แนวทางการดำเนินกิจการพรรคแก่การเมืองที่จัดตั้งหรือเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550” เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2561 โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุมจำนวน 55 พรรค รวม 308 คน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่พรรคการเมืองในการดำเนินกิจการพรรคการเมืองตามกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ และคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเลือกตั้ง
โดยในการประชุมดังกล่าวมีตัวแทนจากพรรคการเมืองหลายพรรคพยายามที่จะสอบถามความชัดเจนเรื่องกำหนดเวลาในการจัดเลือกตั้งจากทางกกต. แม้เรื่องนี้ ผู้แทนจาก สำนักงาน กกต.จะบอกปัดไทมไลน์วันเลือกตั้งที่แน่ชัด โดยชี้แจงเพียงว่าความชัดเจนของวันเลือกตั้งจะเกิดขึ้นหลังจากมีการจัดประชุม ตามคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 ข้อ 8 ที่ระบุไว้ว่า “เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. … ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายประกาสคณะรักษาความสงบแห้งชาติหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง และร่วมกันจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั้วไปที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญโดยให้หารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจะเชิญผู้แทนพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้าหารือด้วยก็ได้”
แต่ในการประชุมเดียวกันนี้ทาง สำนักงาน กกต.ได้แจกเอกสารประกอบการประชุมแก่ตัวแทนพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุม และเป็นกรอบเวลาการดำเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกทั้ง สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org จึงรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจดังกล่าวมานำเสนอ
โดยที่เอกสารดังกล่าว คือ เอกสารที่ระบุชื่อว่า “กรอบระยะเวลาเพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่จัดตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550” ซึ่งหมายถึงพรรคการเมืองเก่า และเอกสารที่ระบุชื่อว่า “กรอบระยะเวลาเพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่จัดตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560” ซึ่งหมายถึงพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดกรอบเวลาการดำเนินกิจกรรมต่างๆไว้ดังนี้
@กรอบระยะเวลาเพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่จัดตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 (พรรคการเมืองเก่า)
ช่วงเดือน เม.ย. 61
- 1 เม.ย.-30 เม.ย. สมาชิกแจ้งยืนยันการเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรคการเมือง
- 1 เม.ย.-27 ก.ย. จัดให้มีทุนประเดิม 1 ล้านบาท (ขยายเวลาได้ 180 วัน)
- 1 เม.ย.-12 ต.ค. จัดให้มีและให้สมาชิกที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ไม่น้อยกว่า 500 คน ชำระค่าบำรุงพรรค และแจ้งให้ กกต.ทราบพร้อมด้วยหลักฐานแสดงการชำระค่าบำรุงพรรค (ขยายเวลาได้ 180 วัน)
- 1 เม.ย. 2561-31 มี.ค.2562 จัดให้มีและให้สมาชิกที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ไม่น้อยกว่า 5,000 คน ชำระค่าบำรุงพรรค
- 1 เม.ย. 2561-31 มี.ค.2565 จัดให้มีและให้สมาชิกที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ไม่น้อยกว่า 10,000 คน ชำระค่าบำรุงพรรค
- ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง 4 ประเภท ประเภทอื่นต้องขออนุญาต คสช.
- หาสมาชิกใหม่ได้ แต่ต้องขออนุญาต คสช. หากไม่ได้รับอนุญาตจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558
ช่วงเดือน พ.ค. 61
- 1 พ.ค.-30 พ.ค. หัวหน้าพรรคแจ้งรายชื่อสมาชิกที่ได้ยืนยันการเป็นสมาชิกพรรคต่อไป ต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง
- ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง 4 ประเภท ประเภทอื่นต้องขออนุญาต คสช.
- หาสมาชิกใหม่ได้ แต่ต้องขออนุญาต คสช. หากไม่ได้รับอนุญาตจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558
ช่วงเดือน มิ.ย.61
- ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง 4 ประเภท ประเภทอื่นต้องขออนุญาต คสช.
- หาสมาชิกใหม่ได้ แต่ต้องขออนุญาต คสช. หากไม่ได้รับอนุญาตจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558
ช่วงเดือน ก.ค. 61
- คาดว่า พ.ร.ป. ส.ส.จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- คาดว่าอาจจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามคำสั่งที่ 53/2558 ข้อ 8
11ก.ค.-8 ต.ค.
- จัดประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับ จัดทำคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองและนโยบายพรรค เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค
- จัดตั้งสาขาพรรค
ช่วงเดือน ส.ค.61
- จัดตั้งสาขาพรรค
ช่วงเดือน ก.ย.61
- คาดว่า พ.ร.ป. ส.ส. จะมีผลใช้บังคับ
- จัดตั้งสาขาพรรค
ช่วงเดือน พ.ย. 61
- คาดว่า กกต.จะประกาศจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัด และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง
- จัดตั้งสาขาพรรค
- จัดตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
ช่วงเดือน ธ.ค. 61
- จัดตั้งสาขาพรรค
- จัดตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
- พรรคการเมืองทำไพรมารีโหวต
ช่วงเดือน ม.ค. 2562
- จัดตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
- พรรคการเมืองทำไพรมารีโหวต
@กรอบระยะเวลาเพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่จัดตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 (พรรคการเมืองใหม่)
ช่วงเดือน มี.ค. 62
- 1 มี.ค.เป็นต้นไป ยื่อคำขอแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง นายทะเบียนพรรคการเมืองใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 30 วัน ก่อนออกหนังสือรับแจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมือง
- 1 มี.ค.เป็นต้นไป ขออนุญาต คสช.รวบรวมผู้จัดตั้งพรรคการเมืองให้ได้ 500 คน หรือขออนุญาตประชุมจัดตั้งพรรคการเมือง
- 1 มี.ค.เป็นต้นไป ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ( 500 คน ทุนประเดิม 1 ล้านบาท) นายทะเบียนพรรคการเมืองใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 45 วัน
ช่วงเดือน เม.ย. 62
- 1 เม.ย. ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145,146 รวมทั้งตรวจสอบคุฯสมบัติและลักษณะต้องห้าม การขออนุญาต ต่อเนื่องจากเดือน มี.ค.
ช่วงเดือน พ.ค. 62
- กรณีรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองในระยะเวลาเร็วที่สุด
- หาสมาชิกได้ แต่ต้องขออนุญาต คสช. เนื่องจากยังไม่ยกเลิกประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558
- ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง 4 ประเภท ประเภทอื่นต้องขออนุญาต คสช.
ช่วงเดือน มิ.ย. 62
- หาสมาชิกได้ แต่ต้องขออนุญาต คสช. เนื่องจากยังไม่ยกเลิกประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558
- ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง 4 ประเภท ประเภทอื่นต้องขออนุญาต คสช.
ช่วงเดือน ก.ค. 62
- คาดว่า พ.ร.ป. ส.ส.จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- คาดว่าอาจจะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามคำสั่งที่ 53/2558 ข้อ 8
ช่วงเดือน ส.ค. 62
- จัดตั้งสาขาพรรค
ช่วงเดือน ก.ย. 62
- คาดว่า พ.ร.ป. ส.ส. จะมีผลใช้บังคับ
- จัดตั้งสาขาพรรค
ช่วงเดือน ต.ค. 62
- 1 ต.ค. กรณีรับจัดตั้งพรรคการเมืองในระยะเวลานานที่สุด
- จัดตั้งสาขาพรรค
ช่วงเดือน พ.ย. 62
- คาดว่า กกต.จะประกาศจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัด และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง
- จัดตั้งสาขาพรรค
- จัดตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
ช่วงเดือน ธ.ค. 62
- จัดตั้งสาขาพรรค
- จัดตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
- พรรคการเมืองทำไพรมารีโหวต
ช่วงเดือน ม.ค. 63
- จัดตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด
- พรรคการเมืองทำไพรมารีโหวต
แม้ข้อมูลจากเอกสารทั้ง 2 ฉบับจะเป็นการคาดการณ์กรอบเวลาคร่าวๆของ สำนักงาน กกต. และเป็นการคาดการณ์จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ก็เชื่อว่ากรอบเวลาการดำเนินกิจการพรรคการเมืองของ พรรคเก่าและพรรคใหม่ ที่นำเสนอนี้ จะทำให้สังคมเห็นถึงภาพรวมของกรอบเวลาก่อนการเลือกตั้งได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ส่วนการดำเนินงานต่างๆ จะเป็นไปตามนี้หรือไม่ โปรดจับตาดูอย่างใกล้ชิด