จุฬาฯ เสวนาถก สัมปทานดิวตี้ฟรี ย้ำ ต้องกำหนดรูปแบบการประมูลให้โปร่งใส หยุดการผูกขาด
"การแก้ไขกฎหมายไม่ใช่ทางออกที่สำคัญ แต่ขี้นอยู่กับทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)หรือ ทอท. ว่าจะกำหนดรูปแบบการประมูลให้เป็นอย่างไร อยากจะได้ผู้ประมูลแบบไหน ถ้าหากทางการท่าอากาศยานทำให้การประมูลเกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจะทำให้ได้รายได้จากการประมูลสูงที่สุด จากบริษัทที่มีความสนใจจะเข้ามาทำธุรกิจ"
สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มี.ค. เวลา 9.00 น. ที่ห้องประชุมสุรเกียรติ เสถียรไทย อาคารทวารดี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ มีการจัดเสวนาสัมปทานดิวตี้ฟรี ก้าวสู่สากล
โดยนายวัฒนศักดิ์ เสือเอี่ยม ผู้อำนวยการกรมการค้าภายใน ได้กล่าวถึงเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายว่าการกำหนดสัมปทานนั้น เห็นว่าถ้าเรามีความชัดเจน แผนในการใช้พื้นที่ ทุกคนคงเห็นว่าเป้าหมายจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าไม่ชัดเจนก็จะมีคำถามตามมา การกำหนดเงื่อนไข( TOR) ต่างๆให้ชัดเจนนั้นจะส่งผลทำให้การตัดสินใจประกอบธุรกิจชัดเจนมากขึ้นด้วย ในการบริหารจัดการทรัพย์สินต่างๆถ้าหากมีความโปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้นสัมปทานก็จะทำให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างเป็นธรรมตามาด้วย
นายวัฒนศักดิ์กล่าวต่อว่าหลักการที่สำคัญก็คือต้องกำหนดว่าจะเปิดให้สัมปทานนั้นจะต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่าจะเอากำไรสูงสุดหรือจะเอาประโยชน์ของผู้บริโภคมาเป็นตัวตั้ง ถ้าหากมีการเปิดให้มีการแข่งขันสัมปทานอย่างเป็นธรรม มีการกำหนดเวลาให้สัมปทานอย่างเหมาะสมว่าจะยุติเมื่อไร ตรงนี้ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารมากขึ้นด้วย
นายพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่าการจะทำให้เกิดการประมูลที่โปร่งใสนั้น การแก้ไขกฎหมายไม่ใช่ทางออกที่สำคัญ แต่ขี้นอยู่กับบริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. ว่าจะกำหนดรูปแบบการประมูลให้เป็นอย่างไร อยากจะได้ผู้ประมูลแบบไหน ถ้าหาก ทอท.ทำให้การประมูลเกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจะทำให้ได้รายได้จากการประมูลสูงที่สุด จากบริษัทที่มีความสนใจจะเข้ามาทำธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามการประมูลที่ผ่านมามีปัญหาเพราะมีการเอาคะแนนคุณสมบัติมาคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาประมูลค่อนข้างมาก แล้วค่อยเอาคนที่มีคุณสมบัติผ่านไปลงเม็ดเงิน ซึ่งการคัดเลือกคุณสมบัติก็จะมีคำถามเรื่องความโปร่งใสอีกว่าคณะกรรมการนั้นมีอคติหรือไม่ คณะกรรมการทำงานแบบมีประสิทธิภาพหรือไม่ และต้องสร้างการแข่งขันหลังจากการประมูลสัมปทานให้มีความโปร่งใสตามมาด้วย
นายพัชรสุทธิกล่าวต่อว่าในแง่ของเกณฑ์การพิจารณาการประมูล โดยทั่วไปเกณฑ์มาตรฐานสากลมักพิจารณาจากข้อเสนอด้าน ธุรกิจ และ ข้อเสนอด้านราคา ในสัดส่วน 60% และ 40% ตามลำดับ หรือในบางประเทศ มีการพิจารณาเป็น 2 ขั้นตอน คือถ้าผ่านการพิจารณาทางด้านธุรกิจ ก็จะใช้ข้อเสนอทางด้านราคาเป็น เกณฑ์เพียงด้านเดียว แต่สำหรับประเทศไทย ในสัมปทานฉบับใหม่อาจให้เกณฑ์การพิจารณาที่ไม่ สมดุลเมื่อเทียบกับประเทศอื่น นอกจากนี้ อัตราค่าผลประโยชน์ตอบแทน สัมปทานในไทยยงัต่ำกว่าในต่างประเทศค่อนข้างมาก โดยอยู่ที่ร้อยละ 15-19 ของรายได้จากการประกอบกิจการ ส่วนในต่างประเทศจะอยู่ที่ร้อยละ 25-47 ขึ้นอยู่กับหมวดหมู่สินค้า
ขณะที่นายศักดา ธนิตกุล อดีตคณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่าในส่วนของการกฎหมายนั้นต้องมีการกำหนดให้มีการแข่งขันที่เหมาะสมตามมาด้วย เห็นว่าผู้บริโภคนั้นจะต้องมีตัวเลือกที่หลากหลายมากกว่านี้ ตนต้องถามไปยัง ทอท.ว่าเขามีเป้าหมายอย่างไร การประกอบธุรกิจนั้นจะต้องมีความเป็นธรรม ผู้ที่เหมาะสมกับการประมูลต้องเข้ามาสู่การประมูลได้และผู้ที่แพ้การประมูลก็จะต้องยอมรับผลนั้น แต่อย่างไรก็ตมประเทศไทยยังมีปัญหา ผู้ที่แพ้ก็พยายามจะหาช่องทางไปหาคณะกรรมการเพื่อไปร้องเรียนเสมอ
ทางด้านของนางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือTDRI กล่าวถึงเรื่องการแข่งขันในดิวตี้ฟรีนั้นมีรูปแบบการแข่งกันในสนามบิน และแบบที่ซื้อในเมืองแล้วไปรับที่สนามบิน ในต่างประเทศนั้นเขาไม่ได้มีแค่เจ้าเดียวในการขายดิวตี้ฟรี แต่เขามีการแข่งขันการหลายเจ้า ยกตัวอย่างที่เกาหลีใต้เป็นต้น ต้องถามว่าทางฝ่าย ทอท.ซึ่งได้รับรางวัลว่ามีการบริหารดีเลิศ เป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรายได้สูงที่สุด ทำไมถึงบริหารสัมปทานให้มีความเหมาะสมไม่ได้ ที่เกาหลีใต้เขามีการเติบโตของดิวตี้ฟรีถึง 6 แห่ง ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในโลก แต่ไทยยังมีแค่ที่เดียว เห็นว่าการแข่งขันกันให้มีร้านดิวตี้ฟรีมากกว่านี้จะทำให้เกิดการแข่งขันกันมากกว่านี้และจะทำให้รายได้เข้ามาสู่การท่าอากาศยานมากขึ้นด้วย รวมไปถึงการสร้างความโปร่งใสในขั้นตอนการประมูลตั้งแต่แรกก็จะทำให้รายได้เข้ามาสู่การท่าอากาศยานมากขึ้นเช่นกัน รวมไปถึงการกำหนดจุดรับสินค้าก็ต้องให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นกลาง
นางเดือนเด่นกล่าวว่าสนามบนิขนาดใหญ่ทั่วโลกจะดำเนินธุรกิจดิวตี้ฟรีในระบบ Concession by Category หรือสัมปทานตามหมวดหมู่สินค้าเป็นส่วนใหญ่ หมายถึงการจีดสรรพื้นที่สัมปทานตาม หมวดสินค้า อาทิ เครื่องสำอาง สุราและบุหรี่ สินค้าแฟชั่น ฯลฯ โดยผู้ประกอบการแต่ละรายจะได้รับสัมปทานในแต่ละหมวดสินค้า ทำให้เกิดการแขง่ขันอย่างมีประสิทธิภาพและได้ ผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางส่งผลให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่ดีที่สด ปัจจุบัน สนามบินสุวรรณภูมิเป็นสนามบนิขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวที่ยังคงใช้ระบบ Master Concession คือการให้สัมปทานผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีรายใหญ่เพียงรายเดียวสำหรับทุกหมวด สินค้า
นางเดือนเด่นกล่าวต่อว่า การประมูลดิวตี้ฟรีนั้นควรจะให้ไปอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ด้วย ต้องมีการกำหนดเป้าหมายการประมูลให้ชัดเจนว่าเราจะทำการประมูลไปเพื่ออะไร ในแง่ของการกำหนดขั้นตอนประมูลนั้นก็ต้องมีการรับฟังความเห็นให้เหมาะสมด้วย ไม่ใช่แค่ทำไปเป็นพิธีการเท่านั้น ในส่วนเรื่องของการฮั้วประมูลหรือการเอื้อประมูลนั้นตนเห็นว่าสิ่งที่เหมาะสมที่จะป้องกันที่สุดก็คือการออกแบบระบบให้เหมาะสมเช่นกัน
ขณะที่นางนวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า นักธุรกิจนั้นชอบที่จะทำธุรกิจที่แข่งขันน้อยๆ ตอนนี้ก็เลยมีการพูดว่าถ้าหากเปิดให้มีการแข่งขันเยอะๆธุรกิจไทยอาจจะไปไม่รอด ซึ่งนี่เป็นความคิดที่ผิด การประมูลนั้นจะต้องมานั่งคิดด้วยว่าจะออกแบบอย่างไรเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงที่สุด ตนเห็นว่าในเรื่องดิวตี้ฟรีที่ต้องขายนั้นราคาต้องมีความเหมาะสมไม่แพงจนเกินไป มิฉะนั้นการขายของให้นักท่างเที่ยวเพื่อหารายได้นั้นก็จะลำบากด้วย ประเทศไทยมีความสามารถในการขายของดิวตี้ฟรีให้กับนักท่างเที่ยวน้อยกว่าเกาหลีใต้ถึง 6 เท่าต้องมาดูว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น
นางนวลน้อยกล่าวต่อว่า การให้สัมปทานในต่างประเทศจะมีอายุเฉลี่ย 5-7 ปี ในขณะที่ประเทศไทยมีอายุเริ่มต้นที่ 10 ปี โดยในกรณีของสนามบนิสุวรรณภูมินั้น ได้มีการอนุมัติ ให้ขยายอายุสัมปทานเพิ่มถึง 2 ครั้งเพื่อชดเชยการประท้วงปิดสนามบินเพียง 1 สัปดาห์ และ ชดเชยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ส่งผลให้มีระยะสัมปทานรวมทั้งสิ้น 14 ปี