ฉบับเต็ม! ผลสอบสตง.ชำแหละตำบลละ5ล.จ.แพร่ รบ.บิ๊กตู่ 'บกพร่องทุกอำเภอ-รุกป่าสงวน'
"...การพิจารณากลั่นกรองโครงการ การดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่อการใช้งบประมาณของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ และไม่บรรลุวัตถุประสงค์โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) โดยไม่เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และปัญหาหรือความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง และมีปัญหาอุปสรรคต่อการบริหารจัดการ..."
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เป็นรายงานผลตรวจสอบการดำเนินงานโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) จังหวัดแพร่ สำนักงานจังหวัดแพร่ กระทรวงมหาดไทย ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยสำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 9 ตรวจสอบพบว่า ที่ทำการปกครองอำเภอทั้ง 8 แห่ง มีความบกพร่องด้านการดำเนินการหลายด้าน อาทิ การพิจารณาและดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามแนวทางและหนังสือสั่งการที่กำหนด การดำเนินโครงการโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอใช้สถานที่ มีการดำเนินโครงการซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่ และไม่เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ด้านการเงินและพัสดุจำนวน และทำหนังสือแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วน
------------------------
ความเป็นมาในการตรวจสอบ
โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) เป็นโครงการภายใต้มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลังโดยให้หมู่บ้านและตำบลเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 (รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.) เห็นชอบต่อหลักเกณฑ์ ขั้นตอน แนวทาง และคู่มือการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ซึ่งมีแนวทางสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอ่อนแอลง โดยมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลจะช่วยให้เกิดการจ้างงานการบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรงบประมาณลงใน ระดับตำบล
2. ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการเกี่ยวกับการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นโครงการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นโครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม
3. หลักเกณฑ์การตรวจสอบกลั่นกรองโครงการ
3.1 โครงการได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน/คณะกรรมการชุมชน
3.2 จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่
3.3 สถานที่ดำเนินการต้องเป็นสถานที่สาธารณะที่มีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่ดูแลหรือหากเป็นสถานที่ส่วนบุคคลต้องมีเอกสารยืนยันให้ใช้สถานที่โดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรมีระยะเวลาสอดคล้องกับการใช้อาคารสถานที่นั้นๆ
3.4 เป็นโครงการที่หมู่บ้าน/ชุมชน สามารถดูแลรักษา สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง และมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันทีที่มีการอนุมัติโครงการ รวมทั้งเป็นโครงการที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
4. แนวทางการปฏิบัติงานด้านการเงิน และการพัสดุ สำหรับที่ทำการปกครองอำเภอ
4.1 การดำเนินการจัดหาพัสดุถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0406.3/ว 114 ลงวันที่ 29 กันยายน 2558 และระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.2 ที่ทำการปกครองอำเภอติดตามเรียกใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหนี้หรือคู่สัญญามาเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบ กรณีที่ดำเนินการติดตามเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับจ้างหรือคู่สัญญาไม่ได้ให้ที่ทำการปกครองอำเภอแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ดำนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4.3 กรณีมีรายการครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น ให้อำเภอรายงานรายการครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้าง ให้สำนักงานจังหวัดทราบด้วย เพื่อสำนักงานจังหวัดจะได้ดำเนินการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สิน และจัดทำหลักฐานการยืมใช้ทรัพย์สินระหว่างสำนักงานจังหวัดและอำเภอเป็นรายปี ต่อไป
รายละเอียดการตรวจสอบ
โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ของจังหวัดแพร่ ซึ่งประกอบด้วยอำเภอจำนวนทั้งสิ้น 8 อำเภอ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติจำนวน 1,298 โครงการงบประมาณรวม 389,494,900.00 บาท
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยสำนักตรวจสอบพิเศษ ภาค 9 ได้ตรวจสอบการดำเนินงานทั้ง 8 อำเภอ พบว่าที่ทำการปกครองอำเภอทุกแห่ง มีความบกพร่องด้านการดำเนินการหลายด้าน ได้แก่
1. การพิจารณาและดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามแนวทางและหนังสือสั่งการที่กำหนด จำนวน 6 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
2. ดำเนินโครงการโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอใช้สถานที่ จำนวน 7 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
3. ดำเนินโครงการซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่จำนวน 8 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
4. ดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ด้านการเงินและพัสดุจำนวน 8 อำเภอคิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
5. การดำเนินโครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ จำนวน 7 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของ จำนวนอำเภอทั้งหมด
ทั้งนี้ ในส่วนการดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ผลการตรวจสอบ พบว่า ที่ทำการปกครองอำเภอดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์แนวทาง และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. การพิจารณาและดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามแนวทาง และหนังสือสั่งการที่กำหนดจำนวน 6 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
1.1 ดำเนินโครงการในลักษณะของการก่อสร้างขึ้นใหม่ ไม่ได้เป็นการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามแนวทางที่กำหนด จำนวน 10 โครงการ จำนวนงบประมาณ 4,426,000.00 บาท
1.2 ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการปรับปรุงหอกระจายข่าวหมู่บ้าน จำนวน 2 โครงการ จำนวนงบประมาณ 210,000.00 บาท โดยจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อติดตั้งและปรับปรุง
หอกระจายข่าว ซึ่งไม่เป็นไปตามหนังสือกรมการปกครองด่วนที่สุด ที่ มท 0310.3/ว 18488 ลงวันที่ 28 กันยายน 2558เรื่องการดำเนินการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5ล้านบาท)
1.3 ดำเนินโครงการโดยไม่มีหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนการดำเนินการจำนวน 9 โครงการ จำนวนงบประมาณ 1,790,200.00 บาท เช่นโครงการส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพทำผ้าด้นมือไม่มีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นไปตามหนังสือกรมการปกครอง ด่วนที่สุดที่ มท 0310.3/ว 18746 ลงวันที่ 30 กันยายน 2558 เรื่อง การดำเนินการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ที่กำหนดให้นายอำเภอ พิจารณามอบหมายหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนการทำงานของนายอำเภอได้ และขอให้พิจารณามอบหมายหน่วยงานดังกล่าวเป็นเจ้าภาพผู้รับผิดชอบ
2. ดำเนินโครงการโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอใช้สถานที่ จำนวน 7 อำเภอคิดเป็นร้อยละ 87.50 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
ผลการตรวจสอบพบว่า ที่ทำการปกครองอำเภอจัดทำโครงการโดยไม่ดำเนินการขอใช้สถานที่ ตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบกลั่นกรองโครงการ 115 โครงการ จำนวนงบประมาณ 31,173,800.00 บาท ดังนี้
2.1 พื้นที่อุทยานแห่งชาติจำนวน 10 โครงการ จำนวนงบประมาณ 4,405,000.00 บาท ดำเนินการโดยไม่ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ ไม่มีเอกสาร หลักฐานการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่จากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรืออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปุา และพันธุ์พืช เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
2.2 พื้นที่ปุาสงวนแห่งชาติ จำนวน 39 โครงการ จำนวนงบประมาณ 9,059,800.00 บาท ดำเนินการโดยไม่ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ ไม่มีเอกสาร หลักฐานการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่จากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรืออธิบดีกรมปุาไม้ เป็นการฝุาฝืนกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติปุาไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54 และพระราชบัญญัติปุาสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14
2.3 ที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบดูแล บำรุงรักษาของวัด จำนวน 60 โครงการ จำนวน งบประมาณ 16,294,900.00 บาท ดำเนินการโดยไม่ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 34 และตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2511 ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 2
2.4 ที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบดูแล บำรุงรักษาของโรงเรียน จำนวน 6 โครงการ จำนวนงบประมาณ 1,414,100.00 บาท ดำเนินการโดยไม่ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 14
3. ดำเนินโครงการซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่ จำนวน 8 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
3.1 ดำเนินโครงการที่มีรายละเอียดกิจกรรม รายการค่าใช้จ่าย ที่มีลักษณะซ้ำซ้อนกับโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จากรายจ่ายค้างจ่ายปีงบประมาณ 2558
แผนการดำเนินงานประจำปี และโครงการตามเทศบัญญัติ/ข้อบัญญัติประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 88 โครงการ จำนวนงบประมาณ 29,827,500.00 บาท
3.2 ดำเนินโครงการในอาคาร ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ของส่วนราชการอื่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน เป็นต้น จำนวน 11 โครงการ จำนวนงบประมาณ 1,496,000.00 บาท
4. ดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ด้านการเงินและพัสดุ จำนวน 8 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนอำเภอทั้งหมด
4.1 ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่มีใบเสร็จรับเงินให้ตรวจสอบ ณ วันที่ เข้าตรวจสอบ จำนวน 5 อำเภอ จำนวน 319 โครงการ จำนวนเงินเบิกจ่าย 87,349,521.31 บาท ได้แก่ ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองแพร่ ที่ทำการปกครองอำเภอสูงเม่น ที่ทำการปกครองอำเภอร้องกวาง ที่ทำการปกครองอำเภอสอง และที่ทำการปกครองอำเภอวังชิ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า ที่ทำการปกครองอำเภอ จำนวน 4 อำเภอ ดำเนินโครงการแล้วเสร็จและติดตามเรียกใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหนี้หรือคู่สัญญามาเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบแต่รายละเอียดใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้อง จำนวน 43 โครงการ จำนวนเงินเบิกจ่าย 15,234,862.00 บาท เช่น ระบุจำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินสูงกว่าที่จ่ายจริง เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากรของผู้ประกอบการได้
4.2 ดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 อำเภอ จำนวน 160 โครงการ เช่น กำหนดราคากลางสูงกว่าความเป็นจริง คิดค่าปรับกรณีผู้รับจ้างส่งงานล่าช้าไม่ถูกต้อง เบิกจ่ายเงินเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับคู่สัญญาที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
ผลกระทบ
1. ผลกระทบที่เป็นตัวเงินทำให้ราชการเสียหาย จำนวนเงินเบิกจ่าย 249,224.37 บาท ดังนี้
1.1 กำหนดราคากลางสูงกว่าที่ควรจะเป็น จำนวนเงินเบิกจ่าย 22,724.35 บาท
1.2 คิดค่าปรับไม่ถูกต้อง จำนวนเงินเบิกจ่าย 47,017.45 บาท
1.3 เบิกจ่ายเงินเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับคู่สัญญาที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนเงิน 179,482.57 บาท
2. ผลกระทบที่ไม่เป็นตัวเงิน
ขณะที่การพิจารณากลั่นกรองโครงการ การดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หนังสือสั่งการ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลต่อการใช้งบประมาณของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ และไม่บรรลุวัตถุประสงค์โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) โดยไม่เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และปัญหาหรือความต้องการความช่วยเหลือของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง และมีปัญหาอุปสรรคต่อการบริหารจัดการ ดังนี้
2.1 การพิจารณาและดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามแนวทาง และหนังสือสั่งการที่กำหนดส่งผลให้สิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ขาดหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ ดูแล บำรุงรักษาในระยะยาวอีกทั้งโครงการที่เป็นการจัดซื้อวัสดุเพื่อปรับปรุงหอกระจายข่าวไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง และการดำเนินโครงการโดยไม่มีหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนอาจส่งผลถึงความสำเร็จ ความคุ้มค่า รวมถึงการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.2 โครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ซึ่งมิได้ขออนุญาตตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบกลั่นกรองโครงการ เช่น กรณีที่ดำเนินการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้อาจทำให้เกิดความสูญเสียต่องบประมาณแผ่นดินหากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต้องถูกรื้อ ถอน หรือถูกทำลาย อีกทั้งยังเป็นเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพอุทยานแห่งชาติ และปุาสงวนแห่งชาติ ส่งผลกระทบต่อสภาพความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยากแก่การฟื้นฟูให้กลับคืนดีดังเดิม และเกิดการบุกรุกพื้นที่ปุาเพิ่มมากขึ้น สำหรับกรณีพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดูแล บำรุง รักษาของวัด และโรงเรียน อาจส่งผลให้โครงการดังกล่าวซ้ำซ้อนกับแผนการใช้สถานที่ของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความยั่งยืนของโครงการ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดการสูญเปล่าของงบประมาณแผ่นดิน
2.3 การจัดทำโครงการซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการในพื้นที่ เป็นผลให้เกิดการเสียโอกาสที่จะนำงบประมาณดังกล่าวไปวางแผนเพื่อพัฒนาได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตต่องบประมาณแผ่นดิน
2.4 การไม่ติดตามเรียกใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหนี้ หรือคู่สัญญามาเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย ท าให้ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ และกรณีรายละเอียดใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้อง อาจส่งผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากรของผู้ประกอบการได้
2.5 การเบิกจ่ายและดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้ราชการเสียประโยชน์เช่น การประกันความชำรุดบกพร่องงานก่อสร้างไม่ถูกต้อง ไม่มีผลการทดสอบแรงอัดของตัวอย่างคอนกรีต และไม่มีรายงานช่างผู้ควบคุมงาน อาจส่งผลให้สิ่งก่อสร้างตามโครงการไม่มีคุณภาพ อีกทั้งการแก้ไขสัญญาโดยไม่ลงลายมือชื่อกำกับ นอกจากไม่มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายแล้ว อาจส่งผลให้ราชการเสียหายหากแก้ไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ และอาจก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณแผ่นดิน
ข้อเสนอแนะ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 9 มีข้อเสนอแนะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. สั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอ ดำเนินการดังนี้
1.1 รายงานรายการครุภัณฑ์/สิ่งก่อสร้างให้สำนักงานจังหวัดทราบ เพื่อดำเนินการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สิน และจัดทำหลักฐานการยืมใช้ทรัพย์สินระหว่างสำนักงานจังหวัดและอำเภอเป็นรายปี ทั้งนี้ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0406.3/ว 114ลงวันที่ 29 กันยายน 2558 เรื่องหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล และดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินให้เป็นไปตาม กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์ เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ.2545 หมวด 1 การปกครองดูแล และบำรุงรักษาที่ราชพัสดุกรณีจัดทำโครงการในลักษณะของการก่อสร้างขึ้นใหม่และโครงการประเภทปรับปรุง ซ่อมแซม อาคาร ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการ
1.2 ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อบัญญัติ และเทศบัญญัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ว่ามีการดำเนินการและเบิกจ่ายซ้ำซ้อนกับโครงการตำบลละ 5 ล้านบาทหรือไม่ หากพบว่าเบิกจ่ายซ้ำซ้อนกับโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท มีเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ดำเนินการหาผู้รับผิดทางละเมิด และพิจารณาโทษตามควรแก่กรณี
2. สั่งการให้นายอำเภอติดตามใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหนี้หรือคู่สัญญาที่ถูกต้อง มาเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบ ในกรณีที่เจ้าหนี้หรือคู่สัญญาไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้หน่วยงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และใช้รายงานการจ่ายเงินในระบบ GFMIS พร้อมแนบหนังสือแจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบทั้งนี้ให้ปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0406.3/ว 114 ลงวันที่ 29 กันยายน 2558 เรื่องหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล โดยเคร่งครัด
ดังต่อไปนี้
2.1 กรณีไม่มีใบเสร็จรับเงินให้ตรวจสอบจำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น อำเภอร้องกวาง อำเภอสอง และอำเภอวังชิ้น
2.2 กรณีใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้องจำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น อำเภอสอง และอำเภอหนองม่วงไข่
3. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงดำเนินการสอบข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ ดังนี้
3.1 คณะกรรมการบูรณาการกลั่นกรองระดับอำเภอในการปฏิบัติหน้าที่ กรณีดำเนินโครงการปรับปรุงหอกระจายข่าวหมู่บ้าน ดำเนินโครงการโดยไม่มีหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนการดำเนินการตามหนังสือสั่งการที่กำหนดไว้และอนุมัติโครงการที่ไม่มีความพร้อมด้านสถานที่ หากพบว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่องมีเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ดำเนินการหาผู้รับผิดทางละเมิดและพิจารณาโทษตามควรแก่กรณี
3.2 เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท ที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง มีเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย จำนวน 249,224.37 บาท และให้ดำเนินการหาผู้รับผิดทางละเมิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดินโดยเร็ว และพิจารณาโทษตามควรแก่กรณีดังนี้
3.2.1 กรณีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง กำหนดราคากลางสูงกว่าที่ควรจะเป็น จำนวน 22,724.35 บาท ได้แก่
- ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองแพร่ จำนวน 1,935.75 บาท
- ที่ทำการปกครองอำเภอหนองม่วงไข่ จำนวน 20,788.60 บาท
3.2.2 ที่ทำการปกครองอำเภอคิดค่าปรับไม่ถูกต้อง จำนวน 47,017.45 บาทได้แก่
- ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองแพร่ จำนวน 3,351.95 บาท
- ที่ทำการปกครองอำเภอสูงเม่น จำนวน 687.00 บาท
- ที่ทำการปกครองอำเภอลอง จำนวน 29,176.50 บาท
- ที่ทำการปกครองอำเภอวังชิ้น จำนวน 600.00 บาท
- ที่ทำการปกครองอำเภอหนองม่วงไข่ จำนวน 13,202.00 บาท
3.2.3 ที่ทำการปกครองอำเภอร้องกวางเบิกจ่ายเงินเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับคู่สัญญาที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจ านวนเงิน 179,482.57 บาท
4. ให้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานกับหน่วยงานราชการ บุคคล หรือเอกชนเจ้าของพื้นที่และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง กรณีโครงการที่จัดทำโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอใช้สถานที่ จำนวน 115 โครงการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการใช้สถานที่ต่อไป สำหรับกรณีโครงการที่จัดทำในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จำนวน 10 โครงการ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 39 โครงการ ให้ตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ หากพบว่าเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหรือป่าสงวนแห่งชาติ หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 25พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 72 ตรี และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507มาตรา 31 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. สั่งกำชับ ตักเตือน เป็นลายลักษณ์อักษร แก่คณะกรรมการบูรณาการกลั่นกรองระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท ทุกอำเภอให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ และเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ในโอกาสต่อไป หากเกิดข้อบกพร่องเช่นนี้อีกให้พิจารณาโทษให้สูงขึ้น
อบรมจริง 100%! นอภ.นครชัยศรีสอบใช้งบตำบลฯ 3 แสนทำกับข้าวเสร็จแล้ว
ใช้ 3 แสนทำกับข้าวกิน 10 วันจบ! ป.ป.ช.ลุยสอบงบตำบล 5 ล.งิ้วราย-นครปฐม
กลิ่นทุจริตโชย! ป.ป.ช.เจอบางพื้นที่ใช้งบตำบล 5 ล.ไม่โปร่งใส-ลุยสอบแล้ว
เอาจริง! ป.ป.ช.จับมือ มท.ลุยสุ่มตรวจโครงการงบตำบล 5 ล.ปรามโกง
เป็นเสือเข้าไปปรามโกง! ป.ป.ช.จับมือ มท.เฝ้าระวังโครงการตำบลละ 5 ล.
มท.ตั้ง กก.สอบ! งิ้วราย-นครปฐมใช้งบตำบลฯ 3 แสนทำกับข้าวกิน 10 วันจบ