จับตา..ภาษีสิ่งแวดล้อม สุวิทย์เตรียมคว่ำ อ้างซ้ำซ้อน
ภาษีสิ่งแวดล้อมส่อเค้าวุ่น กระทรวงทรัพย์ฯไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนภาษี ซ้ำซ้อนกับกองทุนสิ่งแวดล้อม ขณะที่คลังให้ถกรายละเอียดในขั้นตอนการออกกฤษฎีกา ด้านนักวิชาการแย้งแนวทางการจัดเก็บและการใช้กองทุนต่างกัน ภาคประชาชนชู 3 มาตรการ ป้องกัน กำกับ แก้ไข ส่วนเอกชนต้องการความชัดเจนและยืดหยุ่น ขณะเดียวกันก็สามารถเรียกภาษีคืนได้หากมีการส่งออกไปประเทศที่มีการใช้ภาษี ดังกล่าว
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด ผู้อำนวยการสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในงานเสวนา”ชำแหละภาษีสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์จริงหรือ? “ ที่จัดขึ้น ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิสรามูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ในโครงการร่วมปฎิรูปประเทศไทย ว่า ภาษีสิ่งแวดล้อมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 53 ที่ ผ่านมานั้น เป็นกฎหมายแม่ที่ออกแบบมาให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาอีกหลายฉบับ ตามปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปล่อยมลพิษ ที่สร้างผลกระทบต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยมีการใช้กับบางอุตสาหกรรมก่อน ซึ่งจะพิจารณาจากปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบทางอากาศ และน้ำ โดยแนวโน้มจะมีการใช้กับอุตสาหกรรมหนัก เช่น โลหะต่อไป
ทั้งนี้หลักการกำหนดภาษีสิ่งแวดล้อมนั้น มาจาก 6 มาตรการ ได้แก่ 1 รูปแบบการจัดเก็บภาษีจะต้องมีการคำนวณจากการปล่อยของเสีย หรือการสร้างมลภาวะ 2.ค่า ธรรมเนียมในการบริหารจัดการ เช่น การเก็บภาษีจากอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน หรือ เรือสำราญที่เข้ามาในประเทศทิ้งขยะและของเสียให้ประเทศต้องจัดการ 3.ค่าธรรมเนียมจากผลิตภัณฑ์ ในสภาพยุโรปและญี่ปุ่นบังคับให้ผู้ใช้มีการจ่ายภาษีแบตารีและยางรถยนต์ 4.การเก็บเงินจากการประกันความเสี่ยง 5 .การซื้อขายสิทธิจากการใช้ทรัพยกร เป็นการกำหนดใช้ในอนาคต กรณีที่ไม่สามารถลดปัญหามลพิษได้ และ 6 การสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษ เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการปัญหามลพิษ
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า รูป แบบาการเก็บภาษีจะมีการกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา พร้อมกับจักตั้งกองทุนขึ้นมา เพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามสภาพปัญหาที่กิดขึ้น โดยเนื้อหาของกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฏีกา
โดยมีกระแสข่าวว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะในเรื่องการจัดตั้งกองทุน เพราะซ้ำซ้อนกับกองทุนสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
รศ.ดร.กรอบกุล รายะนาคร นักวิชาการภาษีสิ่งแวดล้อม มองว่ากองทุนสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ได้งบประมาณจากภาษีที่รัฐบาลในการสนับสนุน เบื้องต้นประมาณ 5,000 ล้านบาท ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา18 ปี ในรูปของการชดเชยผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น หาก ให้มีการนำเงินภาษีสิ่งแวดล้อมเข้ามาในกองทุนทุนที่มีอยู่นั้น คงจะต้องมีการแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทั้งฉบับ เพื่อจะทำให้การแก้ปัญหาเกิดความคล่องตัว
ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ กล่าวว่า การนำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมที่อยู่ล่าช้า เพราะต้องการผ่านกระบวนและขั้นตอนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ขณะที่กฎหมายใหม่ กำหนดให้ กองทุนนี้มีรูปแบบการบริหารจัดการแบบเดียวกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่มีความคล่องตัวและมีการกำกับและมีการตรวจสอบจาก สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)
สำหรับกรอบใหญ่ของกฎหมายฉบับนี้ จะ มีการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงการคลัง ,กระทรวงอุตสาหกรรม ,กระทรวงพลังงาน, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น และผ่านการรับฟังความเห็นมา 8 ครั้งแล้ว ซึ่งการออกพระราชกฤษฏีกาตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ก็จะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
คลังเก็บภาษีตามความเห็นของหน่วยงาน
นายลวรณ แสงสนิท โฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าว ว่า วิธีการเก็บภาษีนั้น จากกรมโรงงานจะเป็นผู้ดำเนินการการตรวจสอบแล้วแจ้งมากระทรวงการคลังในการจัด เก็บภาษี เนื่องจากคลังมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการจัดเก็บภาษีอยู่แล้วไม่ว่า จะเป็นกรมสรรพากร กรมสรรพาสามิต และกรมศุลกากร โดยรายละเอียดจะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา
เอ็นจีโอเน้น 3 ด้าน
นายสุทธิ อัชฌาศัย ตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า มาตรการการแก้ปัญหามี 3 ประเด็น 1. เน้นการป้องกัน โดยรัฐธรรมนูญมาตรา67 ได้ กำหนดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น อีไอเอ หรือ เอชไอเอ ได้กำหนดจุดยุทธศาสตร์ ขอผังเมืองและแนวกันชน ซึ่งจะแก้ปัญหาของผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้ 2 .มาตรการกำกับ รัฐบาลสามารถดำเนินการกำกับให้ผู้ประกอบการ โดยใช้กฎหมายบังคับเกี่ยวกับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน และ 3 มาตรการแก้ไข รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายออกบังคับได้ในรูปแบบของ ”ผู้ก่อเป็นผู้จ่าย ” หากรายได้จากภาษีสิ่งแวดล้อมสูงมาก สะท้อนให้เห็นว่าการสร้างมลภาวะมากตามไปด้วย
เอกชน ขอความชัดเจน
นายกิตติ ตั้งจิตรมณีศักดา รองประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เอกชนต้องการความชัดเจนของการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะต้องศึกษารายละเอียดของภาษีฉบับนี้ด้วย ซึ่งสมาชิกของสภาอุตฯส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะมีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม
ทั้ง นี้ภาคเอกชนมองว่า การที่รัฐจะออกมาตรการอะไรมาบังคับใช้ ควรจะให้ภาคเอกชนเข้ามามี ส่วนเกี่ยวข้องในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมด้วย เนื่องจากภาษีที่สูงเกินจะมีผลกระทบต่อการแข่งขันของเอกชน ขณะ เดียวกันรัฐจะต้องสร้างแรงจูงใจ ยกเว้นภาษีหรือมาตรการต่างๆด้านภาษีให้ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีบำบัดของเสีย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกไปในประเทศที่มีการเรียกเก็บภาษีแบบเดียวกัน รัฐควรจะมีมาตรการคืนภาษีให้กับเอกชนด้วย มิเช่นนั้นจะทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนด้านภาษี 2 ต่อ ยกตัวอย่าง หากไทยส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปขายที่ต่างประเทศ โดยประเทศนั้นมีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมอยู่ รัฐบาลก็น่าจะคืนภาษีให้กับผู้ส่งออกด้วย โดยมาตรการเหล่านี้ จะต้องรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย
http://www.thaireform.in.th/news-environment-energy/2198-2010-11-03-09-22-41.html