กรมการข้าวจับมือเอกชนพัฒนาความปลอดภัยให้ชาวนาไทย ดันใช้มาตรฐานSRP
กรมการข้าว จับมือ BASF และโครงการเบรีย พัฒนาความปลอดภัย การใช้ยากำจัดศัตรูพืชในนาข้าวให้เกษตรกร เล็งนำระบบผลิตข้าวจากเมล็ดโดยตรงมาใช้ พัฒนามาตรฐาน SRP เพื่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ระดับโลก พร้อมรับอุปกรณ์ป้องกันนำร่อง 480 ชุด
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 60 ในงานการประชุมและนิทรรศการข้าวเพื่อความอย่างยั่งยืนที่ ศูนย์การประชุมแห่งสหประชาชาติ กรุงเทพฯ (UNCC) โครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย (เบรีย) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ (GIZ) ประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมการข้าว เปิดตัวโครงการพัฒนาความปลอดภัยสำหรับชาวนาในประเทศไทยผ่านการจัดชุดป้องกันตนเองของเกษตรการมืออาชีพ โดยถูกออกแบบเพื่อช่วยชาวยนารายย่อยลดความเสี่ยงต่อผลิตภันณฑ์ที่ได้รับการปกป้องพืชผล โดยปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีด้านเกษตรกรรม
นางสาวลัดดา วิริยางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการรับรองข้าว กรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวมีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงการผลิตและผลผลิตของข้าวให้ปลอดภัยและยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นไปตามมาตรฐานตรงความต้องการของผู้บริโภคและตลาด โดยมุ่งเน้นที่การวิจัยและพัฒนาผลิตข้าว ในส่วนการให้ความรู้กับเกษตรกรในการใช้ยากำจัดวัชพืชหรือศัตรูพืช ได้มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งตรวจสอบมาตรฐานของข้าวให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP ทั้งนี้ต้องยอมรับว่ายังเกษตรกรอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่เข้าใจการใช้สารเคมีต่างๆ จึงจำเป็นที่ต้องมีการดูแลลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ข้าวของเราเป็นข้าวที่มีคุณภาพ
ด้านนางเนตรนภิส สุขบาง ผู้อำนวยการแผนกอารักขาพืช บริษัท บีเอเอสเอฟ (ไทย)จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่เราให้ความสำคัญไม่เพียงแค่อาหารที่ปลอดภัย แต่เกษตรกรผู้ปลูกต้องได้รับความปลอดภัยและสามารถรักษาคุณภาพของดินที่ทำการเพาะปลูกด้วย การพัฒนาชุดป้องกันเพื่อความปลอดภัยสำหรับเกษตรกรในครั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานเวทีเพื่อการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน( SRP) ซึ่งประกอบได้ด้วย ถุงมือ หน้ากาก แว่นใส่ป้องกัน พร้อมคู่มือคุณภาพได้มารฐานการรองรับจากทั้งสหรัฐอเมริกาและสภภาพยุโรป ให้แก่กรมการข้าว เพื่อนำไปมอบต่อให้กับศูนย์ข้าวชุมชนและเกษตรกรผู้ทำนาแปลงใหญ่จำนวน 480 ราย
ด้านดร. แอนดรู บีดเดิ้ล ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผลิตภัณฑ์และความยั่งยืน แผนกอารักขาพืช BASF กล่าวว่า ทางบีเอเอสเอฟได้พัฒนา AgBalance ซึ่งเป็นกระบวนการประเมินผล ผ่านการตรวจสอบข้อบ่งชี้ 70 ชนิด ทั้งจากสภาพของดิน การใช้น้ำ ความสามารถในการทำกำไร ผลกระทบต่อผู้ทำงานและต้นทุนการผลิต เพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการเพาะปลูกพืชที่เป็นอาหารให้สามารถส่งผลต่อปัจจัยทางด้านความยั่งยืนอย่างครบถ้วน ซึ่งไม่ใช่แค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ดร.แอนดรู กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศแรกที่มีการนำระบบดังกล่าวไปใช้เพื่อแสดงปริมาณผลประโยชน์ทางด้านความยังยืนของปลูกเมล็ดข้าวแห้งเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีระบบการผลิตแบบเคลียร์ฟิลด์ ซึ่งผสมผสานเมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชแบบไม่ดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) กับสารกำจัดวัชพืชที่ถูกออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ทำให้การควบคุมข้าววัชพืชเป็นผลสำเร็จและลดค่าใช้จ่ายลง
“ข้าวที่เพาะเมล็ดโดยตรงต้องการน้ำน้อยกว่าและสร้างการปล่อยกีาซเรือนกระจกน้อยกว่าเทียบกับวิธีการปลูกข้าวแบบปลูกถ่ายดั้งเดิม ระบบดังกล่าวมีการใช้งานแล้วโดยชาวนาในประเทศมาเลเซีย และ BASF กำลังมุ่งไปที่การนำระบบการผลิตข้าวแบบเคลียร์ฟิลด์เข้ามาในประเทศและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียในอนาคต” ดร.แอนดรูกล่าว
ด้านนายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการโครงการเบรีย ประจำภูมิภาค กล่าวว่า ในประเทศไทย โครงการเบรียได้นำร่องการทดสอบมาตรฐาน SRP ในจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ภายใต้ความร่วมมือกับกรมการข้าว การทดสอบนำร่องนี้ มุ้งเน้นที่การประเมินการประยุกต์ใช้มาตรฐานและการฝึกอบรมของเกษตรกร มาตรฐาน SRP ช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงการทำนาของตนโดยใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรฐาน SRP เกิดขึ้นครั้งแรกในเวทีเพื่อการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน จัดตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 2554 โดยในโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติและสถายันวิจัยข้าวนานาชาติ(IRRI) เป็นผุ้ให้การสนับสนุน โดยมีจุดมั่งหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ความยั่งยืนในการค้า การผลิตและการบริโภค รวมทั้งห่วงโซ่อุปทานในภาคอุตสาหกรรมข้าวทั่วโลก โดยมาตรฐาน SRP ทำหน้าที่เสมือนเป็นกรอบความยั่งยืนในการทำเกษตรและเป็นรากฐานในการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการในห่วงโซ่คุณค่า เนื่องจากตลาดมีบทบาทสำคัญดังนั้นจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ซื้อเพื่อขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนทั้งในตลาดในประเทศและส่งออก