ทบ.รื้อโครงสร้าง'นรด.'ใหม่ บังคับใช้1ต.ค.นี้
ทบ.ปรับโครงสร้าง "นรด."ใหม่ บังคับใช้ 1ต.ค.นี้ตั้ง "ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร"แทน"ศูนย์การกำลังสำรอง" เปลี่ยน "รร.การกำลังสำรอง "เป็น"ศูนย์การกำลังสำรอง" ตั้ง กองพันทหารราบ"พัน.ร.นรด" หลัง โอน"พล.ร.11"ไปอยู่ทัพภาค1
28 ก.ย.60 ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ผู้สื่ออข่าวรายงานว่า พล.อ.วีรชัย อินทุโศภน ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน(นรด.) ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนและหน่วยรองหลัก ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.60 เป็นต้นไป เพื่อให้การบริหารจัดการด้านกิจการกำลังสำรองของกองทัพบกใน ระยะยาว สอดรับกับกฎหมายและระเบียบกระทรวงกลาโหมที่ปรับปรุงใหม่ และเพื่อให้ระบบการเตรียมกำลังพลสำรอง ของกองทัพบก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงสร้างใหม่ของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน(นรด.)ให้มีหน่วยรองหลักที่ใช้อัตราแยกต่างหาก จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ 1. ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (ศศท.) จากเดิมชื่อ ศูนย์การกำลังสำรอง (ศสร.) มีหน้าที่เกี่ยวกับการฝึกและ ศึกษานักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) รวมทั้งกิจการนักศึกษาวิชาทหาร โดยมีการจัดประกอบด้วย ส่วนบังคับบัญชา, กองฝ่ายอานวยการ, แผนกฝ่ายกิจการพิเศษ, กองบริการ และโรงเรียนรักษาดินแดน ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (รร.รด.ศศท.)
2. ศูนย์การกำลังสำรอง (ศสร.) แปรสภาพการจัดหน่วยจาก โรงเรียนการกำลังสำรอง ศูนย์การกำลังสำรอง (รร.กสร.ศสร.) มีหน้าที่เกี่ยวกับการฝึกและศึกษาของกำลังพลสำรอง อาสารักษาดินแดนและสัสดี รวมทั้งการจัดเตรียม กำลังและทดแทนกำลังพลสำรองเป็นหน่วยระดับกองพันทหารราบ โดยมีการจัดประกอบด้วย ส่วนบังคับบัญชา, กองฝ่ายอำนวยการ, แผนกฝ่ายกิจการพิเศษ, กองบริการ, หน่วยตรวจโรค, โรงเรียนการกำลังสำรอง ศูนย์การกำลัง สำรอง (รร.กสร.ศสร.)(ใหม่) จัดหน่วยตามอัตราการจัดเฉพาะกิจ หมายเลข 2721 รร.กสร.ศสร. และหน่วยทหารที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด เพื่อจัดตั้งกรมทหารราบ (อัตราโครง) ในระยะต่อไป โดยมีที่ตั้งหน่วย ค่ายธนะรัชต์ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
3. กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน จัดหน่วยตามอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ หมายเลข 7-15 (25 มิ.ย.22) พัน.ร. นามย่อใช้ "พัน.ร.นรด." เครื่องหมายสังกัดใช้ "นรด." ซึ่งปรับการบรรจุมอบจาก เดิมเป็นหน่วยในการบังคับบัญชาของศูนย์การกาลังสำรอง (ศสร.)(เดิม)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่กองทัพบกได้บรรจุมอบ กองพลทหารราบที่ 11 ให้กับกองทัพภาคที่ 1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ กองทัพภาคที่ 1 มีกำลังรบที่เพียงพอในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะเผชิญภัย คุกคามที่หลากหลาย จึงทำให้กองทัพบกมีความจำเป็นที่จะจัดตั้งหน่วยทดแทนให้กับหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เพื่อรองรับภารกิจของกองพลทหารราบที่ 11 ทั้งในด้านการทำหน้าที่เป็นศูนย์ฝึกหน่วยกำลังพลสำรองของกองทัพบก และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการบรรจุกำลังพลสำรองตาม พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.2558 ซึ่งหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนและ หน่วยรองหลัก ตามแนวทางเสริมสร้างศูนย์ฝึกกำลังพลสำรองของกองทัพบก และขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขอัตรา เฉพาะกิจของกองทัพบก