ชาวบ้านห้วยกลทา ฮึดยื่นอุทธรณ์ คดีศาลหล่มสักตัดสินคดีให้จ่ายค่าโลกร้อน
ชาวบ้านพื้นที่บ้านห้วยกลทา อำเภอหล่มสัก เพชรบูรณ์ ยื่นอุทธรณ์ คดีศาลหล่มสักตัดสินให้คดีให้จ่ายค่าโลกร้อน ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เนื่องจากยากจนและต้องการได้รับความเป็นธรรม
วันที่ 29 พ.ค. 2560 เวลา 9.00 น. ที่ศาลจังหวัดหล่มสัก ชาวบ้าน 11 รายที่ตกเป็นจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายเพราะทำให้โลกร้อนในคดีความเเพ่งตัดสินใจยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น พร้อมทั้งขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เนื่องจากยากจนและต้องการได้รับความเป็นธรรม
คดีนี้สืบเนื่องจากคดีหมายเลขดำที่ 77/2553 ระหว่าง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางเเพ่งกับนางมณีรัตน์ คำเบ้า กับพวกรวม 16 คน ตกเป็นจำเลยโดยเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559ศาลจังหวัดหล่มสักได้ตัดสินว่า ชาวบ้านที่ผิดฐานบุกรุกตามคำพิพากษาศาลอาญา ในคดีแพ่งจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายและสมควรกำหนดค่าเสียหายไร่ละ 20,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันที่ 3 พ.ย. 48 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ผลของคดีดังกล่าวทำให้ชาวบ้านต้องชดใช้เงินจำนวน 182,300 บาท หากรวมดอกเบี้ย,ค่าธรรมเนียมและค่าทนายความใช้แทนโจทก์รวมเป็นเงิน 362,352 บาทต่อกรมอุทยานฯที่เป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีนี้
การอุทธรณ์คดีแพ่งดังกล่าวสร้างความเดือนร้อนให้ชาวบ้าน เพราะไม่มีเงินค่าธรรมเนียมศาลจำนวนกว่า 30,000 บาท และมีความเห็นว่า คดีมีเหตุให้อุทธรณ์ในส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ไม่สามารถการพิสูจน์ว่ามีการเก็บตัวอย่างดิน วัดความลาดชัน วัดอุณหภูมิ ว่าจะได้ดำเนินการเก็บหรือไม่ ทั้งแบบตารางคอมพิวเตอร์ที่ระบุความเสียหาย เขียนด้วยลายมือ มิได้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ทั้งจำเลยนำสืบว่าแบบคำนวณค่าเสียหายไม่สามารถที่จะพิสูจน์ค่าเสียหายได้ โจทก์จึงไม่สามารถพิสูจน์ค่าเสียหายได้ โดยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่า การคำนวณค่าเสียหายของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือแต่กลับมีคำพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายไร่ละ20,000 บาทโดยไม่มีเหตุผลว่าคำนวณค่าเสียหายที่ชาวบ้านทำให้โลกร้อนด้วยวิธีการใด
ปัจจุบันมาตรการและการคิดค่าเสียหายแม้จะยังมีข้อโต้แย้งอยู่มาก แต่ก็ถูกนำไปบังคับใช้กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ทำกินทับซ้อนกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีชาวสวนขนาดเล็กหลายรายถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายนับล้านบาทจากการทำประโยชน์ในที่ดินของตัวเองเพียงไม่กี่ไร่ โดยเฉพาะข้อกล่าวหาการคิดค่าเสียหายจากการทำให้อากาศร้อนมากขึ้นและค่าเสียหายจากการทำให้ฝนตกน้อยลง อันเป็นที่มาของคำว่า “คดีโลกร้อน”
ลำดับเหตุการณ์การต่อสู้คดีของชาวบ้าน
คดีนี้ สืบเนื่องจากเมื่อประมาณต้นเดือนสิงหาคม 2548 ได้มีการยื่นฟ้องคดีอาญา ในข้อหาหรือฐานความผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 กับ ชาวบ้านห้วยกนทา หมู่ที่ ๖ ต.ปากช่อง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 11 ราย ต่อศาลจังหวัดหล่มสัก ในคดีหมายเลขดำที่ 831/2558 คดีหมายเลขแดงที่ 349/2550 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดหล่มสัก โจทก์ นางมณีรัตน์ คำเบ้า ที่ 1 กับพวกรวม 11 คน จำเลย
ต่อมาได้แยกฟ้องจำเลย 2 คน ซึ่งเป็นเยาวชนต่อศาลจังหวัดเพชรบูรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในคดีหมายเลขดำที่ -340/2558 คดีหมายเลขแดงที่ 89/2550 คือนางสาวมะลิ คำหมู่ กับพวกรวม ๒ คน ในข้อหาหรือฐานความผิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 โดยทั้ง 2 คดีมีพฤติการณ์ในคดีเป็นไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือพวกจำเลยที่ถูกฟ้องคดีทั้งหมดได้เข้าไปรับจ้างหักข้าวโพดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาเเดง ในพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ 46 ตารางวา และคดีถึงที่สุดแล้ว
รายละเอียดคดีแพ่ง
ในคดีแพ่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯได้ยื่นเป็นโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งอีกครั้งต่อศาลหล่มสัก กับนางมณีรัตน์ คำเบ้า กับพวกอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้ยื่นฟ้องผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนทั้งสองเป็นคดีนี้รวมเข้าไปในคดีนี้ด้วยอีก 3 รายรวมเป็นจำเลยในคดีนี้ทั้งหมด 16 คน โดยอาศัยข้อหาหรือฐานความผิดอาญา บุกรุก แผ้วถาง ยึดถือครอบครอง อันเป็นการทำลายป่าเเละเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าเพื่อให้รับผิดทางแพ่งในมูลละเมิดด้วย ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตาม มาตรา 97 เเห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมเเละรักษาคุณภาพสิ่งเเวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อฟ้องเรียกมูลค่าความเสียหายเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นรวม 470,978.79 บาท โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ที่ผ่านมาแล้วนั้น
จากกรณีดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการที่โจทก์ ซึ่งเป็นกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฯ ยื่นฟ้องโดยใช้วิธีจากหลักเกณฑ์การคำนวณเป็นไปตามคู่มือการใช้แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้นจากหน่วยงานส่วนวิจัยต้นน้ำ ซึ่งเป็นแบบหลักปฏิบัติในการดำเนินคดีแพ่งของพนักงานอัยการที่ต้องมาใช้ประกอบคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย จาก สูตรคำนวณจากแบบจำลองคดีโลกร้อนที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหลักเกณฑ์ คือ
1.การทำให้ธาตุอาหารในดินสูญหาย คิดเป็นมูลค่า 4,064 บาทต่อไร่ต่อปี
2.การทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่ต่อปี
๓.การทำให้สูญเสียน้ำออกไปจากพื้นที่ โดยการแผดเผาของดวงอาทิตย์ 54, 800 บาทต่อไร่ต่อปี
4.การทำให้ดินสูญหาย 1800 บาทต่อไร่ต่อปี
5.ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45, 453 บาทต่อไร่ต่อปี
6.การทำให้ฝนตกน้อยลง 5400บาทต่อไร่ต่อปี และ
7.มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่า 3 ชนิด (ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง)รวมมูลค่าทั้งหมด 150, 942.70บาทต่อไร่ต่อปี
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2558 ศาลจังหวัดหล่มสักได้นัดพร้อมเพื่อยกคดีแพ่งนี้ขึ้นพิจารณาใหม่ คดีอาญาที่พนักงานอัยการจังหวัดหล่มสักยื่นฟ้องจำเลยทั้งหมดนั้น บัดนี้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559 ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 14 เนื่องจากฟ้องผิดตัวบุคคล ศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับ จำเลยที่ 14 ออกจากสารบบความของศาล ประเด็นข้อพิพาทนั้น เป็นไปตามที่ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้แล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 ทนายโจทก์แถลงต่อศาลว่าประสงค์สืบพยานโจทก์จำนวน 5 ปาก
ขอบคุณภาพจาก: