DSI ตรวจพื้นที่เหมืองแร่ทองคำพิจิตร พบจุดต้องสงสัยเพิ่ม
18 พ.ค.60 ความคืบหน้ากรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI พร้อมคณะ นำหมายหมายค้นศาลอาญากรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่เหมืองทองคำของ บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากกรณีมีการร้องทุกข์แจ้งความดำเนินคดี การประประกอบกิจการของเหมืองทองคำมิชอบด้วยกฎหมาย นำโดยนายพิเชษฐ์ ทองศรีนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางน้ำทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมคณะ คณะซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัด และป่าไม้จังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลต่อเนื่อง
โดยลงพื้นที่เพิ่มอีก 5 แห่ง ประกอบด้วย พื้นที่ประกอบกิจการโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ ซึ่งต้องสงสัยว่ามีการประกอบกิจการ หลังจากประกาศปิดเหมืองทองคำบริเวณบ่อแร่เดิม ที่ถูกเรียกว่าบ่อมรกตรูปหัวใจ ที่สงสัยว่ามีการบุกรุกทางสาธารณะระยะทางกว่า 500 เมตร , ตรวจสอบพื้นที่ต้องสงสัยว่ามีการประกอบกิจการในพื้นที่ป่า , ตรวจสอบโรงงานประกอบโลหะกรรม ซึ่งการลงพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากมีฝนตกลงมาตลอดทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจเป็นพิเศษ
นายพิเชษฐ์ ทองศรีนุ่น ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางน้ำทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า โดยผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบสิ่งผิดปกติ ซึ่งต้องสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด ได้แก่พื้นที่ประกอบกิจการโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน 3 แปลง ว่ามีการประกอบกิจการหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. สั่งระงับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำหรือไม่ เนื่องจากการเข้าตรวจค้นของ DSI พบบ่อแร่ที่มีลักษณะใหม่ ยังคงมีร่องลอยของการขุดเจาะชัดเจน ซึ่งต้องรอผลการตรวจจากภาพทางอากาศ ในช่วงระยะเวลาก่อนละหลัง ที่มีคำสั่งปิดเหมืองแร่ทองคำ
นอกจากนี้ ยังตรวจพบเส้นทางสาธารณะความยาวกว่า 500 เมตร ที่หายไปจากบริเวณซึ่งเป็นบ่อแร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นหลุมบ่อขนาดใหญ่ เป็นจุดที่เรียกว่าบ่อมรกตรูปหัวใจ เนื่องจากตรวจสอบภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า เคยมีเส้นทางสาธารณะเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงหมายเลข 1301 หนองขนาก-วังโป่ง แต่ปัจจุบันกลายสภาพเป็นหลุมบ่อขนาดใหญ่ สำหรับการตรวจพิสูจน์เจ้าหน้าที่ จะได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อตรวจพิสูจน์ว่า ผู้ประกอบการ ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ มีการประกอบกิจการหลังมีประกาศระงับกิจการหรือไม่ และเส้นทางสาธารณะที่หายไปนั้น มีการดำเนินการตามกฎหมายเรื่องขอการใช้ประโยชน์จากทางสาธารณะหรือไม่ เพื่อคลี่คลายคดีต่อไป