องค์กรผู้บริโภค-สสส.แถลงการณ์ ค้านร่าง กม.คุมสื่อ
องค์กรผู้บริโภคคัดค้านคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ ที่ขาดความจริงใจ ในการปฏิรูปสื่อ ด้วยการออกร่างพรบ.ที่ต้อนสื่อเข้าคอก ให้มีเจ้าหน้าที่กำกับ และไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน
แม้สภาปฏิรูปยอมถอนการทำบัตรสื่อมวลชนและบทลงโทษในร่าง พรบ. คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เมื่อสื่อและสังคมกดดัน แต่ยังคงยืนยันตำแหน่งปลัดกระทรวงอยู่ถึงสองที่นั่ง และยังคงโทษปรับอยู่ ซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนว่าสภาปฏิรูปสื่อนี้ มิได้มีเจตนาและความจริงใจที่จะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อ ตลอดจนการคุ้มครองสื่อมวลชนและส่งเสริมมาตราฐานวิชาชีพ ในทางตรงกันข้าม ยังมีเจตนาในการคุกคามสื่อ
การลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อนั้น คือการลิดรอนสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งสิทธิเสรีภาพทั้งสองประการนี้ถือเป็นหลักการใหญ่ที่ต้องคงรักษาไว้ในสังคมประชาธิปไตย
ในรายงานเรื่อง "การปฏิรูปการสื่อมวลชน" ที่คณะกรรมาธิการเสนอเข้าสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเพื่อประกอบร่าง พรบ.คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน นั้น มุ่งเน้นแต่กลไกการกำกับดูแลสภาวิชาชีพสื่อ ในต่างประเทศ โดยละเลยปัจจัยที่สำคัญที่สุด ว่าการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนั้น คือความเข้มแข็งของภาคประชาชนที่มีส่วนได้เสียโดยตรงจากผลกระทบของสื่อ
ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วทั่วโลกได้พิสูจน์ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับกลุ่มประชาชนเท่านั้นที่จะสามารถบรรลุเจตนา "คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน" โดยมีภาครัฐสนับสนุน และเอื้ออำนวยกลไกต่างๆ เพื่อกำกับวิชาชีพนี้ให้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง ปราศจากการครอบงำโดยรัฐ การเมือง และกลุ่มทุน และสร้างกลไกที่เอื้ออำนวยกับการสร้างศักยภาพให้กับประชาชนทั่วประเทศในการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสามารถกำกับดูแล และปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อเช่นกัน
อนึ่ง แม้ร่างพรบ.ฉบับนี้ เน้นเจตนาคุมสื่อและลิดรอนสิทธิประชาชน แต่สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปเสียงข้างมาก ได้รับรองร่าง พรบ.ฉบับนี้
องค์กรผู้บริโภคจึงขอคัดค้านการกระทำของสภาขับเคลื่อนเสียงข้างมาก ที่ไม่รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะในการปกครองแบบประชาธิปไตย
จึงขอเรียกร้องให้
1. ยกเลิกร่าง พรบ.ฉบับนี้ โดยเร็วที่สุด
2. ร่างพรบ.ฉบับใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ยกเว้นการกำกับดูแลจากภาครัฐหรือตัวแทนภาครัฐ
3. ให้ส่งเสริมศักยภาพประชาชนในการเป็นพลเมืองที่รู้เท่าทันสื่อและปกป้องสิทธิเสรีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอประกาศว่าจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใดๆ กับสภาวิชาชีพสื่อ ตามร่างพรบ.นี้ หากสภาปฏิรูปยังคงยืนยันเนื้อหาที่นำไปสู่การลิดรอนสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน
ขณะเดียวกัน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และภาคีเครือข่าย ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านร่างกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชนโดยมีเนื้อหาระบุว่า
ตามที่ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ..... ซึ่งกาลังพิจารณาอยู่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมิได้เป็นการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนแต่กลับเป็นการแทรกแซงและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน โดยในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวระบุให้ “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน” ต้องได้รับใบอนุญาตโดยคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มาจากกลุ่มบุคคล ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการมีอานาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชนได้อันเถือได้ว่าเป็นการเปิดทางให้มีการแทรกแซงสื่อได้นั้น
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และองค์กรข้างท้ายขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทากฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้
1. “เสรีภาพของประชาชน” หมายความเชื่อมโยงถึง “เสรีภาพของสื่อมวลชน”ด้วย ถือเป็นหลักการสาคัญของสิทธิเสรีภาพที่สาคัญประการหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย ในแง่ที่ว่าหากจะมีการจากัดเสรีภาพสื่อมวลชนจาเป็นต้องคานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ดังนั้นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวล จักต้องคานึงถึงหลักการเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยอย่างเคร่งครัด
2. แนวคิดในการจัดทากฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนนั้นจักต้องอยู่บนพื้นฐานร่วมกันว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพควบคู่ไปกับ หรือถูกกากับภายใต้ความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีต่อประโยชน์สาธารณะเป็นสาคัญ ซึ่งประชาชนหรือผู้บริโภคสื่อย่อมสามารถใช้วิจารณญาณในฐานะวิญญูชนที่จะวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง อันเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้และสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกันในสังคมนั้นๆเอง
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในการเสนอข่าวสาร หรือแสดงความเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเรื่องเสรีภาพในการรับ แสวงหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น โดยต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมของสังคม ซึ่งสื่อมวลชนยังต้องได้รับการกากับภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ทั้งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ
โทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา กฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรม กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร กฎหมายว่าด้วยคอมพิวเตอร์ กฎหมายด้านการจดแจ้งการพิมพ์ ฯลฯ โดยกฎหมายแต่ละฉบับก็มีเจ้าพนักงานของรัฐกากับดูแลและควบคุมให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อบุคคลและต่อสังคมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจาเป็นจะต้องมีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมสื่อมวลชนอีก ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สสส.และองค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเสนอและข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. ให้ทบทวนร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ..... ในประเด็นเรื่อง การออกใบอนุญาตสื่อมวลชน และคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ให้ปลอดจากการมีหน่วยงานภาครัฐเป็นกรรมการ เพื่อให้การกากับดูแลจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนกระทาโดยผู้แทนของสื่อมวลชนด้วยกันเอง
2. สนับสนุนให้มี “สภาวิชาชีพสื่อมวลชน” ที่เป็นการกากับดูแลกันเองระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน แขนงต่างๆ ให้มาจดแจ้งการเป็นองค์กรสื่อมวลในกลุ่ม หรือแขนงของตนเอง กากับดูแลจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพภายใต้มาตรฐานเดียวกัน รวมถึงเป็นการจัดระเบียบองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน โดยกาหนดจานวนองค์กรวิชาชีพขั้นต่าไว้เพื่อมิให้มีการจดแจ้งองค์กรสื่อมวลชนแขนงต่างๆ มากจนเกินไป จนไม่สามารถกากับดูแลกันเองได้
3. สภาวิชาชีพสื่อมวลชนควรมีลักษณะที่แตกต่างจากองค์กรวิชาชีพอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้การกากับดูแลของฝ่ายปกครอง แต่รับการกระจายอานาจเพียงบางส่วน เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากอานาจฝ่ายต่างๆ ทั้งกลุ่มผลประโยชน์ รัฐ และการเมือง โดยให้ใช้อานาจศาลในการดาเนินการกากับดูแลชี้ขาดในการตรวจสอบจริยธรรมขององค์กรวิชาชีพ
การกากับดูแลด้วยกันเองขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ถือเป็นพัฒนาการสาคัญของสังคมประชาธิปไตยที่ประเทศไทยต้องเร่งดาเนินการให้เกิดขึ้น โดยที่รัฐเข้ามาดูแลกากับน้อยที่สุด รัฐและสังคมต้องให้ความเชื่อมั่นว่าสื่อมวลชนมีศักยภาพ ในการกากับดูแลกันเอง เพื่อผดุงไว้ซึ่งการเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความรับผิดชอบต่อสาธารณะต่อไป