'นิด้าโพล' เผยทัศนคติเด็กไทยต่อพฤติกรรมกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 21 มีนาคม 2560 จากเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,172 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัศนคติของเด็กและเยาวชนไทยต่อพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ หรือ Cyberbullying การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธี การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นการเคยได้ยินและทราบความหมายของคำว่า Cyberbullying ของเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.30 ไม่เคยได้ยิน และไม่ทราบความหมาย รองลงมา ร้อยละ 8.45 เคยได้ยินและทราบความหมาย (อธิบายความหมายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง) และร้อยละ 7.25 เคยได้ยิน แต่ไม่ทราบความหมาย
ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ของเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.59 ระบุว่า ใช้ Facebook รองลงมา ร้อยละ 88.14 ระบุว่า ใช้ Line ร้อยละ 69.28 ระบุว่า ใช้ YouTube ร้อยละ 57.59 ระบุว่า ใช้ Instagram ร้อยละ 29.44 ระบุว่า ใช้ e-mail ร้อยละ 29.10 ระบุว่า ใช้ Twitter ร้อยละ 17.92 ระบุว่า ใช้ Google + ร้อยละ 15.87 ระบุว่า ใช้ Pantip ร้อยละ 14.42 ระบุว่า เป็นเกมออนไลน์ ร้อยละ 6.06 ระบุว่า ใช้ Bee Talk ร้อยละ 4.52 ระบุว่า ใช้ Whatsapp ร้อยละ 3.07 ระบุว่า ใช้ Skype ร้อยละ 1.62 ระบุว่า ใช้ Kakao Talk ร้อยละ 0.77 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ Blog, hi5, Sanook, Kapook, Bigolive, และ Snapchat และร้อยละ 0.85 ระบุว่า ไม่ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์
ด้านการเคยพบเห็นพฤติกรรม Cyberbullying หรือ การรังแก การกลั่นแกล้งกัน ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเดือดร้อน ในรูปแบบต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตหรือบนสื่อสังคมออนไลน์ ของเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.18 ระบุว่า เป็นการโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย ดูถูก หรือข่มขู่ทำร้าย รองลงมา ร้อยละ 17.04 ระบุว่า เป็นการแอบอ้าง การสวมรอย หรือปลอมแปลงเป็นผู้อื่น ร้อยละ 14.30 ระบุว่า เป็นการหลอกลวง ฉ้อโกง ต้มตุ๋น ร้อยละ 13.67 ระบุว่า เป็นการสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ ร้อยละ 11.39 ระบุว่า เป็นการแบล็กเมล์กัน ร้อยละ 11.06 ระบุว่า เป็นการคุกคามทางเพศแบบออนไลน์ และร้อยละ 3.37 ระบุว่า ไม่เคยพบเห็นพฤติกรรม Cyberbullying
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงประสบการณ์ของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับพฤติกรรม Cyberbullying การรังแก การกลั่นแกล้งกัน ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือในสื่อสังคมออนไลน์ที่ผ่านมา ว่าเคยเป็นฝ่ายถูกกระทำหรือฝ่ายกระทำ หรือไม่ อย่างไร พบว่า ในจำนวนเด็กและเยาวชนที่เคยพบเห็นพฤติกรรม Cyberbullying ในโลกอินเทอร์เน็ต หรือในสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.37 ระบุว่า ไม่เคยเป็นทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ รองลงมา ร้อยละ 12.24 ระบุว่า เคยเป็นผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียว ร้อยละ 5.24 ระบุว่า เคยเป็นทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ และร้อยละ 2.15 ระบุว่า เป็นผู้กระทำฝ่ายเดียว
สำหรับความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับพฤติกรรม Cyberbullying แบบตั้งใจ/เจตนา ในโลกอินเทอร์เน็ตหรือในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.16 ระบุว่า ควรมีกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น พรบ. คอมพิวเตอร์, พรบ. การละเมิดลิขสิทธิ์, ความผิดทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ รองลงมา ร้อยละ 32.96 ระบุว่า ผู้ปกครองควรคอยเอาใจใส่ สอดส่อง ดูแลบุตรหลานของตนเอง ไม่ให้เป็นผู้กระทำ หรือตกเป็นเหยื่อ หรืออบรมสั่งสอน ตักเตือน รวมไปถึงการเรียนรู้และรับมือจาก Cyberbullying ร้อยละ 32.88 ระบุว่า ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจในทางลบ เช่น รำคาญ เครียด อับอาย เดือดร้อน ซึมเศร้า เบื่อ ร้อยละ 30.15 ระบุว่า เป็นการทำด้วยความคึกคะนอง เพื่อความสนุก หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ร้อยละ 29.46 ระบุว่า เป็นการคุกคามความปลอดภัย หรือ ละเมิดสิทธิ์ ผู้อื่น ร้อยละ 18.87 ระบุว่า เป็นรูปแบบของการระบายความรู้สึกส่วนบุคคล รู้สึกสบายใจ สะใจ ไม่อัดอั้น ร้อยละ 15.29 ระบุว่า ผู้กระทำควรได้รับการปรึกษาจิตแพทย์ ถ้าทำเป็นประจำ หรือมีพฤติกรรมรุนแรงมาก ร้อยละ 14.77 ระบุว่า ถือเป็นเรื่องปกติในสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยนี้ ร้อยละ 13.92 ระบุว่า เป็นสิทธิและเสรีภาพการแสดงออกบนพื้นที่ส่วนบุคคลที่สามารถทำได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎหมาย หรือผลกระทบใด ๆ ร้อยละ 0.60 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เป็นเรื่องไร้สาระ ควรเอาเวลาไปทำเรื่องอื่นที่เป็นประโยชน์, เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี, และทำให้สังคมเสื่อม และร้อยละ 0.51 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงข้อเสนอะแนะเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับ มาตรการ ระเบียบ ข้อบังคับด้านกฎหมาย เพื่อมิให้เกิด พฤติกรรม Cyberbullying แบบตั้งใจ/เจตนา พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า ควรมีหน่วยงาน ที่ดูแลเกี่ยวกับ Cyberbullying โดยเฉพาะ เช่น การรับเรื่องการฟ้องร้อง การตรวจสอบพยานหลักฐาน การดำเนินคดี การตรวจสอบอื่น ๆ รองลงมา ร้อยละ 37.75 ระบุว่า ควรมีกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น พรบ. คอมพิวเตอร์, พรบ. การละเมิดลิขสิทธิ์, ความผิดทางอาญา ทางแพ่งและพาณิชย์ ร้อยละ 35.44 ระบุว่า ควรบังคับใช้ระเบียบ ข้อกฎหมาย และบทลงโทษอย่างเข้มงวด มีการลงโทษให้เห็นเป็นตัวอย่าง ร้อยละ 34.07 ระบุว่า ควรเพิ่มบทลงโทษกับผู้ที่กระทำผิด และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 28.52 ระบุว่า ควรมีการยืนยัน และตรวจสอบการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต หรือ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เลข IP ประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือชื่อบัญชีผู้ใช้ ร้อยละ 25.19 ระบุว่า ควรมีจำกัดอายุของการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต หรือ ในสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 1.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรสร้างจิตสำนึกที่ตัวเด็กและเยาวชน ให้ตระหนักถึงผลกระทบของ Cyberbullying และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม โดยสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาบทเรียน และผู้ปกครองควรควบคุมดูแล เอาใจใส่บุตรหลาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นปัญหาที่ควบคุมและแก้ไขได้ยาก และร้อยละ 2.05 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 17.24 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 32.08 มีภูมิลำเนา อยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 13.99 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 23.89 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 12.80 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 46.67 เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.99 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.34 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 92.92 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.52 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.71 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 0.85 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 90.36 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 8.28 สมรสแล้ว ร้อยละ 0.34 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.02 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 3.07 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.98 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.87 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 49.83 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 1.79 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.45 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 6.83 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.92 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.62 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 1.54 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 7.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 8.11 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน ร้อยละ 47.61 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.54 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 55.89 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 8.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.63 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 6.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 1.45 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 0.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 2.82 ไม่ระบุรายได้
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก http://www.chicagonow.com