มูลนิธิไทยโรดส์เปิดผลสำรวจ ร.ร. 74% อยากให้มีหลักสูตร“ความปลอดภัยทางถนน”ทุกชั้นปี
นายณัฐพงศ์ บุญตอบ นักวิจัยอาวุโส มูลนิธิไทยโรดส์ เปิดผลการสำรวจ “การให้ความรู้เรื่อง ความปลอดภัยทางถนนในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2558” พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยถึง 74% กับการกำหนดให้มี “หลักสูตรเรื่องความปลอดภัยทางถนน” ทุกชั้นปี ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการในอนาคต การศึกษาครั้งนี้เป็นความ ร่วมมือจากหลายภาคีได้แก่ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) SAFE THE CHILDREN มูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และมูลนิธิบลูมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา
การศึกษาในเรื่องนี้ เกิดจากการที่รัฐบาลเน้นให้อุบัติเหตุทางถนนเป็น สาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตเด็กไทยปีละ กว่า 1,000 คน รัฐบาลกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ และ ศปถ.กำหนดให้ปี 2558 เป็นปีรณรงค์สร้างความ ปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็ก จนนำมาสู่การให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนในหลักสูตรการเรียนการสอน ของสถานศึกษาในประเทศไทย และให้ความสำคัญกับการจัด “ระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องฯ” ปัจจุบันมีมากน้อยเพียงใดขาดส่วนใดไปบ้าง จึงต้องมีการปรับปรุงเพื่อวางแผนผนวกเข้าในหลักสูตรการเรียน การสอนจากการรวบรวม ข้อมูลในหลักสูตรต่างๆ ของสถานศึกษา โดยเริ่มต้นจากการโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ก่อนจะขยับเข้าไปในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ
มีการส่งแบบสอบถามให้กับโรงเรียนทั้ง 821 แห่งในกรุงเทพมหานคร โดยก่อนหน้านี้มีการให้ความเห็น การทำเกณฑ์การศึกษาเมื่อ กรกฎาคม 2559 สำหรับกลไกติดตามจะตามดูว่ามีการปรับเปลี่ยนแผนที่เหมาะสม หรือไม่ การนำไปใช้เป็นอย่างไร ได้ผลขนาดไหน จึงต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง กระบวนการนำแบบสอบถาม ที่ผ่านการระดมความเห็นมาก่อนหน้าจากเครือข่ายที่กล่าวมาข้างต้น
น.ส.วรรณพร ปันทะเลิศ นักวิจัยของมูลนิธิไทยโรดส์ กล่าวถึงรายละเอียดของการสำรวจที่เก็บได้จาก กลุ่มตัวอย่าง 437 โรงเรียน มี 4 ส่วนสำคัญที่ค้นพบ ส่วนแรก ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่สองคือข้อมูลการจัดกิจกรรมการสอนปี 2558 ส่วนที่ 3 คือ การเพิ่มสมรรถนะในการถ่ายทอดความรู้ ด้านความปลอดภัยทางถนนของคุณครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และส่วนที่ 4 ทัศนคติความเห็น ต่อการบรรจุความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนในหลักสูตรการเรียนการสอน
ในส่วนแรกเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน จำนวนโรงเรียนที่ตอบแบบสอบถามกลับมีจำนวน 429 ชุดจาก 437 แห่ง ขนาดโรงเรียนที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2558 จาก 429 แห่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนไม่เกิน 400 คน จำนวน 40% ขนาดกลางมีนักเรียน 401-800 คน และขนาดใหญ่มีนักเรียน 801 คน ขึ้นไป 29% ระดับชั้นตั้งแต่ อนุบาลถึง ป.6 จำนวน 321 แห่ง อนุบาลถึง ม.3 จำนวน 93 แห่ง อนุบาลถึง ม.6 จำนวน 5 แห่ง ป.1-ป.6 จำนวน 3 แห่ง ป.1-ม.3 จำนวน 1 แห่ง และ ม.1-ม.6 จำนวน 6 แห่ง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น ครู คศ. 1 จำนวน 27.3% ผู้ตอบมีประสบการณ์น้อยสุด 1 เดือน มากสุด 55 ปี เฉลี่ยผู้ตอบแบบสอบถาม เฉลี่ย 8-9 ปี
ส่วนที่ 2 ถือเป็นจุดสำคัญที่สุดเพราะเป็นเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลของชั่วโมงสอน เรื่องความปลอดภัยทางถนน ปี 2558 มีทั้งแบบในชั้นเรียน กับ แบบเสริมนอกชั้นเรียน พบว่า ระดับอนุบาลถึง ป.6 มีการเรียนในชั้นเรียนเฉลี่ย 40 นาทีต่อปีการศึกษาปี 2558 หลักสูตรเสริมนอกชั้นเรียนเฉลี่ย 43 นาทีต่อปีการ ศึกษา 2558 ส่วนชั้นเรียนอนุบาลถึง ม.6 เฉลี่ย 38 นาทีต่อปีการศึกษา 2558 และเสริมนอกชั้นเรียน 39 นาทีต่อปีการศึกษาเดียวกัน
ด้านการบูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความเชื่อมโยงของหลักสูตรฯ และการบูรณาการ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรกรุงเทพฯ ศึกษา และ หลักสูตรสถานศึกษา มีทิศทางเดียวกันในการนำเรื่องความปลอดภัยทางถนนไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละ-ศึกษามากที่สุด สำหรับหลักสูตรอื่นๆ ได้แก่ หลักสูตรปฐมวัย ทักษะชีวิต กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ด้านสาเหตุที่นำความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนมาบูรณาการในการเรียนการสอนของโรงเรียนในปีการศึกษา 2558 พบว่ามาด้วยคำสั่งจากสังกัด หน่วยงาน 204 โรงเรียน นโยบายของโรงเรียน 259 โรงเรียน จัดตามหลักสูตร 232 โรงเรียน และได้รับงบประมาณจากโครงการฯ ที่เข้าร่วม 39 โรงเรียน ส่วนลักษณะกิจกรรมเรื่องความปลอดภัยทางถนนฯ เป็นกิจกรรมเสริมนอกเหนือการสอนในชั้นเรียน 2 รูปแบบ คือ จัดโดยบุคลากรในโรงเรียน / จัดโดยหน่วยงานภายนอก มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ข่าวสารเรื่องความปลอดภัย ทางถนนบริเวณหน้าเสาธง ห้องโฮมรูม เสียงตามสายเช้า-เย็น (62.2% / 17.2%) ทำค่ายอบรม (12.2% / 74.5%) จัดกิจกรรมรณรงค์ ปลูกจิตสำนึก เดินขบวน ประกวดแข่งขัน (15.3%/4.7%) สื่อการเรียนรู้และหมวกนิรภัย (0%/1.8%) และการติดตามประเมินผลพฤติกรรมนักเรียน (10.2% / 2%)
หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยทางถนนในสถานศึกษา ประกอบด้วย สำนักการศึกษา สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร 36.3% เจ้าหน้าที่ตำรวจ 36% กรมการขนส่งทางบก 11.6% ภาคธุรกิจเอกชน 11.3% หน่วยงานอื่นๆ 3.3% และ สสส. 1.5%
การเพิ่มสมรรถนะในการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนของคุณครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร พบว่า ได้ส่งคุณครูเข้าร่วมอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการถ่ายทอดความรู้ด้าน ความปลอดภัยทางถนน มีจำนนโรงเรียนในสังกัด กทม.ทั้งหมด 108 โรงเรียน ส่งครูเข้าอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มทักษะ กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง 74% ยังไม่ได้เข้าร่วมอบรม 26%
ส่วนที่ 4 ทัศนคติ/ความคิดเห็นต่อการบรรจุความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนไว้ในหลักสูตรการเรียน การสอน มีข้อจำกัด 5 ด้าน คือ ข้อจำกัดของเวลาและโครงสร้างหลักสูตรมีวิชาสาระการเรียนรู้บรรจุไว้ เป็นจำนวนมาก 27.3% โครงสร้างหลักสูตรที่มีอยู่เต็มได้กำหนดไว้อย่างเหมาะสมแล้ว 25.3% ไม่ให้ความสำคัญ ต่อเรื่องความปลอดภัยทางถนนไม่ได้นำไปบูรณาการกับทุกสาระการเรียนรู้เท่าที่ควร 23.3% และโครงสร้าง นโยบายของหลักสูตรฯไม่มีความชัดเจนและถูกปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง 19.2% โครงสร้างหลักสูตรมีตัวชี้วัดแต่ละ กลุ่มสาระฯ มากจนไม่สามารถสอดแทรกเนื้อหา / บูรณาการได้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระ 5.1%
ส่วนข้อจำกัดความเหมาะสมของเนื้อหา รูปแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนน จากความคิดเห็นของ 165 โรงเรียนพบว่า 34.5% เนื้อหารูปแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ไม่เหมาะสมตามวัย ผู้เรียนและไม่ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา 31.5% บอกว่า โรงเรียนมีสื่อการเรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนน้อย หรือไม่มีเลย 12.1% ตอบว่าเรียนรู้ไปก็ใช้ประโยชน์ได้ไม่มาก เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย และไม่ทันสมัย ไม่ดึงดูดใจและสอดรับสถานการณ์จริงปัจจุบัน ด้านการสนับสนุนและความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชน 141 โรงเรียนพบว่า ผู้ปกครอง ชุมชนไม่ใส่ใจ 40.4% ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนน้อย 39.7% ขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องและปลอดภัย 10.6% พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนบริเวณ รอบโรงเรียนและชุมชน ไม่เอื้ออำนวย เช่น ค้าขายบริเวณถนนหน้าโรงเรียน ขี่จักรยานยนต์ย้อนศรหรือบนทาง เดินเท้า ไม่เลนถนนชัดเจน เป็นต้น
ความคิดเห็นอื่นๆ จาก 35 โรงเรียน พบว่า บทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการใช้รถใช้ถนน เพื่อเข้ามาให้ความรู้และจัดกิจกรรมมีน้อยมากหรือไม่มีเลย 51.4% จิตสำนึกและวินัยจราจร ควรปลูกฝังตั้งแต่เด็กมี 22.9% งบประมาณและบุคลากรไม่เพียงพอ 11.4% จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 8.6% และ บริบทและสภาพ แวดล้อมของโรงเรียนไม่เอื้ออำนวย 5.7%
ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและนำความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนฯ ไปบูรณาการกับการเรียนการสอนในโรงเรียน พบว่า ความชัดเจนของการจัดทำหลักสูตรและกำหนดตัวชี้วัด 45.6% หลักสูตรที่มีอยู่เหมาะสมแล้ว 28.5% เพิ่มเวลารู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 14.5% เสริมการมีส่วนร่วมและ การจัดเวลากับเนื้อหา 4.6% ความต่อเนื่อง 2.1%
ทั้งนี้ มีการเสนอความเห็นว่า ควรมีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางการขยายผลการสำรวจฯ ไปถึงระบบโรงเรียนสามัญศึกษา เป็นระยะต่อไปกับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครให้ครบ 821 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล 159 แห่ง กับ โรงเรียนเอกชน 662 แห่ง สำหรับระยะที่ 3 ควรทำกับโรงเรียนทั่วประเทศ ทั้ง 33,717 โรงเรียน เป็นโรงเรียนรัฐบาล 30,560 แห่ง โรงเรียนเอกชน 3,157 แห่ง
หมายเหตุ : ภาพประกอบข่าวจาก http://www.thaihealth.or.th