“นพ.เกษม วัฒนชัย” พลิกฟื้นวิกฤตชาติด้วย “เศรษฐกิจพอเพียง”
สภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ สภาพแวดล้อมเสื่อมทรุด ภัยธรรมชาติรุมเร้าอย่างน่ากลัว หลายคนหลายฝ่ายพยายามหาทางออก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นคำตอบการพลิกฟื้นวิกฤตประเทศไทย
ความผันผวนแปรปรวนของสภาพอากาศทั่วโลก ย่อมส่งผลถึงประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นที่ทุกภาคส่วนที่ล้วนได้รับผลกระทบทั้งระดับปัจเจกบุคคล ภาคเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ทั้งนี้ ในงานประชุมเชิงวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์สู่สังคมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย“ นพ.เกษมวัฒนชัย” องคมนตรีปาฐกถาพิเศษ “พลิกฟื้นวิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” มีประเด็นดังกล่าวมานำเสนอ
“มนุษย์” ต้นตอทำลายธรรมชาติ-ทำลายโลก
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ที่เห็นแก่ได้ ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรง จนเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลก อีกทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 7 พันล้านคน ทำให้แหล่งอาหารมีไม่เพียงพอ เพราะปัจจุบันทั่วโลกมีพื้นที่เกษตรกรรมเพียงพอสำหรับเป็นคลังอาหารเพียง 4,000 ล้านคนเท่านั้น สอดคล้องกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประเมินว่า ปี ค.ศ.2050 จำนวนประชากรของโลกจะพุ่งขึ้นเป็น 9.3 พันล้านคน และอาจมีผู้ขาดแคลนอาหารถึง 1 พันล้านคน“แม้ประชากรในประเทศอาเซียนจะไม่ได้รับผลกระทบปัญหาการขาดแคลนอาหารมากนัก เพราะเป็นแหล่งส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก แต่หากยังมีการทำลายป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ อนาคตเชื่อว่าลูกหลานคงลำบาก เพราะไม่มีอาหารกิน นักวิทยาศาสตร์จึงต้องเร่งศึกษากำหนดแผนนโยบาย เพื่อหยุดยั้งพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แนวทางสู้วิกฤติ
อย่างไรก็ตามประเทศไทยควรจัดประชุมวิชาการเรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศโลกเป็นประจำ เพราะที่ผ่านมายังไม่เห็นองค์กรใดจะลุกขึ้นมาเป็นหลักในการจัดประชุมจริงจัง เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน และลดปัญหาการเกิดโรคภัยต่าง ๆ เช่น มะเร็ง อันเกิดจากมลภาวะเป็นพิษหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นเพียงแต่การของบประมาณอย่างเดียวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนที่ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 42 บรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8, 9 และ 10 กระทั่งฉบับที่ 11 เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในและนอกประเทศ ใช้ได้กับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ สร้างภูมิคุ้มกันด้านวัตถุ เศรษฐกิจ ทรัพยากร ก่อเกิดความเข้มแข็งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนโดยมีเงื่อนไข 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.ทำอะไรให้พอประมาณต่ออัตภาพ 2.ต้องมีคำอธิบายในการตัดสินใจบนฐานความรู้ กฎหมาย และศีลธรรมที่จะกระทำ และ3.ต้องไม่กระทบความมั่นคงทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม
“ชุมชนสร้างสุข” โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้การดำเนินชีวิตภายใต้ความพอเพียง แต่ความสุขด้านการบริโภคที่ต้องใช้วัตถุนอกกายมาบำเรอลิ้น จมูก ตา หู สัมผัส ถือเป็นความสุขไม่ยั่งยืนเพราะเป็นการบริโภคที่ไม่มีเหตุผล แต่ความสุขอีกหนึ่งอย่างคือไม่ต้องใช้วัตถุภายนอก นั่นคือความสุขที่เกิดจากใจที่ยั่งยืน“จะสร้างการมีส่วนร่วมภาคชุมชนอย่างไร เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยใช้ความรู้เป็นฐานวางแผนและดำเนินการ ขัดเกลาจิตใจประชาชนให้มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร หากทุกคนตั้งมั่นบนความพอเพียง พอประมาณ จะไม่กระทบต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิต”คาดหวังให้ประชาชนปฏิบัติตนตามพระบรมราโชวาทของพระองค์ที่พระราชทานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อหลายสิบปีก่อนตามหลักของมูลนิธิปิดทองหลังพระที่รวบรวมความรู้จากโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ นำเป็นฐานพัฒนาชุมชนที่ยากจนสอนให้รู้จักการปิดทองหลังพระ เพราะหากทุกคนแย่งกันปิดทองด้านหน้าของพระอย่างเดียวจะไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นการปิดทองหลังพระปฏิบัติตนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนซึ่งชื่อเสียง เกียรติยศ จะทำให้เกิดการพัฒนาด้านจิตใจอย่างยั่งยืน ทั้งนี้สนับสนุนให้หวงแหนที่ดินทำกินตนเอง และรักในอาชีพเกษตรกรรมอันเป็นรากฐานของสังคมไทย
วิกฤติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนตอกย้ำให้มนุษย์หันมาทบทวนตัวเอง ย้อนมองสิ่งที่กระทำกับธรรมชาติ และนำเอาแนวพระราชดำริ “ความพอเพียง” ที่พิสูจน์แล้วในหลายบริบทมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตปัจจุบันอย่างเท่าทัน-เป็นสุข เพื่อตนเอง ประเทศไทย และโลก จะได้พ้นจากภยันตรายอันมีต้นตอจากบ่วงอวิชชา.