30 รายชื่อผู้ให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตในประเทศไทย
แบงก์ชาติ แนะนำให้ประชาชน ร้านค้า และสถานประกอบการ เลือกใช้บริการ e-Money จากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตจากทางการเท่านั้น
ในยุค "สังคมที่ไม่ถือเงินสด" (Cashless Trend) ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก บริการ e-Money ได้รับความสนใจจากสังคมไทยขึ้นทันที เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร้องทุกข์กล่าวโทษ บริษัทเพย์ออล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งให้บริการแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ภายใต้ชื่อ "PayAll" ซึ่งเป็นธุรกิจของ 'บ.ฟิล์มรัฐภูมิ' มีลักษณะเป็นการให้บริการ e-Money อันเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ประกอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2551 (พ.ร.ฎ. e-Payment) และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ประกอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเป็นความผิดและมีโทษตามกฎหมาย
“เงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-Money) หมายถึง มูลค่าเงินที่บันทึกในชิพคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบัตรพลาสติกหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเงินที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการได้ชำระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการแทนการชำระด้วยเงินสดตามร้านค้าที่รับชำระ
ฉะนั้น การประกอบธุรกิจ e-Money เป็นธุรกิจที่มีการรับเงินล่วงหน้าจากประชาชน จึงต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนเริ่มประกอบธุรกิจ ซึ่งกฎหมายบ้านเราจึงกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด ที่สำคัญมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เช่น
- ต้องมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วตามที่กำหนด และดำรงฐานะทางการเงินและสภาพคล่องเพื่อให้บริการ e-Money ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้บริการ
- ต้องมีการเก็บรักษาเงินของผู้ใช้บริการที่เติมเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างรัดกุม โดยต้องฝากไว้ที่สถาบันการเงิน และแยกบัญชีไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ
- ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การรักษาความลับของข้อมูลผู้ใช้บริการ
การคืนเงินให้ผู้ใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำาหนด และการแก้ไขข้อร้องเรียน เป็นต้น
หลังตกเป็นข่าว แบงก์ชาติ ก็ได้มีข้อแนะนำให้ประชาชน ร้านค้า และสถานประกอบการ เลือกใช้บริการ e-Money จากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตจากทางการเท่านั้น
สำหรับรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ ให้บริการ e-Money ที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำากับดูแลของทางการ
ณ วันที่ 20 ก.พ.2560 มี 30 แห่ง แบ่งเป็น
บัญชี ก (ธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ธปท. ทราบก่อนให้บริการ) – เป็นการให้บริการ e-Money ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว นอกจากนี้ มีผู้ให้บริการที่ได้รับ ยกเว้น เช่น บัตร e-Money ที่ใช้ซื้ออาหารในศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้า
บัญชี ข (ธุรกิจบริกํารที่ต้องขอขึ้นทะเบียนกับ ธปท. ก่อนให้บริการ) – เป็นการให้บริการ e-Money ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน ได้แก่
ธุรกิจ Franchise หรือตัวแทนการจัดจำหน่าย ซึ่งมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าเดียวกัน เช่น ปั๊มน้ำมัน
ธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการเดียวกัน เช่น ระบบขนส่งมวลชน
ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดำเนินนโยบาย บริหารจัดการในลักษณะกลุ่มเดียวกัน เช่น กิจการในเครือ
ธุรกิจที่ประกอบกิจการอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่ การจัดจำหน่ายเดียวกัน เช่น ศูนย์การค้า
บัญชี ค (ธุรกิจบริการที่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนให้บริการ) – เป็นการให้บริการ e-Money ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายรายโดยไม่จำกัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ชำระค่าสินค้า /ค่าบริการที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตหรือตามร้านค้าที่รับชำระด้วย e-Money เป็นต้น
I. รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริการe-Money บัญชี ก (ใช้ซื้อสินค้าบริการ จากผู้ขายเพียงรายเดียว) มี 1 ราย ดังนี้
บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด ของ ปตท. ให้บริการบัตร พีทีที บลูการ์ด เป็นบัตรสะสมคะแนนเพื่อใช้แทนเงินสด
II. รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money บัญชี ข (ใช้ซื้อสินค้า บริการ จากผู้ขายหลายรายภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายเดียวกัน) มี 7 ราย ดังนี้
1. บริษัท จีพีซีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด บัตร i am b2 ใช้แทนเงินสดในเครือโรงแรมบีทู พร้อมสิทธิพิเศษในการสะสมแลกของรางวัล
2. บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด- บัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์
3. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)- บัตรโดยสารแบบเติมเงิน MRT
4. บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)-บัตร เครดิต
5. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) -บัตรแรบบิท
6. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด -บัตรเครดิต
7. บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)-บัตรเครดิต
III. รํายชื่อผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ e-Money บัญชี ค (ใช้ซื้อสินค้า บริการจากผู้ขายหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่) มี 22 ราย ดังนี้
1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
6. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8.ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
9. บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด-บัตรมาสเตอร์การ์ด
10. บริษัท ทีทูพี จำกัด-บัตร ibaht -บัตรเติมเงินด้วยบาร์โค้ด
11. บริษัททูซีทูพี พลัส (ประเทศไทย) จำกัด-ให้บริการการรับชำระเงินแบบครบวงจร
12. บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด-บัตรเงินสดดิจิตอล
13. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด-บัตรอิออน
14.บริษัท เพย์สบาย จำกัด-บริการชำระเงินออนไลน์
15. บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)-ตู้เติมเงินออนไลน์ ภายใต้ชื่อการค้าว่า "บุญเติม"
16. บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด-บัตรเดบิต/บัตรเครดิต
17. บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด-ให้บริการชำระเงินอินเทอร์เน็ต
18. บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด-จำหน่ายบัตรแทนเงินสด (Cash Card)
19. บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด-ให้บริการชำระค่าสินค้า และบริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนการใช้เงินสด หรือบัตรเครดิต
20. บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด-แอปพลิเคชัน เพื่อการใช้จ่ายออนไลน์
21. บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด- แอปพลิเคชั่น
22. บริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด-บัตรเครดิต