บันทึกถึง "มุฮัมมัด ส่าเหล็ม" กวีจากรากเหง้าปอเนาะแห่งชาติแดนใต้ผู้จากไป (จบ)
การที่ผมเขียนถึง มุฮัมมัด ส่าเหล็ม และกวีนิพนธ์ของเขาในห้วงที่เขาได้จากไปแล้ว ถือเป็นพันธกิจที่ต้องทำ เนื่องจากในขณะที่เขายังมีลมหายใจอยู่ ผมได้ละเลยมันไปอย่างไม่น่าให้อภัย
สิ่งที่ผมถือเป็นพันธกิจก็คือ ต้นฉบับบทกวี 101 บทที่ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม หอบเอาไปให้ผมอ่านและช่วยคัดเลือก แต่ผมก็ไม่ได้จัดการอะไรเลยเป็นเวลายาวนาน...ถึง 20 ปี เวลานานขนาดนี้เพียงพอที่จะทำให้ผมรู้สึกผิดทุกครั้งที่นึกขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับบทกวี 101 บท เขียนระหว่าง เม.ย.2523 ถึง พ.ศ.2534 ในห้วงเวลา 1 ทศวรรษดังกล่าว (บางชิ้นยังใช้นามปากกาว่า สำรวม ศุกร์ เช่นในบทที่ชื่อว่า "พร้อมแล้ว" เขียนเมื่อ 22 มิ.ย.2524 เป็นงานแสดงลักษณะไม่ย่อท้อและไม่ยอมก้มหัวให้อุปสรรค อันเป็นบุคลิกส่วนตัวของเขา และเป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จของเขาในทุกเรื่อง) ทำให้ผมมีโอกาสได้อ่านงานของเขามากกว่าที่เคยปรากฏตีพิมพ์ในรูปเล่มหนังสือก่อนหน้านั้น แม้ว่าผมจะอ่านแต่เพียงบางบทภายในห้วงเวลาที่ไม่ได้ปะติดปะต่อกันเลย และทิ้งส่วนใหญ่ไว้โดยไม่ได้ผ่านตาแม้แต่น้อย ที่เป็นเช่นนี้ใช่เพราะว่าผมดูดายงานเหล่านั้นแต่อย่างใด ไม่เช่นนั้นก็คงทิ้งต้นฉบับทั้งหมดนั้นไปแล้ว
บางบทกวีของ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม อาจดูพื้นๆ ดูเหมือนเขาชอบที่จะร้อยเรียงเรื่องราวแทบทุกอย่างที่เขาพบเห็น ไม่ว่าใกล้ตัวหรือไกลตัว ทว่าเขาช่างเขียนได้เขียนดีจริงๆ ไปแทบทุกเรื่อง ซึ่งทำให้ผมรู้สึกเหนื่อยที่จะตามอ่านงานของเขาทั้งหมด แต่เมื่อไตร่ตรองดูแล้วก็พบวิธีใหม่ที่จะเข้าถึงบทกวีของเขาอย่างแท้จริง นั่นคือการอ่านไปทีละบทแล้วหยุด ทิ้งช่วงห่างแล้วอ่านอีกบทหนึ่ง อ่านแล้วหยุด อ่านแล้วหยุด อย่าเพิ่งอ่านบทต่อไปทันทีอย่างตะกละตะกราม อย่าอ่านบทกวีของเขาเหมือนอ่านหนังสือพิมพ์รายวันหรืออ่านนวนิยาย แล้วเราจะพบและสัมผัสพลังของบทกวีแต่ละบทของเขาอย่างอิสระ งดงาม ท้าทาย ส่งสารและสื่อความหมายถึงหัวใจของเราโดยตรง
บทกวีของเขามีพลังมากถึงเพียงนี้...
ในส่วนตัวของผม แม้จะผ่านวันเวลาแห่งความเจ็บปวดมากมาย ผมก็ยังเก็บรักษาต้นฉบับบทกวีของ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม อย่างดีโดยตลอด จนกระทั่งได้รับเชิญให้เขียนบทความลงใน Tenggara: Journal of Southeast Asian Literature ซึ่งตีพิมพ์บทกวี เรื่องสั้น และบทความวรรณกรรมในแวดวงกวีและนักเขียนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ
โอกาสของผมเพิ่งมาถึงตอนนี้เอง นั่นหมายความว่าอย่างน้อยผมก็จะได้ทำหน้าที่ของผู้ที่ได้รับ "อามานะห์" (trusteeship, mandate) จากเจ้าของบทกวีแล้ว แม้จะไม่ตรงกับที่เจ้าตัวต้องการตั้งแต่แรกก็ตาม
ผมได้ลงมือคัดบทกวีของ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม ที่คิดว่าจะเป็นตัวแทนงานเขียนของเขาได้จำนวน 3 บท ถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษเพื่อประกอบบทความเรื่อง Little Response Towards Literary Defiance : A Case Study of The Thai Muslims ที่ผมเขียนเพื่อตีพิมพ์ลงใน Tenggara นอกจากแปลบทกวีแล้วผมยังได้เขียนแนะนำตัวเขาในฐานะกวีมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศไทยด้วย
ในหนังสือดังกล่าว มุฮัมมัด ส่าเหล็ม จึงมีโอกาสได้ประชันผลงานกับนักกวีและนักเขียนร่วมสมัยเด่นๆ ชั้นแนวหน้าร่วมภูมิภาคถึง 40 คน ทั้งจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยกวีไทยมุสลิมอีกผู้หนึ่งที่มีผลงานลงตีพิมพ์ใน Tenggara ฉบับพิเศษว่าด้วยงานเขียนมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Muslim Writings in Southeast Asia) เล่มเดียวกันนี้ คือ ผศ.อนันต์ โอกฤษ (Anan Okriss) ซึ่งผมได้คัดเลือกส่งไปเช่นกัน
สำหรับบทกวีของ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม ผมคัดเลือกจากต้นฉบับที่ผมเก็บรักษาไว้นั่นเอง โดยเลือกงานที่เป็นตัวแทนของเขาในแง่สังคม-การเมือง ศาสนา และปรัชญา-จิตวิทยา จะเห็นได้ว่า มุฮัมมัด ส่าเหล็ม เป็นกวีแนวศาสนาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง ซึ่งเขียนงานในลักษณะของ La poésie engagée อย่างเต็มที่
มุฮัมมัด ส่าเหล็ม ในฐานะกวี จึงนับเนื่องว่าเป็นกวีผู้มีอุดมการณ์ ดังคำขยายความที่ว่า La poésie engagée est un genre de poésie qui se met au service d'une cause (politique, culturelle ou encore religieuse) et invite le lecteur à la réflexion ou à l'action en faveur de celle-ci. Elle sous-tend donc une idéologie.
ต่อไปนี้คือบทกวีของมุฮัมมัด ส่าเหล็ม ที่ผมได้แปลและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Tenggara ฉบับที่ 36 & 37 มี 3 แนวดังนี้
ก. แนวสังคม-การเมือง
Election Day Again
(เลือกตั้งอีกครั้ง : Translated by Kanha Sangraya)
The time of harvest has passed
The newly-built red road
Running through the gray village,
Things never look like they were in the last four years
Forests have been felled.
Mountains are left with no trees.
All streams and waters dried out.
Old man’s hair becomes whiter than it was last year,
The young maid bore a baby.
The village is further crowded.
Paddy rice is still the same.
Young man’s blood vessels protrude,
A red cow had been killed,
Her meat distributed amongst villagers.
Posters at the tri-junction posts
Stuck down with more space and more colors
Than in the years passed:
“Don’t Sleep On Your Rights”
They awoke the whole village up,
Saying that democracy gives everything,
A photograph of a smartly dressed man printed with certain number
Pasted on every shelter’s wall.
Occasionally the man comes to salute the villagers
Promising that he will bring fortune.
In a few days is the Election Day,
Money flows onto over people’s heads
Democracy with new face,
How can they recognize it?
But they know better that money will buy them rice.
Again when the election comes
Many are the things changed.
The same man with certain number
Comes to promise that he will bring civilization to the village
As we have always been told
Again and again during the Election Day.
(1985)
ต้นฉบับพิมพ์ดีดภาษาไทย :
เลือกตั้งอีกครั้ง โดย มุฮัมมัด ส่าเหล็ม
พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร แมน 2528
หมายเหตุ : มีลายมือเขียนแทรกเพิ่มหนึ่งบรรทัด (อาจพิมพ์ดีดตกหล่น)
ฤดูเก็บเกี่ยวผ่านพ้นไปแล้ว
ถนนสีแดง
เลื้อยเข้าไปในหมู่บ้านสีเทา
ทุกอย่างไม่เหมือนเมื่อสี่ปีก่อน
ป่าไม้ถูกฆ่าฟันเตียนตา
ภูเขาหัวโล้น
ลำน้ำแห้ง
เส้นผมชายชราขาวมากกว่าปีกลาย
สาวน้อยออกลูกแล้ว
ผู้คนในหมู่บ้านมากขึ้น
ค่าเช่านาแพงขึ้น
ราคาข้าวเท่านั้นที่เหมือนเดิม
เส้นเลือดของคนหนุ่มปูดโปน
แม่วัวแดงเขากางถูกเชือด
แล่เนื้อแจกจ่ายไปทั่วหมู่บ้าน
โปสเตอร์ที่สามแยก
แผ่นใหญ่และสีสวยกว่าปีก่อน
“อย่านอนหลับทับสิทธิ์”
ปลุกให้ชาวบ้านตื่น
บอกว่าประชาธิปไตยให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
รูปคนแต่งตัวภูมิฐานมีเบอร์
ติดไปทุกฝาบ้าน
บางครั้งตัวจริงก็มายกมือไหว้ชาวบ้าน
บอกว่าข้าพเจ้าเป็นผู้นำโชค
อีกไม่กี่วันแล้วจะเลือกตั้ง
เงินปลิวว่อนเหนือหัวประชาชน
ประชาธิปไตยหน้าตาเป็นอย่างไรไม่รู้
แต่เงินซื้อข้าวสารได้
เลือกตั้งอีกครั้ง
หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ผู้ชายมีเบอร์คนเดิม
บอกว่าจะนำความเจริญมาสู่หมู่บ้าน
เขาพูดเหมือนปีก่อนก่อน...
ข.แนวศาสนา
Followers of True Belief
(สืบต่อสายธารศรัทธา : Translated by Kanha Sangraya)
Today
The land is pallid
The power of the Devil overrules
Man is asking for freedom.
Life
Looks dark and dim,
There has been a golden road
Now looks dull and gloomy.
Whoever would like to become prophets
Don’t lead us in confusion,
Unconsciously and in falsehood,
Without humanity.
The road has been built for dignity
Blood and life are dedicated to
Ways of humanity.
The Book
Dignifying the best way,
Is transparent with Truth
Rubbing out the Devil’s tyranny.
Then comes the light
Shining throughout
The earth on that day
Filled with glory and faith.
Long, long ago…
There has been a good way
But unfortunately now
It becomes worse because of evil.
Tomorrow
We, all brothers will unite
To fight against all devils
As followers of true belief!
(1982)
ต้นฉบับพิมพ์ดีดภาษาไทย :
สืบต่อสายธารศรัทธา โดย มุฮัมมัด ส่าเหล็ม
พิมพ์ครั้งแรกในหนังสือสมาคมนักศึกษายุวมุสลิมไทย 2525วันนี้...
ปฐพีหมอง
อำนาจปิศาจครอง
ผู้คนเรียกร้องหาเสรี
ชีวิต...
มืดมิดหมองศรี
ทางทองที่เคยมี
บัดนี้หมองมน
ศาสดา...
นำทางมาอย่าสับสน
ลืมตัวหลงกล
ความเป็นคนไม่มี
แนวทาง...
ถูกสรรสร้างเพื่อศักดิ์ศรี
อุทิศเลือดเนื้อและชีวี
เพื่อวิถีมนุษย์ธรรม
คัมภีร์...
บ่งชี้ทางเลิศล้ำ
แจ่มชัดสัจจธรรม
ลบรอยครอบงำกาลี
แจ่มจ้า...
สว่างหล้าไปทุกที่
วันนั้นผืนธรณี
เปี่ยมด้วยศักดิ์ศรีศรัทธา
นานแล้ว...
แนวทางอันแจ่มจ้า
บัดนี้อนิจจา
ต้องมามัวหมองเพราะผองพาล
พรุ่งนี้...
เราน้องพี่จะประสาน
ต่อสู้กับหมู่มาร
สืบต่อสายธารศรัทธา
ค.แนวปรัชญา-จิตวิทยา
Questions
(คำถาม : Translated by Kanha Sangraya)
Questions
There have been questions long before
We were to come to earth.
And there are too many questions
So we could never find out the answers.
Life is too little and too short
To answer all.
We take this life
According to our need
And we keep its answers
To fit our deeds.
ต้นฉบับพิมพ์ดีดภาษาไทย :
คำถาม โดย มุฮัมมัด ส่าเหล็ม
หมายเหตุ : ไม่ปรากฏว่าตีพิมพ์
คำถาม...
เคยมีมาก่อนแล้ว
ก่อนที่เราจะจุติมาสู่โลก
และมีมากมายเกินไป
มากเกินกว่าที่เราจะค้นหา
ทุกๆ คำตอบ
ชีวิตนี้เล็กและสั้นเกินไป
ที่จะตอบคำถาม
ให้ครบถ้วน...
ดังนั้น...
อย่าได้ไถ่ถามอะไรเราเลย
เรามีชีวิตอยู่
เท่าที่เราจะเป็น
และเก็บคำตอบเอาไว้
สำหรับสิ่งที่เรากระทำ
อันที่จริง บทกวีของนักกวีท่านนี้มีหลากหลายแนวมาก ถ้าจะศึกษาอย่างละเอียดลออและจริงจังมากกว่านี้…
เมื่อหนังสือ Tenggara ตีพิมพ์แล้ว บรรณาธิการคือ Prof. Dr. Muhammad Haji Salleh ซึ่งเป็น "กวีแห่งชาติ" (Sasterawan Negara) ของมาเลเซีย (คล้ายศิลปินแห่งชาติของบ้านเรา) ได้ให้หนังสือผมมา 3 เล่ม ผมได้มอบให้ อ.อนันต์ โอกฤษ ซึ่งมีผลงานได้ตีพิมพ์ไปเล่มหนึ่ง เมื่อผมได้พบ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม ที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง จึงได้มอบให้เขาไปอีกเล่มหนึ่ง และเก็บรักษาไว้เองอีกหนึ่งเล่ม
สำหรับต้นฉบับบทกวี 101 บทของ มุฮัมมัด ส่าเหล็ม กวีมุสลิมจากรากเหง้าปอเนาะก้องนามผู้นี้ ผมยินดีคืนให้กับทายาทของท่านทันทีที่ติดต่อมา ประการแรกมันเป็น "อามานะห์" ประการที่ 2 มันเป็นมรดกโดยชอบธรรมของทายาทของท่าน กระนั้นขอให้รำลึกเถิดว่า ผลงานกวีนิพนธ์ดลจินต์โดยเนื้อแท้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร มันเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติไปตราบเท่านาน
บัดนี้พันธกิจที่ผมมีอยู่ ก็คงสิ้นสุดลงแล้วโดยสมบูรณ์...