สปอตไลท์ส่อง "ร่างกม.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก"
ทำไมร่างกฎหมายนี้ต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารไปถึงอาหารสำหรับเด็กเล็ก ทำไมไม่ทารกอย่างเดียว และทำไมต้องถึง 3 ปี
- นมแม่ดีที่สุด แต่ดีที่สุดถึง 1 ปี เท่านั้นหรือ
- ฤาข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะเชื่อถือไม่ได้
- ทำไมต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผง
- ทำไมต้องควบคุมอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ถึง 3 ปี
และสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ในร่างพ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. ....ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระที่ 1 นั้น ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไขข้อข้องใจบางประเด็นที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้
- นมแม่ดีที่สุด แต่ดีที่สุดถึง 1 ปี เท่านั้นหรือ
WHO แนะนำว่า "ให้นมแม่ล้วนอย่างเดียว Exclusive Breastfeeding 6 เดือน หลังจากนั้น ให้นมแม่ควบคู่กับให้อาหารตามวัย ไปจนถึงอายุ 2 ขวบหรือนานกว่านั้น"
- ฤาข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)/WHA (สมัชชาสุขภาพโลก) จะเชื่อถือไม่ได้
ถ้าข้อแนะนำและมติสมัชชาสุขภาพโลก เชื่อถือไม่ได้ เราจะเชื่อใคร WHA Resolution,Guidances แม้ไม่มีผลผูกพันเป็นกฎหมาย แต่รัฐบาลไทยก็ได้ลงมติรับรองแล้วเราจะไม่ยึดถือเป็นแนวทางเช่นนั้นหรือ
- ทำไมต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผง
บริษัทนมไม่สามารถควบคุมการกระทำของตนเองและตัวแทน โดยใช้จริยธรรม (Code of Ethics) หรือ Self Regution Code ได้
1.เพื่อปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดของบริษัทนมทำให้กระทบต่อการตัดสินใจของแม่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการทำให้เข้าใจผิดคิดว่า นมผงดีกว่า หรือมีประโยชน์เท่ากับนมแม่,ทำให้เข้าใจผิดว่า หลัง 6 เดือน หรือ 1 ปีไปแล้ว นมแม่ไม่มีประโยชน์ ทั้งที่ความจริงคือ นมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอต้องกินอาหารอื่นร่วมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่า นมผงจะดีกว่านมแม่ และทำให้เข้าใจผิดว่า นมแม่ไม่พอ ทั้งๆ ที่การให้นมผงเร็วเกินไปทำให้ขัดขวางต่อร่างกายแม่ที่จะผลิตนมแม่โดยธรรมชาติ
2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูด้วยนมแม่ ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ไม่ต้องถูกบิดเบือน เบี่ยงเบนด้วยการโฆษณาที่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ใดๆ และลดต้นทุนของบริษัทในการส่งเสริมการขาย โดยหวังว่า จะควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ได้ไม่ต้องจ่ายแพงสำหรับค่าการตลาดของบริษัท
ทั้งนี้ ตามร่างกฎหมายนี้ ขอบเขตการควบคุมการส่งเสริมการตลาด ได้แก่
นมหรืออาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก
อาหารอื่นสำหรับทารกและเด็กเล็กที่มุ่งหมายให้ใช้สำหรับทารกและเด็กเล็กตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ (ถ้าไม่ประกาศก็ไม่ควบคุม)
ส่วนที่ข้อสงสัย ทำไมร่างกฎหมายนี้ต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารไปถึงอาหารสำหรับเด็กเล็ก ทำไมไม่ทารกอย่างเดียว และทำไมต้องถึง 3 ปีนั้น
1.ก็เพื่อให้บรรลุเป้าตามที่ WHO แนะนำให้นมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น หากหยุดควบคุมการส่งเสริมการตลาดไว้เฉพาะอาหารสำหรับทารก (1ปี) ก็จะไม่เป็นไปตามคำแนะนำ
2.เพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้ประกอบการ/บริษัทนม หากจะกำหนดควบคุมอาหารเด็กเล็กถึง 2 ปี เพราะปัจจุบันไม่มีการขึ้นทะเบียนอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กถึง 2 ปี
3.เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการ Cross Promotion หรือการโฆษณาโดยใช้เด็กเล็กเพื่อสื่อเชื่อมโยงไปถึงทารก เพราะสรีระของเด็กเล็กในวัย 1-3 ปีนั้นใกล้เคียงทารกและเด็กเล็ก 2 ปี ในขณะที่เด็กโตตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปนั้นจะเห็นความแตกต่างระหว่างทารก/เด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปีได้ชัดเจน
สิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้บ้างในร่างกฎหมายนี้
นักกฎหมายระบุว่า ไม่ควบคุม"คุณภาพ" ผลิตภัณฑ์ เพราะถูกควบคุมโดยกฎหมายว่าด้วยอาหารแล้ว
การส่งเสริมการตลาดนั้น ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะที่ใดๆ ทั้งการลด แลก แจก แถม ขายพ่วง ของขวัญ หรือของรางวัล รวมถึงห้ามส่งเสริมการตลาดแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีบุตรเป็นทารกหรือเด็กเล็ก หรือบุคคลในครอบครัวที่มีทารกหรือเด็กเล็กด้วย
การบริจาคของบริษัทนม ในลักษณะอุปกรณ์ สิ่งของ หรือของใช้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์แก่หน่วยบริการสาธารณสุขว่า สามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องไม่มีชื่อ ตราหรือสัญลักษณ์ปรากฏ ประการสำคัญคือ ต้องไม่ใช่เพื่อแสวงหาประโยชน์การค้า
การให้ของขวัญ เงินสิ่งจูงใจแก่บุคลากรด้านสาธารณสุขนั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (conflict of interest) ยกเว้นเป็นการให้ตามประเพณีหรือธรรมจรรยา ซึ่งเรื่องนี้มีกำหนดไว้ชัดเจนตามกฎหมายป้องกันการทุจริต คือไม่เกิน 3,000 บาท
กรณีประเด็นเรื่องการจัดหรือสนับสนุน การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับเรื่องอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ผศ.ดร.ปารีณา กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ ห้ามหน่วยบริการสาธารณสุขรับประโยชน์โดยตรงจากบริษัทนม ยกเว้นแต่กรณีการสนับสนุนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุข ที่พัฒนาความรู้ด้านวิชาการจริงๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เห็นว่า เมื่อความรู้ทางวิชาการไม่ได้อยู่เฉพาะในองค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ควรได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกัน
อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้คลายข้อกังวลเรื่องที่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะขัดข้อตกลงการค้าโลกด้วยว่า ไม่ขัด เพราะ 1.ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ 2.ไม่ได้ทำเกินจำเป็น คือ ไม่ได้ห้ามจำหน่าย ห้ามแค่วิธีการโฆษณาส่งเสริมการขาย 3.ไม่ได้ทำตามอำเภอใจและไม่มุ่งกีดกันทางการค้า แต่มุ่งคุ้มครองสุขภาพของประชาชน และ 4.สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (WHO as an International Body)
ขอบเขตการควบคุมการส่งเสริมการตลาด สิ่งใดทำได้ -ทำไม่ได้
เส้นทางขับเคลื่อนกฎหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
นักนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยันร่างกม.โค้ดมิลค์ ไม่ขัดข้อตกลงการค้าโลก
แพทยสภาย้ำนมแม่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทารก
ยูนิเซฟ-WHO หนุนร่างพ.ร.บ. ควบคุมส่งเสริมการตลาดอาหารทารก-เด็กเล็ก
กรมอนามัย ย้ำชัด พ.ร.บ.นม ช่วยปกป้องแม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง-ไม่ได้ห้ามขาย
นายกแพทยสภา นำเครือข่ายหมอเด็ก ค้านร่างพ.ร.บ.นม-คุมโฆษณาอาหารทารกถึง 3 ปี
นพ.ศิริวัฒน์ ชี้ร่างพ.ร.บ.คุมนมผงทารกถึง 3 ปี ไม่สุดโต่ง ลดเหลือ 1 ปี เป็นแค่กระดาษเปล่า
เลขาธิการศูนย์นมแม่ฯ ลุ้นร่างพ.ร.บ.การตลาดอาหารสำหรับทารก เข้าสนช.
วิจัยชี้นมผงเสี่ยงทำทารกเกิดโรค จี้คลอดกม.ควบคุมตลาดฯ เน้นกินนมแม่
"นมแม่" ยิ่งให้นาน ยิ่งดี...จริง!