ปัญหาและความคิดเห็นเรื่องนโยบายรับจำนำมันสำปะหลัง
ปัญหาและความคิดเห็นเรื่องนโยบายรับจำนำมันสำปะหลัง
โดย นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีหรือไบโอไทย(BioThai)
1. สถานการณ์นโยบาย
การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 15 มกราคม 2555 เห็นชอบให้รับจำนำหัวมันสำปะหลังสดเริ่มต้นที่กก.ละ 2.75 บาทโดยจะสิ้นสุดโครงการรับจำนำในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งราคารับจำนำจะเป็นในลักษณะขั้นบันได เดือนสุดท้ายจะรับจำนำที่ 2.90 บาทต่อกิโลกรัม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 พฤษภาคม 2555 กำหนดให้เกษตรกรจำนำมันสำปะหลังไม่เกิน 350,000 บาทต่อราย หรือไม่เกิน 250 ตัน โดยคาดว่าจะใช้วงเงินรวมกว่า 33,000 ล้านบาท
2. นโยบายในอดีต
ในสมัยรัฐบาลที่แล้วมีนโยบายประกันรายได้ โดยปี 2552/53 ประกันที่ 1.7 บาทต่อกก. และปี 2553/2554 ที่ราคา 1.90 บาทต่อ กก. อีกทั้งมีเงื่อนไขว่าเกษตรกรผู้มีสิทธิทำสัญญา เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลัง มีการตรวจสอบปริมาณและรับรองความเป็นเกษตรกรอย่างถูกต้อง จำกัดปริมาณที่ครัวเรือนละ 100 ตัน คิดเป็นเงินจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดอ้างอิงวงเงิน เบื้องต้น 10,692 ล้านบาท
ต้นทุนจากมติครม.เมื่อปี 2552 ใช้เกณฑ์ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ (กก.ละ 1.21 บาท) บวกค่าขนส่ง (กก.ละ 0.15 บาท) และคิดผลตอบแทนให้เกษตรกรร้อยละ 25 (กก.ละ 0.34 บาท)
3. ปัญหาอื่น
ที่ผ่านมามันสำปะหลังมีปัญหาเพลี้ยแป้ง โดยผลสำรวจของ 4 สมาคมเชื่อว่า ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2552/53 น่า จะลดลงไปอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-20 จากผลผลิตที่คาดการณ์กันไว้ล่าสุดที่ตัวเลข 27.7 ล้านตัน หรือลดลงเหลือ 21-24 ล้านตัน
4 . ราคารับซื้อปัจจุบัน
ราคาหัวมันสด (เชื้อแป้ง 30 %) ณ โรงแป้ง จ. นครราชสีมา บาท/กก. 16 มกราคม 55 ราคา 2.50 - 2.65 บาทต่อกก. โดยเกษตรกรนาย ระพิน บุญตาม กรรมการสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังบอกว่าต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2.40 บาทต่อกิโลกรัม
5. การเคลื่อนไหวของเกษตรกร
- 26ธ.ค. 54 นายอัควัฒน์ กิตติพงษ์ภากร อุบนายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลัง เดินทางมายื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินโครงการรับจำนำหัวมันสำปะหลังราคากิโลกรัมละ 3 บาท ที่เชื้อแป้ง 25% ราคาเดียวจนถึงเดือนพ.ค.2555 และให้รับจำนำมันสำปะหลังทุกหัวไม่จำกัดจำนวน
- 11 ม.ค. 55 เวลา เกษตรกร จ.ตราดเข้าพบกับจังหวัดพร้อมผู้ค้าได้ประชุมร่วมกับจังหวัด เรียกร้องให้มีการรับซื้อหัวมันหรือประกันราคา 3 บาท โดยเร็วโดยคุณรัชนี วีระกุล ประธานชมรมผู้ค้าสินค้าเกษตรชายแดนไทย-กัมพูชา ชี้แจงว่า การซื้อมันจากฝั่งกัมพูชา เป็นการซื้อมันเส้นเป็นส่วนใหญ่และซื้อเพื่อทำการส่งออก จึงไม่กระทบกับการรับซื้อหัวมันสดในประเทศ เหตุที่ราคาลดต่ำลงเนื่องจากการส่งออกลดน้อยลงและราคาส่งออกมันเส้นลดจาก 260 เหรียญ/ตัน ในเดือนธันวาคม 54 เหลือ 240 เหรียญ/ตัน ดังกล่าว
-15 ม.ค. 2555 ได้มีเกษตรกรชาวศรีสะเกษที่ปลูกมันสำปะหลัง จำนวนประมาณ 200 คน ปิดถนนสายโชคชัย-เดชอุดมเรียกร้องเพราะต้นทุนลงทุนปลูกมัน 1 บาท 75สตางค์ ต่อ กก.แต่เมื่ออมาขายแล้วได้ราคาเพียง 2 บาท 35 สตางค์ ทำให้ขาดทุน เรียกร้องให้ได้กก.ละ 3 บาท ต่อแป้ง 25 % สุดท้ายสรุปพ่อค้ารับซื้อ กก.ละ 2.60 บาท ไม่วัดเปอร์เซ็นต์แป้ง ทำให้เกษตรกรพอใจสลายการชุมนุม
-18 ม.ค.55กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จากพื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน และ อ.สอย จ.จันทบุรี และกลุ่มเกษตรกร จ.สระแก้ว อ.คลองหาด อ.วังสมบรูณ์ประมาณ 300 คนประท้วงปิดถนน เรียกร้องให้ 1.ให้ลานมันที่รับซื้อหัวมันให้ในราคา 2.50 บาท 2.ขอให้หยุดการรับซื้อจากฝั่งกัมพูชา 3.ขอให้รับซื้อภายในวันที่ 20 ม.ค.55
6. ความกังวล
ตัวอย่างเช่น นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เห็นว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรขุดมันสำปะหลังออกมาขายเป็นจำนวนมาก เพราะต้องการใช้เงินจึงกังวลว่ามันสำปะหลังจะตกไปอยู่ในมือผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบความเป็นเจ้าของมันสำปะหลังให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นประโยชน์ของการรับจำนำจะไม่ถึงมือเกษตรกร รวมไปถึงมันสำปะหลังที่อาจผ่านเข้ามาตามแนวชายแดนด้วย
7. มันสำปะหลังในกัมพูชา
กัมพูชามีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 20,000 แฮกแตร์ หรือ 150,000 ไร่ มีแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ที่จังหวัด กัมปงจาม เสียมราฐ กัมปงสะปือ กัมปงธม และพระตะบอง ผลผลิตเฉลี่ย 5 ตัน/ไร่ และปริมาณผลผลิตอยู่ในเกณฑ์สูงเพราะดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ที่ใช้ปลูกบางส่วนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไทย เช่น ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50 เกษตรกรในจังหวัดพระตะบองซึ่งอยู่ติดชายแดนไทยมีการนำเข้าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงจากไทยเข้าไปปลูกต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังทั้งหมดประมาณ 3,100 บาท/ไร่ หรือ 62 สตางค์ต่อกก. ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในกัมพูชาจึงต่ำกว่าไทย 2-4 เท่า (แล้วแต่อ้างอิงตัวเลขต้นทุนของรัฐบาลหรือเกษตรกร)
8. ความเห็นของไบโอไทย
1) การรับจำนำเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่ยั่งยืนเพราะไม่ได้นำไปสู่การปรับโครงสร้างและประสิทธิภาพในการผลิต ปัญหาการจำนำคือเป็นการนำภาษีของประชาชนไปสนับสนุนผู้บริโภคในต่างประเทศ ทำลายกลไกการตลาด และเปิดช่องทางการคอรรับชั่นมากมาย ถ้าจำเป็นต้องเลือกนโยบายน่าจะออกแบบให้เป็นการสนับสนุนรายได้โดยตรงต่อเกษตรกรมากกว่า เพราะใช้เงินน้อยกว่า ไม่ทำลายกลไกตลาด กระจายไปสู่เกษตรกรรายย่อยได้มากกว่า เป็นต้น
2) เงินจะไหลไปสู่พ่อค้าลานมัน เพราะหัวมันอยู่ในมือพ่อค้าแล้ว เกษตรกรจะถูกสวมสิทธิ์ ลานมันจะได้ประโยชน์ โดยที่สำคัญที่สุดคือการนำเข้ามันสำปะหลังราคาถูกจากเพื่อนบ้าน โดยต้นทุนการผลิตมันของไทยอยู่ที่ 1.36 บาท/กก.(ตัวเลของรัฐรวมขนส่งปี 2552) แต่ของกัมพูชาอยู่ที่ 0.62 บาท/กก.(รวมขนส่ง) เท่ากับเป็นการสนับสนุนเกษตรกรในต่างประเทศด้วย
3) ทางออกคือ
- หนึ่งแปรรูปมันสำปะหลังในรูปวิสาหกิจชุมชนอย่าขายเป็นวัตถุดิบเด็ดขาด เช่น นำวมันสำปะหลังผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อาหารสัตว์ ไบโอพลาสติค แอลกอฮอล์ เป็นต้น
- สอง ปรับเป็นการผลิตแบบผสมผสานเพิ่มการผลิตอาหารในไร่มันทั้งเพื่อกินในครอบครัวและเพื่อขายเพราะแนวโน้มสินค้าอาหารมีราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และลดความเสี่ยง
- สาม ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพใช้อินทรีย์วัตถุและปุ๋ยชีวภาพแต่ไม่ใช่ที่โฆษณาว่าได้รายได้ไร่ละแสนซึ่งเป็นการโฆษณาเกินจริงและอาจแอบอ้างขายจุลินทรีย์ราคาแพงทั้งๆที่ทำเองได้
ปัญหาและความคิดเห็นเรื่องนโยบายรับจำนำมันสำปะหลัง
1. สถานการณ์นโยบาย
การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 15 มกราคม 2555
เห็นชอบให้รับจำนำหัวมันสำปะหลังสดเริ่มต้นที่กก.ละ 2.75 บาทโดยจะสิ้นสุดโครงการรับจำนำในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งราคารับจำนำจะเป็นในลักษณะขั้นบันได เดือนสุดท้ายจะรับจำนำที่ 2.90 บาทต่อกิโลกรัม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 พฤษภาคม 2555 กำหนดให้เกษตรกรจำนำมันสำปะหลังไม่เกิน 350,000 บาทต่อราย หรือไม่เกิน 250 ตัน โดยคาดว่าจะใช้วงเงินรวมกว่า 33,000 ล้านบาท
2. นโยบายในอดีต
ในสมัยรัฐบาลที่แล้วมีนโยบายประกันรายได้ โดยปี 2552/53 ประกันที่ 1.7 บาทต่อกก. และปี 2553/2554 ที่ราคา 1.90 บาทต่อ กก. อีกทั้งมีเงื่อนไขว่าเกษตรกรผู้มีสิทธิทำสัญญา เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลัง มีการตรวจสอบปริมาณและรับรองความเป็นเกษตรกรอย่างถูกต้อง จำกัดปริมาณที่ครัวเรือนละ 100 ตัน คิดเป็นเงินจ่ายชดเชยส่วนต่างราคาระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดอ้างอิงวงเงิน เบื้องต้น 10,692 ล้านบาท
ต้นทุนจากมติครม.เมื่อปี 2552 ใช้เกณฑ์ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ (กก.ละ 1.21 บาท) บวกค่าขนส่ง (กก.ละ 0.15 บาท) และคิดผลตอบแทนให้เกษตรกรร้อยละ 25 (กก.ละ 0.34 บาท)
3. ปัญหาอื่น
ที่ผ่านมามันสำปะหลังมีปัญหาเพลี้ยแป้ง โดยผลสำรวจของ 4 สมาคมเชื่อว่า ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2552/53 น่า จะลดลงไปอีกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10-20 จากผลผลิตที่คาดการณ์กันไว้ล่าสุดที่ตัวเลข 27.7 ล้านตัน หรือลดลงเหลือ 21-24 ล้านตัน
4 . ราคารับซื้อปัจจุบัน
ราคาหัวมันสด (เชื้อแป้ง 30 %) ณ โรงแป้ง จ. นครราชสีมา บาท/กก. 16 มกราคม 55 ราคา 2.50 - 2.65 บาทต่อกก. โดยเกษตรกรนาย ระพิน บุญตาม กรรมการสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังบอกว่าต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 2.40 บาทต่อกิโลกรัม
5. การเคลื่อนไหวของเกษตรกร
-26ธ.ค. 54 นายอัควัฒน์ กิตติพงษ์ภากร อุบนายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลัง เดินทางมายื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินโครงการรับจำนำหัวมันสำปะหลังราคากิโลกรัมละ 3 บาท ที่เชื้อแป้ง 25% ราคาเดียวจนถึงเดือนพ.ค.2555 และให้รับจำนำมันสำปะหลังทุกหัวไม่จำกัดจำนวน
- 11 ม.ค. 55 เวลา เกษตรกร จ.ตราดเข้าพบกับจังหวัดพร้อมผู้ค้าได้ประชุมร่วมกับจังหวัด เรียกร้องให้มีการรับซื้อหัวมันหรือประกันราคา 3 บาท โดยเร็วโดยคุณรัชนี วีระกุล ประธานชมรมผู้ค้าสินค้าเกษตรชายแดนไทย-กัมพูชา ชี้แจงว่า การซื้อมันจากฝั่งกัมพูชา เป็นการซื้อมันเส้นเป็นส่วนใหญ่และซื้อเพื่อทำการส่งออก จึงไม่กระทบกับการรับซื้อหัวมันสดในประเทศ เหตุที่ราคาลดต่ำลงเนื่องจากการส่งออกลดน้อยลงและราคาส่งออกมันเส้นลดจาก 260 เหรียญ/ตัน ในเดือนธันวาคม 54 เหลือ 240 เหรียญ/ตัน ดังกล่าว
-15 ม.ค. 2555 ได้มีเกษตรกรชาวศรีสะเกษที่ปลูกมันสำปะหลัง จำนวนประมาณ 200 คน ปิดถนนสายโชคชัย-เดชอุดมเรียกร้องเพราะต้นทุนลงทุนปลูกมัน 1 บาท 75สตางค์ ต่อ กก.แต่เมื่ออมาขายแล้วได้ราคาเพียง 2 บาท 35 สตางค์ ทำให้ขาดทุน เรียกร้องให้ได้กก.ละ 3 บาท ต่อแป้ง 25 % สุดท้ายสรุปพ่อค้ารับซื้อ กก.ละ 2.60 บาท ไม่วัดเปอร์เซ็นต์แป้ง ทำให้เกษตรกรพอใจสลายการชุมนุม
- 18 ม.ค.55กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จากพื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน และ อ.สอย จ.จันทบุรี และกลุ่มเกษตรกร จ.สระแก้ว อ.คลองหาด อ.วังสมบรูณ์ประมาณ 300 คนประท้วงปิดถนน เรียกร้องให้ 1.ให้ลานมันที่รับซื้อหัวมันให้ในราคา 2.50 บาท 2.ขอให้หยุดการรับซื้อจากฝั่งกัมพูชา 3.ขอให้รับซื้อภายในวันที่ 20 ม.ค.55
6. ความกังวล
ตัวอย่างเช่น นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เห็นว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรขุดมันสำปะหลังออกมาขายเป็นจำนวนมาก เพราะต้องการใช้เงินจึงกังวลว่ามันสำปะหลังจะตกไปอยู่ในมือผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบความเป็นเจ้าของมันสำปะหลังให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นประโยชน์ของการรับจำนำจะไม่ถึงมือเกษตรกร รวมไปถึงมันสำปะหลังที่อาจผ่านเข้ามาตามแนวชายแดนด้วย
7. มันสำปะหลังในกัมพูชา
กัมพูชามีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 20,000 แฮกแตร์ หรือ 150,000 ไร่ มีแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ที่จังหวัด กัมปงจาม เสียมราฐ กัมปงสะปือ กัมปงธม และพระตะบอง ผลผลิตเฉลี่ย 5 ตัน/ไร่ และปริมาณผลผลิตอยู่ในเกณฑ์สูงเพราะดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ที่ใช้ปลูกบางส่วนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไทย เช่น ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50 เกษตรกรในจังหวัดพระตะบองซึ่งอยู่ติดชายแดนไทยมีการนำเข้าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงจากไทยเข้าไปปลูกต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังทั้งหมดประมาณ 3,100 บาท/ไร่ หรือ 62 สตางค์ต่อกก. ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในกัมพูชาจึงต่ำกว่าไทย 2-4 เท่า (แล้วแต่อ้างอิงตัวเลขต้นทุนของรัฐบาลหรือเกษตรกร)
8. ความเห็นของไบโอไทย
1) การรับจำนำเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่ยั่งยืนเพราะไม่ได้นำไปสู่การปรับโครงสร้างและประสิทธิภาพในการผลิต ปัญหาการจำนำคือเป็นการนำภาษีของประชาชนไปสนับสนุนผู้บริโภคในต่างประเทศ ทำลายกลไกการตลาด และเปิดช่องทางการคอรรับชั่นมากมาย ถ้าจำเป็นต้องเลือกนโยบายน่าจะออกแบบให้เป็นการสนับสนุนรายได้โดยตรงต่อเกษตรกรมากกว่า เพราะใช้เงินน้อยกว่า ไม่ทำลายกลไกตลาด กระจายไปสู่เกษตรกรรายย่อยได้มากกว่า เป็นต้น
2) เงินจะไหลไปสู่พ่อค้าลานมัน เพราะหัวมันอยู่ในมือพ่อค้าแล้ว เกษตรกรจะถูกสวมสิทธิ์ ลานมันจะได้ประโยชน์ โดยที่สำคัญที่สุดคือการนำเข้ามันสำปะหลังราคาถูกจากเพื่อนบ้าน โดยต้นทุนการผลิตมันของไทยอยู่ที่ 1.36 บาท/กก.(ตัวเลของรัฐรวมขนส่งปี 2552) แต่ของกัมพูชาอยู่ที่ 0.62 บาท/กก.(รวมขนส่ง) เท่ากับเป็นการสนับสนุนเกษตรกรในต่างประเทศด้วย
3) ทางออกคือ
- หนึ่งแปรรูปมันสำปะหลังในรูปวิสาหกิจชุมชนอย่าขายเป็นวัตถุดิบเด็ดขาด เช่น นำวมันสำปะหลังผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อาหารสัตว์ ไบโอพลาสติค แอลกอฮอล์ เป็นต้น
- สอง ปรับเป็นการผลิตแบบผสมผสานเพิ่มการผลิตอาหารในไร่มันทั้งเพื่อกินในครอบครัวและเพื่อขายเพราะแนวโน้มสินค้าอาหารมีราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และลดความเสี่ยง
- สาม ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพใช้อินทรีย์วัตถุและปุ๋ยชีวภาพแต่ไม่ใช่ที่โฆษณาว่าได้รายได้ไร่ละแสนซึ่งเป็นการโฆษณาเกินจริงและอาจแอบอ้างขายจุลินทรีย์ราคาแพงทั้งๆที่ทำเองได้