ข้าราชการเฮ! รัฐแจกไม่อั้น เพิ่มค่าเล่าเรียนบุตร เทงบอุ้มอนุบาลถึงป.ตรี
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ได้ปรับอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนใหม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปมาก อัตราค่าครองชีพปรับสูงขึ้น ทำให้กรมบัญชีกลางต้องทบทวนอัตราการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญ โดยให้มีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
สำหรับการปรับอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ และค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชนนั้น กรมบัญชีกลางได้ปรับขึ้นในทุกระดับการศึกษา แบ่งออกเป็น 1.สถานศึกษาของทางราชการ ระดับอนุบาล เดิม 5,110 บาท ใหม่ 5,800 บาท ประถมศึกษา เดิม 3,520 บาท ใหม่ 4,000 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น เดิม 4,290 บาท ใหม่ 4,800 บาท มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.เดิม 4,290 บาท ใหม่ 4,800 บาท อนุปริญญา เดิม 12,100 บาท ใหม่ 13,700 บาท ปริญญาตรี เดิม 22,000 บาท ใหม่ 25,000 บาท
2.สถานศึกษาของเอกชนที่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาล เดิม 4,260 บาท ใหม่ 4,800 บาท ประถมศึกษา เดิม 3,740 บาท ใหม่ 4,200 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น เดิม 2,900 บาท ใหม่ 3,300 บาท มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.เดิม 2,870 บาท ใหม่ 3,200 บาท ขณะที่สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาล เดิม 11,940 บาท ใหม่ 13,600 บาท ประถมศึกษา เดิม 11,610 บาท ใหม่ 13,200 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น เดิม 13,910 บาท ใหม่ 15,800 บาท มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.เดิม 14,240 บาท ใหม่ 16,200 บาท
และ 3.สายวิชาชีพ แบ่งออกเป็น 1.สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุนคหกรรม เดิม 1,260 บาท ใหม่ 1,400 บาท พาณิชยกรรม เดิม 4,560 บาท ใหม่ 5,100 บาท ช่างอุตสาหกรรม 6,370 บาท ใหม่ 7,200 บาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เดิม 4,560 บาท ใหม่ 5,100 บาท และอุตสาหกรรมสิ่งทอเดิม 6,370 บาท ใหม่ 7,200 บาท และ 2.สถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน คหกรรม เดิม 14,540 บาท ใหม่ 16,500 บาท พาณิชยกรรม เดิม 17,460 บาท ใหม่ 19,900 บาท ช่างอุตสาหกรรม 21,440 บาท ใหม่ 24,400 บาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เดิม 17,460 บาท
ใหม่ 19,900 บาท และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เดิม 21,440 บาท ใหม่ 24,400 บาท
สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่าให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000-30,000 บาท และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท.
ขอบคุณข่าวจาก