กรุงเทพฯเตรียมฟื้นฟู 3 ย่าน เปลี่ยนพื้นที่เมืองให้เข้าถึงมากขึ้น
กรุงเทพฯขานรับ แผนแม่บท เตรียมฟื้นฟู 3 ย่านสำคัญ เขตพระนคร เปลี่ยนพื้นที่เมืองให้เข้าถึงมากขึ้น ฉลองกรุงเทพครบรอบ 250 ปี
เมื่อเร็วๆ นี้ โรงภาพยนต์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ สยามพารากอน สำนักงานผังเมือง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UddC) จัดงานนำเสนอสาธารณะ “ กรุงเทพฯ2502”
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงแผนของกรุงเทพมหานคร ได้มีกำหนดนโยบาย พัฒนาและปรับปรุง ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าให้กลับมามีชีวิต โดยมุ่งเน้นการศึกษา อนุรักษ์และพัฒนาชุมชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพี่น้องในพื้นที ซึ่งจะสามารถสะท้อนให้เห็นความต้องการโดยรวมของชุมชนให้คงสถาพของท้องถิ่นเดิม รวมทั้งการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบเดิม เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม ตลอดจนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอันส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สวยงาม น่าอยู่ และน่าท่องเที่ยว
นายจุมพล กล่าวด้วยว่า โครงการจ้างที่ปรึกษาประจำ เพื่อสำรวจ วางแผน ออกแบบรายละะเอียด ประเมินราคาสำหรับงานวางผังเมืองประจำปี 2558 นี้ มุ่งเน้นในการ ฟื้นฟูเมืองผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม หารือและการมองภาพในอนาคตร่วมกัน เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง สามารถแปลงกรอบการฟื้นฟูเมือง ในระดับภาพรวมสู่ระดับพื้นที่ โดยผ่านการะบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูเมืองในพื้นที่นำร่อง อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่นำร่อง โดยต้องเป็นพื้นที่เข้าถึงได้ง่าย สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ และกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ระดับเมือง มีความเร่งด่วน ในการฟื้นฟูพัฒนาสอดคล้องกับกระแสสังคม รวมถึงต้องมีความซับซ้อนในเจ้าของที่ดินน้อย และเจ้าของให้การสนับสนุนในการฟื้นฟูเมือง ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้ให้ความสนใจและได้รับคาวมร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับการเผยแพร่ผลลัพธ์เชิงกระบวนการสาธารณะ อย่างต่อเนื่อง ทำให้สังคมเข้าใจต่อโครงการ ในการมีส่วนร่วมของประชาชน
ด้านผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) กล่าวว่า กรุงเทพมหานครกำลังเข้าสู่ศตวรรษที่ 3 มีการเปลี่ยนผ่านจากระบบเรือ สู่ระบบล้อ และในอนาคตจะเกิดเป็นระบบราง จากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ปี 2551 จำนวนห้องชุดมีมากกว่าบ้านเดี่ยวที่สร้างในชานเมือง เมื่อวิถีชีวิตของคนเมืองที่เปลี่ยนแปลง มีการเดินทางด้วยระบบรางมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากอดีต ประเด็นคือว่าจะทำอย่างไร ภายใต้แนวโน้มอันนี้ ในการพัฒนาเมืองสามารถที่ให้ประโยชน์จากการพัฒนาที่ทั่วถึงไปยังคนทุกกลุ่ม และสามารถตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม รูปแบบใหม่ที่มากับระบบราง
ผอ.UddC กล่าวว่า การพัฒนาเมืองที่ทั่วถึง หมายถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนในสังคม และรวมถึงการส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม ของคนทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอย่างทั่วถึงไม่ได้เกิดขึ้นอัตโนมัติ และสถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ของวิเศษที่เมื่อสร้างเสร็จเเล้ว ทุกอย่างจะสามารถพัฒนาให้เกิดอย่างทั่วถึง ยกตัวอย่างพื้นที่หลายแห่งที่สร้างรถไฟฟ้าแล้ว แต่การเข้าถึงยังลำบาก ส่งผลให้คนบริการน้อย นั่นจำเป็นที่ต้องมีการฟื้นฟูเมือง เพื่อให้เนื้อเมืองสามารถที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจที่มากับระบบราง
ทั้งนี้โครงการกรุงเทพฯ250 คือโครงการจัดทำแผนแม่บทการฟื้นฟูเมืองในวาระครอบรอบ 250 ปี ของกรุงเทพฯในปี 2575 มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมกายภาพของพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ให้มีความน่าอยู่ สร้างโอกาสทางเศราฐกิจและสังคม โดยพื้นที่นำร่องที่จะมีการฟื้นฟูในระยะต่อไป ถือเป็นการต่อยอดจากผลการศึกษาในระยะที่ 1 ในย่านกะดีจีน-คลองสานในฝั่งธนบุรี มาสู่โครงการระยะที่ 2และ 3 ในย่านพระนคร ได้แก่ ย่านท่าเตียน-ท่าพระจันทร์ ย่านโยธี-ราชวิถีและย่านทองหล่อ-เอกมัย
ขอบคุณภาพประกอบจาก :Bangkok250