เปิด 12 คดีซื้อจีที 200! ป.ป.ช.สอบกราวรูด ขรก.-เอกชน 75 ราย-ทหารอื้อ 6 นายพล
เปิดหมด 12 คดีจัดซื้อจีที200-อัลฟ่า 6 ในบัญชีสอบ ป.ป.ช. พบรายชื่อ'ทหาร-เอกชน-ขรก.'พัวพันอื้อ 75 ราย ร.อ. ยัน 4 พล.ท. อดีต เลขาฯ ปปส.ด้วย รวม 1,310 เครื่อง ทะลุ 1,080 ล. กรมสรรพาวุธ ทบ.มากสุด 39 คน
จากกรณีศาลโอลด์ เบลีย์ ของอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า ราว 395 ล้านบาท จากนายเจมส์ แมคคอร์มิค อดีตนักธุรกิจชาวอังกฤษ ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม (GT200) เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ขณะที่ กองทัพบกไทย กำลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดและแนวทางปฏิบัติต่อกรณีนี้ เนื่องจากมีหน่วยงานราชการหลายแห่งที่จัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเข้ามาใช้
โดยเบื้องต้น สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ พบว่า นับตั้งแต่ปี 2550 -2553 มีหน่วยงานรัฐ 7 หน่วยงาน ที่จัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ( GT200) มาใช้งาน รวมจำนวน 19 สัญญา คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 688,287,264.49 บาท (เท่าที่ตรวจสอบพบ)
(อ่านประกอบ : 19 สัญญา 688 ล.!เจาะข้อมูล7 หน่วยงานรัฐซื้อจีที200 ก่อนผู้ผลิตโดนยึดทรัพย์)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบฐานข้อมูลคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบว่า มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ( GT200) จำนวน 4 คดี ผู้ถูกกล่าวหา จำนวน 42 ราย จำนวนเครื่องที่จัดซื้อ 760 เครื่อง รวมวงเงินทั้งสิ้น 693,726,000 บาท
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คดีแรก
ผู้ถูกกล่าวหา : พลโทคำนวณ เธียรประมุข เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบก กับพวกรวม 39 คน ประกอบไปด้วย พลโทธีระวัฒน์ บุณยะประดับ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก, พลตรีชาติชาย หรือชาติชายพัฎฐ์ สุคนธสิงห์ , ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหกรรมสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก , พลตรีบัญชา พงษ์สวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก , พันเอกชาญวิทย์ ราชธนบริบาล ผู้บังคับการหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารบก, พันเอกธวัชชัย ปารีย์ อาจารย์หัวหน้าแผนกอาวุธ กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก , พันเอกทรงชัย สร้อยจาตุรงค์ อาจารย์หัวหน้าแผนกอาวุธ กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันเอกชาญชลิต พนมสารนรินทร์ รองผู้บัญชาการโรงเรียนสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก
พันเอกโชติ ยิกุสังข์ ผู้บังคับกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 24 กองบัญชาการช่วยรบที่ 4 กระทรวงกลาโหม, พันเอกธงชัย อ้อนประเสริฐ นายทหารประจำมณฑลทหารราบที่ 11 กระทรวงกลาโหม, พันเอกโกสิทธิ์ จันทมาลา นายทหารปฏิบัติการประจำมณฑลทหารราบที่ 11 กระทรวงกลาโหม, พันเอกเกษมชาติ มั่นสมบูรณ์ อาจารย์แผนกวิชากระสุนวัตถุระเบิด กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันโททวีศักดิ์ ดาษดา อาจารย์แผนกวิชากระสุนวัตถุระเบิด กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันเอกชัยวิทย์ พิมพ์ทอง นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา กระทรวงกลาโหม , พันเอกเกรียงศักดิ์ โคตระภู นายทหารปฏิบัติการประจำกรมสรรพาวุธทหารบก, พันเอกเอกพล ถาวรยุติธรรม นายทหารฝ่ายสรรพาวุธ กองทัพภาคที่ 4, พันโทพิชัย มีวงศ์ ผู้ช่วยนายทหารสรรพาวุธ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ, พันโทวรกร ภวังคะนันท์ หัวหน้ากองส่งกำลังบำรุง ศูนย์การทหารราบ
พันเอกธรรมนูญ ภักดีพินิจ นายทหารฝ่ายสรรพาวุูธ กองทัพภาคที่ 1 , พันเอกเกรียงไกร ลาดปาละ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำจังหวัดทหารบกพิษณุโลก, พันโทนิมิตร เพชรวงษ์ หัวหน้าแผนกสรรพาวุธ กองส่งกำลังบำรุง ศูนย์สงครามพิเศษ, พันโทสมชาญ พลายพงษา นายทหารฝ่ายสรรพาวุธ กองพลทหารราบที่ 15, พันโทภัทรพล เฉยเจริญ หัวหน้าแผนกที่ 1 โรงงานอาวุธ กองโรงงานช่างแสง ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันโทวิโรจน์ ทรัพย์สัตย์ หัวหน้าแผนกที่ 2 โรงงานอาวุธ กองโรงงานช่างแสง ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันโทธนาชัย ณ ระนอง หัวหน้าแผนกที่ 3 โรงงานอาวุธ กองโรงงานช่างแสง ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันโทประสาร อ่ำเอี่ยม รองผู้บังคับการ ส่วนแยก กองบัญชาการช่วยรบที่ 1, พันโทวีระศักดิ์ นิลแก้ว หัวหน้าแผนกแผนและวิศวกรรม โรงงานกระสุนและวัตถุระเบิด กองโรงงานช่างแสง ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, พันโทปัญญา นพคุณ นายทหารประจำโรงเรียนกรมการทหารสื่อสาร , พันโทพงศ์พัฒน์ ขันธเขตต์ นายทหารประจำกรมการทหารสื่อสาร, พันโทสุภาพ รัตนโรจน์พันธ์ ผู้ช่วยนายทหารสรรพาวุูธ กองทัพภาคที่ 4
พันโทประชา พรหมอารักษ์ หัวหน้าแผนกบัญชีคุม กองคลังสรรพาวุธ กรมการทหารสื่อสาร, พันตรีมานิต เสตะบุตร หัวหน้าแผนกสรรพาวุธ กองส่งกำลังบำรุง ศูนย์สงครามพิเศษ, พันตรีสมชาย ฉัตรเงิน ผู้บังคับกองร้อยสรรพาวุธ คลังพันสรรพาวุธกระสุนที่ 21 กองบัญชาการช่วยรบที่ 1, พันตรีอำนาจ ตรีนิตย์ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกสรรพาวุธ กองพลทหารราบที่ 15, พันตรีกฤษณ์ แสงม่วง ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารราบราบที่ 4, พันตรีธวัช ภาคีศิลป์ ประจำแผนกแผนและวิศวกรรม โรงงานกระสุนและวัตถุระเบิด กองโรงงานช่างแสง ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, ร้อยเอกสุธา ใกล้ชิด ครูแผนกอาวุธนำวีถี กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก, ร้อยเอกมงคล วรเจริญศรี ผู้บังคับหมวดคลังชิ้นส่วนแผนกที่ 3 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก, ร้อยเอกสุเมธ แก้วกุดั่น ผู้บังคับหมวดคลังชิ้นส่วนซ่อม พันส่งกำลังบำรุงที่ 21 กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 , ร้อยเอกอรรถพร พานิชเจริญ ผู้บังคับหมวดขนส่งบริการสรรพาวุธสนับสนุน พันซ่อมบำรุงที่ 21 กองบัญชาการช่วยรบที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)
ข้อกล่าวหา : กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การณีจัดซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธและวัตถุระเบิด จีที 200 ของกรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบก ในปีงบประมาณ 2550-2552 โดยไม่ตรวจสอบราคาที่หน่วยราชการอื่นเคยจัดซื้อ ทำให้กองทัพบก ต้องจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวในราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย รวม 12 สัญญา วงเงินรวม 683,900,000 บาท ในราคาแพงเกินจริง ดังนี้
1. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 87/50 จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน 2,500,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 1,250,000 บาท 2. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 1/51 จำนวน 24 เครื่อง วงเงิน 22,800,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 950,000 บาท 3. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 41/51 จำนวน 23 เครื่อง วงเงิน 29,700,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 1,291,304.35 บาท 4. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 81/51 จำนวน 68 เครื่อง วงเงิน 61,200,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท 5. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 107/51 จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน 1,800,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท 6. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 113/51 จำนวน 19 เครื่อง วงเงิน 17,100,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท 7. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 117/51 จำนวน 18 เครื่อง วงเงิน 16,200,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท
8. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 145/51 จำนวน 44 เครื่อง วงเงิน 39,600,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท 9. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 39/52 จำนวน 222 เครื่อง วงเงิน 199,800,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท 10. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 82/52 จำนวน 129 เครื่อง วงเงิน 116,800,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 905,426.36 บาท 11. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 90/52 จำนวน 30 เครื่อง วงเงิน 27,000,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท 12. ตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 163/52 จำนวน 166 เครื่อง วงเงิน 149,400,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 900,000 บาท
สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างขั้นตอนรวบรวมหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
คดีสอง
ผู้ถูกกล่าวหา : เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ไม่เปิดเผยรายชื่อ)
ข้อกล่าวหา : ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 โดยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 6 เครื่อง จากบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด วงเงินรวม 2,556,000 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 426,000 บาท ตามสัญญา เลขที่ 77/2552 ลว.19 มิ.ย. 52 ซึ่งเป็นราคาที่แพงเกินจริง
สถานะปัจจุบัน : ขอทราบข้อเท็จจริง เอกสารหลักฐานจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง และเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานหรือสถาบันการเงิน
คดีสาม
ผู้ถูกกล่าวหา : เจ้าหน้าที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท (ไม่เปิดเผยรายชื่อ)
ข้อกล่าวหา : ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 โดยวิธีสอบราคา จำนวน 1 ชุด จากบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด วงเงินรวม 550,000 บาท ตามใบสั่งซื้อขาย เลขที่ 1/2552 ลว.20 เม.ย. 52 ซึ่งเป็นราคาที่แพงเกินจริง
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริง การประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนครั้งแรก
คดีสี่
ผู้ถูกกล่าวหา : เจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (ไม่เปิดเผยรายชื่อ)
ข้อกล่าวหา : ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 จำนวน 3 ครั้ง ในราคาแพงเกินจริง ดังนี้ 1.1 จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ จำนวน 1 เครื่อง จากบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ในราคา 1,120,000 บาท ตามใบสั่งซื้อ เลขที่ 79/2551 ลว.27 ธ.ค. 50 1.2 จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ จำนวน 1 เครื่อง จาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ในราคา 1,120,000 บาท ตามใบสั่งซื้อ เลขที่ 365/2551 ลว.24 ก.ค. 51 1.3 จัดซื้อโดยวิธีพิเศษ จำนวน 4 เครื่อง จาก บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ในราคาเครื่องละ 1,120,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,480,000 บาท ตามใบสั่งซื้อ เลขที่ 98/2552 ลว.13 ม.ค. 52
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
ทั้งนี้ นอกเหนือจากคดีการจัดซื้อเครื่องจีที 200 ที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. ทั้ง 4 คดีดังกล่าวแล้ว ป.ป.ช. ยังรับเรื่องการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์ สารเสพติดชนิดพกพา หรือ ALPHA 6 เข้าสู่กระบวนการสอบสวนด้วย จำนวน 7 คดี รวมจำนวนผู้ถูกกล่าวหา 33 ราย จำนวนเครื่องที่จัดซื้อ 550 เครื่อง รวมวงเงิน 386,421,500 บาท (ยังไม่นับรวมจำนวนเครื่องและวงเงินจัดซื้อในคดีหก, เจ็ด,แปด เนื่องจากไม่มีการระบุข้อมูลเอาไว้)
มีรายละเอียดดังนี้
คดีหนึ่ง
ผู้ถูกกล่าวหา : เจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (ไม่เปิดเผยรายชื่อ) (ถูกสอบพร้อมกับคดีจัดซื้อเครื่องจีที 200 คดีที่สี่)
ข้อกล่าวหา : ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย อัลฟ่า 6 โดยวิธีสอบราคา จำนวน 2 เครื่อง จากบริษัท เอ เอส แอล เอ็ม เทรดดิ้ง จำกัด ในราคาเครื่องละ 447,000 บาท รวมเป็นเงิน 894,000 บาท ตามสัญญา เลขที่ 59/2552 ลว.3 ธ.ค. 51 ในราคาแพงเกินจริง
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
คดีที่สอง
ผู้ถูกกล่าวหา : 1.บริษัท แจ๊คสัน อีเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดและนายหยาง เซียะ เซียง กรรมการผู้จัดการ 2.บริษัท เอ เอส แอล เอ็ม เทรดดิ้ง จำกัด และนายสุเมธ เมธเศรษฐ กรรมการผู้จัดการ และข้าราชการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ข้อกล่าวหา : กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาฯ พ.ศ. 2542 ในการจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์ สารเสพติดชนิดพกพา หรือ ALPHA 6 ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน 900,000 บาท โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของ Coms Trac Ltd. ได้ร่วมกันสมยอมราคาเพื่อให้ ประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ให้เป็นผู้ทำสัญญากับสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ ในวงเงิน 894,000 บาท ต่ำกว่าราคากลางเพียง 6,000 บาท เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย
สถานะปัจจุบัน : เสนอปรับเปลี่ยนคณะอนุกรรมการไต่สวน
คดีสาม
ผู้ถูกกล่าวหา : เจ้าหน้าที่จังหวัดภูเก็ต กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย (ไม่เปิดเผยรายชื่อ)
ข้อกล่าวหา : ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย อัลฟ่า 6 โดยวิธีสอบราคา จำนวน 2 เครื่อง จากบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ในราคาเครื่องละ 550,000 บาท เป็นเงินรวม 1,100,000 บาท ตามสัญญา เลขที่ 1/2552 ลว.27 ก.ค. 52 ซึ่งเป็นราคา ที่แพงเกินจริง
สถานะปัจจุบัน : เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา
คดีสี่
ผู้ถูกกล่าวหา :เจ้าหน้าที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (ไม่เปิดเผยรายชื่อ)
ข้อกล่าวหา :ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย อัลฟ่า 6 จำนวน 2 ครั้ง ในราคาแพงเกินจริง ดังนี้ 1. จัดซื้อโดยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 63 เครื่อง จากบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 530,952 บาท รวมเป็นเงิน 33,450,000 บาท ตามสัญญา เลขที่ 118/2552 ลว.12 มี.ค. 52 2. จัดซื้อโดยวิธีพิเศษจากบริษัท เปโตร กรุงเทพ จำกัด จำนวน 479 เครื่อง วงเงิน 349,430,500 บาท ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 729,500 บาท ตามสัญญา เลขที่ 6/2553 ลว.16 พ.ย. 52
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
คดีห้า
ผู้ถูกกล่าวหา : เจ้าหน้าที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้อกล่าว : ทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย อัลฟ่า 6 โดยวิธีสอบราคา จำนวน 2 เครื่อง จากบริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ในราคาเครื่องละ 550,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,100,000 บาท ตามสัญญา เลขที่ 1/2552 ลว.13 ก.พ. 52 ซึ่งเป็นราคา ที่แพงเกินจริง
สถานะปัจจุบัน : เสนอปรับเปลี่ยนคณะอนุกรรมการไต่สวน
คดีหก
ผู้ถูกกล่าวหา : พลตำรวจโทกฤษณะ ผลอนันต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปปส. กับพวกรวม 12 คน ประกอบไปด้วย นางสุรีย์ประภา ตรัยเวช รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด , นางพธู ชินะโรจน์ เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 8 ว ปปส., นายวิสิทธิ์ ผลโภค เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 7 ว ปปส. , นายนพฤทธิ์ เรืองรองสรไกร เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 7 ว ปปส. , นายเอื้อ ทองสุพรรณ์ เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 6 ว ปปส., นางสาวนงนุช ตรีสมุทร์ เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 ปปส., นายวีระยุทธ หงษ์ด่านกลาง นักวิทยาศาสตร์ 3 ปปส., นางประทุม ตันสกุล เจ้าหน้าที่งานบริหารงานพัสดุ 7 ปปส. , นายพิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย นักวิชาการพัสดุ 4 ปปส. , นางสาวมาลินี เลิศธาราทัต เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 7 ว ปปส., นายทิวา นวมศิริ เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน 7 ว ปปส., นายชัยพิทักษ์ ทิพย์โพธิ์ นายช่างไฟฟ้าสื่อสาร 5 ปปส.
ข้อกล่าวหา : กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีจัดซื้อเครื่องตรวจพิสูจน์สารเสพติดชนิดพกพา ยี่ห้อ อัลฟ่า 6 ของสำนักงาน ป.ป.ส.ในปีงบประมาณ 2551-2552 จำนวน 2 ครั้ง โดยไม่ตรวจสอบราคาที่ส่วนราชการอื่นเคยจัดซื้อ ทำให้ สำนักงาน ป.ป.ส.ต้องจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวในราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
คดีเจ็ด
ผู้ถูกกล่าวหา : ว่าที่ร้อยตรีสุรศักดิ์ วงศาโรจน์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก กระทรวงมหาดไทย กับพวกรวม 5 คน ประกอบไปด้วย นายวีระ อินทรประสิทธิ์ หัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร , นายทรงศักดิ์ ภูมิผล นายช่างไฟฟ้าสื่อสาร 6, นางสาวอุบล นุชแพร เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล 5, นางหทัยกาญจน์ แปงแก้ว เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5, นายขวัญชัย คำชุ่ม เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 3
ข้อกล่าวหา : กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีจัดซื้อเครื่องตรวจค้นยาเสพติดของจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี 2551 โดยไม่ตรวจสอบราคา ที่ส่วนราชการอื่นเคยจัดซื้อ ทำให้จังหวัดพิษณุโลกต้องจัดซื้อเครื่องตรวจค้นยาเสพติด อัลฟ่า 6 ในราคาแพง กว่าที่ควรจะเป็น และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
คดีแปด
ผู้ถูกกล่าวหา : พลโทชวลิต จารุจินดา ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุดกระทรวงกลาโหม กับพวกรวม 9 คน ประกอบไปด้วย พลโทเชาวฤทธิ์ ประภาจิตร์ ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม, พันเอกเดชา บุณยรักษ์ นายทหารปฏิบัติการ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด , พันโทประสาธน์พล คล่องการเขียน นายทหารประจำ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด, พันโทนุกูล กฤษณะสุวรรณ นายทหารประจำ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด, นาวาอากาศโทนพวงค์ กรีกูล นายทหารประจำ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด, พันเอกณัชพลหรือนัชชวรรธน์ รวยสำราญหรือธนภูริพรรธน์ รองผู้อำนวยการกอง ๘ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด, เรือเอกณพ แก้วบุญชู นายทหารประจำ ศุนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด, เรือเอกมานพ กรึกพุดทรา นายทหารประจำ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด, ร้อยตรีวิเชียร ศรีรักษา นายทหารประจำการ ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด
ข้อกล่าวหา : กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีจัดซื้อเครื่องตรวจจับและค้นหาวัตถุระเบิด ยี่ห้อ Coms Trac รุ่น Alpha 6 ของศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด ในปีงบประมาณ 2550 - 2552 โดยไม่ตรวจสอบราคาที่ส่วนราชการอื่นเคยจัดซื้อ ทำให้ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสุด ต้้องจัดซื้อเครื่องตรวจจับและค้นหาวัตถุระเบิด ยี่ห้อ C0ms trac รุ่น alpha 6 ในราคาแพงกว่าท่ีควรจะเป็น และไม่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย
สถานะปัจจุบัน : ไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคล
ทั้งนี้ หากสรุปข้อมูลภาพรวมคดีการจัดซื้อเครื่องจีที 200 และ alpha 6 ที่สำนักข่าวอิศราตรวจสอบพบในขั้นตอนการไต่สวนของป.ป.ช. จะพบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 12 คดี จำนวนผู้ถูกกล่าวหา 75 ราย จำนวนเครื่อง 1,310 เครื่อง รวมวงเงินงบประมาณ 1,080,147,500 บาท (ยังไม่นับรวมจำนวนเครื่องและวงเงินจัดซื้อเครื่อง alpha 6 ในคดีหก, เจ็ด,แปด เนื่องจากไม่มีการระบุข้อมูลเอาไว้)
ขณะที่ ป.ป.ช. รับทุกคดีเข้าสู่กระบวนการไต่สวนอย่างเป็นทางการในช่วงปี 2555 ที่ผ่านมา
อ่านประกอบ :