“ข้อเสนอเชิงนโยบายป่าชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมอย่างเป็นธรรมและความยั่งยืน”
“ข้อเสนอเชิงนโยบายป่าชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมอย่างเป็นธรรมและความยั่งยืน” เครือข่ายป่าชุมชนประเทศไทย
งานสัมมนา “ป่าชุมชนไทยเพื่อการปฏิรูปที่เป็นธรรมและยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลง” ปี 2554
โดย ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รีคอฟ) และองค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม
1.เป้าหมายเพื่อการจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืนและประโยชน์สุขของคนในสังคม เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร
2.ชุมชนมีสิทธิในการเข้าถึงการจัดการป่าตามลำดับของสิทธิเพื่อความเป็นธรรมมากกว่ากรรมสิทธิ์แบบเบ็ดเสร็จ
3.เสริมสร้างธรรมาภิบาลและพัฒนากลไกการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น บนหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลความสัมพันธ์ระหว่างรัฐส่วนกลาง อปท. ประชาสังคม องค์กรชุมชนและปัจเจกชน
4.สร้างรูปแบบและกลไกการจัดการทรัพยากรร่วมกันของภาคีต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมในเชิงนโยบายประกอบด้วย
1.สร้างปฏิบัติการพื้นที่รูปธรรมเพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจและกลไกท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรฯไปให้ถึงชุมชนไม่ใช่แค่ อบต.
2.พัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรฯให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ตามความเป็นจริง
3.ทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติพ.ศ.2504 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507 และพ.ร.บ.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.พัฒนายุทธศาสตร์และการฟื้นฟูการจัดการทรัพยากรฯในระยะยาว
5.ผลักดันให้มีพ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรฯ 6.ยุตินโยบายและโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชนที่คุกคามและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ สิทธิชุมชนและความมั่นคงทางอาหาร
พันธสัญญาภาคีเครือข่ายป่าชุมชนประเทศไทย
1.ชุมชนจะตระหนักและรู้ในคุณค่าศักดิ์ศรีวัฒนธรรม นำองค์ความรู้พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2.เสริมสร้างประชาคม ชุมชน ท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาฐานนิเวศน์ ตรวจสอบ ถ่วงดุลชุมชนท้องถิ่น
3.ร่วมกับ อปท.สร้างและขยายรูปธรรมผลการจัดการทรัพยากรโดยอาศัยการกระจายอำนาจและกลไกท้องถิ่นในการพัฒนาข้อบัญญัติในการจัดการทรัพยากรทั้งระดับตำบล อำเภอ จังหวัด
4.ร่วมกับ อปท.ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลป่าชุมชนระดับชาติ
5.ศึกษาวิจัยเพื่อองค์ความรู้ใหม่ในการยกระดับการจัดการป่าชุมชนให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
6.เสริมสร้างบุคลากรคนรุ่นใหม่ให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น
7.พัฒนากองทุนในการจัดการทรัพยากรฯ และเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ
8.เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายป่าชุมชนระดับชาติให้มีบทบาทในการพัฒนา ประสานเชื่อมโยงเวทีระหว่างประเทศและสมาพันธ์ป่าชุมชนโลก
9.ชุมชนต้องมีการศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต