แบงก์ชาติชี้แจงแก้ไข พ.ร.บ. ธปท.เพื่อขยายขอบเขตการลงทุนของเงินสำรองระหว่างประเทศ
วันที่ 25 มีนาคม 2559 ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงเกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ. ธปท.เพื่อขยายขอบเขตการลงทุนของ เงินสารองระหว่างประเทศ
ตามที่ได้มีผู้แสดงความห่วงใยกรณีที่จะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ธปท. เพื่อขยายขอบเขตการลงทุนของเงินสำรองระหว่างประเทศ นั้น ธปท. ขอขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีและข้อคิดเห็นทุกประเด็น และขอเรียนชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้
1. เกี่ยวข้องเฉพาะบัญชีฝ่ายกิจการธนาคาร – ไม่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หนุนหลังธนบัตรออกใช้ ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา (ซึ่งเก็บรักษาทองคำและสินทรัพย์อื่นที่ได้มาจากการบริจาคของ คณะศิษย์หลวงตาพระมหาบัว) บัญชีทุนสำรองเงินตราจะไม่ถูกกระทบจากการแก้ไข พ.ร.บ. ธปท. ในครั้งนี้แต่อย่างใด
2. เน้นรักษามูลค่าเงินสำรอง และบริหารเพื่อลดความเสี่ยง – ธปท. ยังคงยึดมั่นในหลักการรักษามูลค่าและสภาพคล่องของเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเป้าหมายหลักของการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกการบริหารความเสี่ยงที่ดี ที่ผ่านมาธปท.ได้ให้ความสาคัญต่อการบริหารความเสี่ยงมาโดยตลอด อาทิเช่น กระจายสกุลเงิน กระจายประเภทสินทรัพย์ที่ถือครอง และใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงประเภทต่างๆ แต่เพื่อเตรียมพร้อมรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนใน ตลาดการเงินโลกที่นับวันจะสูงขึ้น
ธปท. จึงขอขยายขอบเขตการลงทุนของเงินสำรองระหว่างประเทศ จากปัจจุบันที่ลงทุนได้เฉพาะตราสารหนี้ และสกุลเงิน ให้ครอบคลุมสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับตราสารทุน เพราะการมีสินทรัพย์หลายประเภทที่ราคาไม่ได้เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน จะสามารถช่วยให้ความเสี่ยงโดยรวมของเงินสำรองระหว่างประเทศลดลงจากเดิม หลักการนี้เป็นที่ยอมรับกันในวงการการบริหารเงิน และเป็นแนวทางรักษามูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ในปัจจุบันธนาคารกลางหลายแห่งได้ลงทุนในตราสารทุนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว อาทิ ธนาคารกลางมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ เป็นต้น
3. การกำกับดูแลเป็นหัวใจสำคัญ – การลงทุนของเงินสารองระหว่างประเทศมีกระบวนการกำกับดูแลในหลายระดับ ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ที่ละเอียดและชัดเจน และมีการคานอำนาจระหว่าง ผู้ทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงกับผู้ทำหน้าที่ลงทุน และระหว่างฝ่ายจัดการกับคณะกรรมการ ธปท. กระบวนการกากับดูแลและกรอบกฎเกณฑ์ยึดมั่นในเป้าหมายหลักของการรักษามูลค่าและสภาพคล่อง ของเงินสำรองระหว่างประเทศ
เมื่อกฎหมายอนุญาตให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับตราสารทุนได้ กรอบกฎเกณฑ์จะอนุญาตให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับตราสารทุนเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงไม่ใช่เพื่อหวังหาผลตอบแทน
ธปท. ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลรักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ มิให้เสื่อมค่า มีความมั่นคง และมีสภาพคล่องพร้อมทำหน้าที่ในฐานะเงินสารองระหว่างประเทศได้ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ