เชียงใหม่โมเดล Timeline ปัจจัยความสำเร็จ ของประชาสังคมในเมือง
เนื้อหาจากงานวิจัยเรื่อง “อนาคตของเมืองเชียงใหม่ : ในการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยภาคประชาสังคม” โดยคุณสามารถ สุวรรณรัตน์ นักวิชาการอิสระ สนับสนุนโดยแผนงานโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง (FURD) ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เชียงใหม่วันนี้ แม้จะมีการลงทุนจากทุกทิศทุกทาง เป็นเมืองที่มีความเติบโตและพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด มีการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ การหลั่งไหลของแรงงานต่างชาติ พร้อมคลื่นนักท่องเที่ยวเอเชียที่ทำยอดสูงขึ้นในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเมืองที่มีเสนห์ และยังคงรักษาอัตลักษณ์ของเมืองได้ดี เพราะการมีบทบาทและการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือ ภาคประชาสังคม กลุ่มพลเมือง (Active Citizen) ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง แก้ไขปัญหา ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างมีแบบแผน และมีผลต่ออนาคตเมืองเชียงใหม่อย่างมีนัยยะตลอดมา
เครือข่ายภาคประชาสังคมในเชียงใหม่ จึงเป็นต้นแบบการสร้างเมืองจากผู้คนในเมือง ต้นแบบการสร้างอำนาจจากภาคประชาชน ที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเมือง
ปัจจุบันเชียงใหม่มีกลุ่มประชาสังคมหลักที่ขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ถึง 9 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ภาคีคนฮักเมืองเชียงใหม่, มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง, โฮงเฮียนสืบสานล้านนา, ภาคีฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่, เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ชมรมชาวนิมมานเหมินท์, กลุ่มสถาปนิก คน.ใจ.บ้าน, กลุ่มเครือข่าย เชียงใหม่เขียว สวย หอม ,กลุ่มละครกั๊บไฟ