ศปมผ. ย้ำความก้าวหน้า 5 ด้านสำคัญในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย
วันที่ 15 มกราคม 2559 ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) แถลงข่าวความก้าวหน้าของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายทั้ง 5 ด้าน ครอบคลุม การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย การพัฒนาระบบที่สำคัญ การบังคับใช้กฎหมาย การขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือเหยื่อจากการทำการประมงผิดกฎหมาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ได้จัดการแถลงข่าวถึงความก้าวหน้าของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย โดยมีผลและความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมใน 5 ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย การพัฒนาระบบที่สำคัญ การบังคับใช้กฎหมาย การขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือเหยื่อจากการทำการประมงผิดกฎหมาย ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการ คือ การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการส่งเสริมอุตสาหกรรมประมงอย่างยั่งยืน โดยดำเนินการภายใต้ 5 มาตรการ คือ ระบบการทำใบอนุญาต (licensing system) ระบบการตรวจสอบเรือประมง การตรวจสอบเรือ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ และการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ โดยผ่าน 28 ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (ศูนย์ PIPO) และเจ้าหน้าที่จากกรมประมง, กระทรวงแรงงาน, เจ้าท่า และชุดสหวิชาชีพบังคับใช้กฎหมาย และเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ภาครัฐได้จัดทำคู่มือความรู้กฎหมายประมง “ฉบับชาวประมง” ซึ่งขณะนี้ได้ออกเผยแพร่แล้ว
2. การพัฒนาระบบที่สำคัญ ภาครัฐได้จัดวางระบบใหม่ 2 ระบบ ได้แก่ (1) ระบบติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance: MCS) ที่ศูนย์ ศปมผ. และกรมประมง โดยในอนาคตระบบดังกล่าวจะประสานกับศูนย์ท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS- Vessel Monitoring System) ไปแล้วทั้งหมด 2,076 ลำจาก 2,216 ลำ ขนาด ขนาด60ตันกรอสส์ขึ้นไป (ร้อยละ 93.7) การติดตั้งระบบ VMS ทำให้สามารถติดตามและตรวจสอบเรือประมงที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยระบบดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้า ประมงนั้นมาจากการทำประมงผิดกฎหมายหรือไม่ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ที่มีการวางระบบ E-License พร้อมใช้งานใน 30 มีนาคม 2559 รวมทั้งการพัฒนาระบบจัดระเบียบเรือ / อาชญาบัตร แบบ Real Time และ On Line ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมาแล้ว การฝึกอบรมสร้างองค์ความรู้ผู้สังเกตการณ์บนเรือ (Observer On Board) ชุดแรกเมื่อ 4 ธันวาคม 2558ที่ผ่านมา และพร้อมส่งปฏิบัติงานภายในเดือนมกราคม 2559 และโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถ เช่น การฝึกอบรมสร้างองค์ความรู้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ คู่มือการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3. การบังคับใช้กฎหมาย ได้มีการบังคับใช้กฎหมายในเรือประมงและโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ โดยการบังคับใช้กฎหมายในเรือประมงนั้น ได้มีการจัดชุดบูรณาการพิเศษเพื่อตรวจและบังคับใช้กฎหมายในลักษณะสหวิชาชีพ จนถึงปัจจุบันมีการตรวจเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป ในประเทศแล้ว จำนวน 474 ลำ คิดเป็นร้อยละ 215 ตามข้อกำหนดของ EU นอกน่านน้ำ จำนวน 73 ลำ ตรวจไปแล้ว 53 ลำ โดยตรวจพบการกระทำความผิดรวม 90 ราย มีข้อกล่าวหาทำการประมงผิด และกำลังถูกดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้มีการประกาศไม่ให้มีการขนย้ายสัตว์น้ำในทะเล ภายในระยะเวลา 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.58 ด้วยความพยายามของรัฐในการปรับสถานะแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย แรงต่างด้าวสามารถมาจดทะเบียนใบอนุญาตได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ขณะนี้มีแรงงานมากกว่า 35,000 คน ที่มาจดทะเบียน นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงห้ามมิให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงาน พ.ศ. ...และร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ... เพื่อส่งเสริมสิทธิแรงงาน
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศ ประเทศไทยตระหนักดีว่าการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย ต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับ พันธมิตรระหว่างประเทศ ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาล และภาคีอื่นๆ ที่มิใช่ภาครัฐ ประการแรก การทำ MoUs ด้านการประมงและแรงงาน ซึ่งได้มีการลงนาม หรืออยู่ในขั้นตอนของการเจรจากับ 13 ประเทศ ตั้งแต่ประเทศเพื่อนบ้านจนถึงประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก รวมถึงประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยประเทศไทยได้ลงนาม MoUs ทวิภาคี ในการนำเข้าแรงงาน กับกัมพูชาและเวียดนาม และด้านการเกษตรและการประมงกับ ฟิจิ ประการที่สอง องค์กรระหว่างประเทศ เช่น กรีนพีช , EJF (มูลนิธิความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม) และ ILO ( องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ) ได้ให้การยอมรับว่าไทยมีความพยายามในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและยัง ให้ความสำคัญและสนับสนุนระบบการตรวจสอบเรือ รวมถึงการส่งเสริม มาตรฐานแรงงาน
5. การให้ความช่วยเหลือชาวประมงและแรงงานประมงที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลไทย มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น ลูกเรือประมงไทย จำนวน 1,398 ราย ได้กลับคืนสู่ประเทศไทย ในจำนวนนั้นมีผู้ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ จำนวน 54 ราย และได้มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อทำการแบ่งลักษณะเรือประมงในเชิงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้าน เพื่อช่วยให้ชาวประมงพื้นบ้านยังคงอยู่รอดในธุรกิจ นอกจากนี้ ร้อยละ 70 ของเรือประมงจำนวน 873 ลำ ที่ได้ส่งคำร้องได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และจะดำเนินการเร่งรัดความช่วยเหลือแก่เรือประมงที่เหลือ ซึ่งมาตรการต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้มีการทำประมงที่ถูกกฎหมาย ถูกต้องและ ยั่งยืน และจะไม่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย
สรุปได้ว่า รัฐบาลไทย มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้ง ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย และ เสริมสร้างจิตสำนึกของการ รับผิดชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหานี้ในทุกภาคส่วน ผลการประเมินของสหภาพยุโรปอยู่นอกเหนือการควบคุม ของรัฐบาล และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ไทยยืนยันว่าจะยังคงยึดมั่นในการพยายามต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อปกป้อง และรักษาทรัพยากรทางทะเล และส่งเสริมการประมงอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานของเราในอนาคต