รมว.ท่องเที่ยวฯ เผยปี59 ไทยต้องเน้นคุณภาพมากกว่าจำนวนคน
รมว.ท่องเที่ยวฯ เผย ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยปี 2559 รัฐเน้นจำนวนรายได้ต่อหัวจากนักท่องเที่ยวมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยว เตรียมพร้อมเปิดการท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรมในช่วงกลางคืน ผลักสินค้าโอท็อปให้เข้าถึงง่ายขึ้น
วันที่ 6 มกราคม 2559 ในงานสัมนาใหญ่ “เศรษฐกิจไทยปี59 มองไปข้าหน้า โอกาสและความท้าทาย”ที่ โรงแรงเซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยถึงเป้าหมายและทิศทางการท่องเที่ยวของไทยในปี 2559 ว่า จะเน้นที่การสร้างการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน (sustanable tourisum) เน้นการเพิ่มมูลค่า และคุณภาพ โดยยึดหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นความสมดุล ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งเเวดล้อม รวมทั้งการสร้างให้เกิดการกระจายรายได้ เพื่อลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด
รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า สิ่งที่ทางรัฐบาลกำลังเร่งคือการสนับสนุนการท่องเที่ยวศิลปะวัฒนธรรมตอนกกลางคืน (Night Art and Culture Tourisum) เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ โดยเห็นได้จากช่วงส่งท้ายปีที่ผ่านมา ที่มีการจัดงานบริเวณวัดอรุณฯ ริมน้ำเจ้าพระยา เห็นได้ว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยโครงการท่องเที่ยวกลางคืนจะเน้นการติดตั้งไฟในสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเปิดมุมมองใหม่แก่นักท่องเที่ยว เป็นการจัดไฟในลักษณะ ศิลปะจัดวาง (Intallation Art) ซึ่งสิ่งนี้ทางรัฐบาลจำเป็นต้องดึงเอาชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วม สร้างให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปตามชุมชนสร้างรายได้รากหญ้า ในส่วนของงบประมาณในการจัดการเรื่องนี้
นางกอบกาญจน์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ทางรัฐบาลยังไม่มีมติแน่นอนในเรื่องงบประมาณ แต่อย่างไรก็ตามจะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปอนุนเร็วๆ นี้ โดยส่วนตัวไม่อยากให้โครงการนี้ต้องรบกวนเงินกองกลาง
"สำหรับการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวในมุมการเที่ยวยามค่ำคืนนั้น จะช่วยให้นักท่องเที่ยวที่ปกติเดินทางมาเที่ยว เฉลี่ย 9 วัน จะอยู่ต่อเพิ่มอีก 1 วัน"
ส่วนในประเด็นเรื่องคุณภาพของนักท่องเที่ยว รมว.ท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ในปีนี้ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านล้านบาทในปีถัดไป ซึ่งต้องทำให้นักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายมากขึ้น ทำอย่างไรที่จะสามารถเพิ่มรายได้ต่อหัวจากนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันใช้ทรัพยกรธรรมชาติให้น้อยที่สุด เนื่องจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังเดินทางโดยรถยนต์ ดังนั้นมาตรการที่กำลังมีการพยายามพลักดันคือทำอย่างไรให้ ทุกๆ ปั้ม มีสินค้าท้องถิ่น เน้นสร้างเอกลักษณ์ประจำถิ่นนั้นๆ โดยใช้โมเดลของประเทศญี่ปุ่น ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงสิ้นค้าท้องถิ่นได้ง่าย จากที่ปัจจุบันมีแค่ร้านสะดวกซื้ออย่างเดียว