นายกฯยันรับฟังรธน.ขอยึดกม.มุ่งปฏิรูป-เข้มไข้เลือดออก
นายกรัฐมนตรี แสดงความเสียใจ เหตุโจมตีปารีส ประณามผู้ก่อเหตุ สั่งเฝ้าระวังทุกพื้นที่ ยันรับฟัง รธน. ขอยึดกฏหมาย มุ่งปฏิรูป ไม่สร้างขัดแย้ง เข้มโกง ขออย่าเชื่อคนบิดเบือนภาษี-ห่วงไข้เลือดออก สั่ง สธ. ดูแลเข้มงวด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งอีกครั้งกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และขอยืนยันว่าประเทศไทยจะยืนเคียงข้างประชาคมโลก และขอประณามการกระทำที่โหดร้ายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ประเทศใดในโลกก็ตาม
พร้อมกันนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โลกยังคงมีความสุ่มเสี่ยง ประเทศไทยต้องเพิ่มความระมัดระวัง ขอให้ประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือ ช่วยกันเฝ้าระวัง ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หากใครพบเห็นสิ่งใดผิดปกติ ให้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ทันที ทั้งนี้ ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันสอดส่องดูแล ป้องกัน ปราบปรามและป้องปราม รวมถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ในการประชุมเอเปก ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวคิดหลัก คือ “การสร้างเศรษฐกิจที่มีส่วนร่วม การสร้างโลกที่ดีขึ้น” โดยมุ่งเน้น ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค, การมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก, การลงทุนในการพัฒนาทุนมนุษย์ และการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งรวมถึง แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ขณะการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่จะเป็นการทบทวนการทำงานของอาเซียนตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐอาเซียน ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จะมีการแสดงวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ปี 2568 เพื่อกำหนดทิศทางอนาคตในการพัฒนาของอาเซียนต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะมีการจัดทำแผนการทำงานของอาเซียน ในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม และตลอดจนด้านวัฒนธรรมด้วย ระหว่างปี 2559 - 2568 ที่เน้นความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
สำหรับการประชุมเอเปก ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวคิดหลัก คือ “การสร้างเศรษฐกิจที่มีส่วนร่วม การสร้างโลกที่ดีขึ้น” โดยมุ่งเน้น ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค, การมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก, การลงทุนในการพัฒนาทุนมนุษย์ และการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งรวมถึง แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ขณะการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่จะเป็นการทบทวนการทำงานของอาเซียนตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐอาเซียน ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จะมีการแสดงวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ปี 2568 เพื่อกำหนดทิศทางอนาคตในการพัฒนาของอาเซียนต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะมีการจัดทำแผนการทำงานของอาเซียน ในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม และตลอดจนด้านวัฒนธรรมด้วย ระหว่างปี 2559 - 2568 ที่เน้นความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานของข้าราชการ ถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน นำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น ข้าราชการจะต้องเข้าใจในนโยบาย สามารถอธิบายประชาชนได้ และทำงานร่วมกับประชาชนในรูปแบบของ “ประชารัฐ” ทำให้ประชาชนเข้าใจ คำนึงถึงส่วนรวม และบังคับใช้กฎหมายทำให้คนเท่าเทียม พร้อมกำชับว่าต้องมีการประเมินการทำงานของข้าราชการ ทุกระดับด้วย
ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อติดตามมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งอยากให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน แต่ก็ยังไม่ค่อยประทับใจมากนัก หวังอย่างยิ่งว่าในการตรวจเยี่ยมครั้งต่อไป จะเห็นในสิ่งที่ดีขึ้น อย่างที่ได้กำหนดนโยบายไปแล้ว และยืนยันยินดีพูดคุยกับประชาชนโดยตรง หวังให้ทุกอย่างดีขึ้น พร้อมที่จะร่วมมือกันก้าวข้ามความขัดแย้ง หรือที่เรียกว่ากับดักตัวเองมาร่วมมือกันปฏิรูป
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในโอกาสที่วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี องค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็น “วันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล” ทั้งนี้ ประเทศไทยได้กำหนดให้เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “เดือนรณรงค์ยุติความ
รุนแรงต่อเด็กและสตรี” มีการติด “เข็มกลัดริบบิ้นสีขาว” จึงขอให้ทุกคน ทุกหน่วยงาน ตระหนักถึงเรื่องของความรุนแรง โดยใครพบเห็นสามารถแจ้งเหตุได้ที่ OSCC (One Stop Crisis Center) ศูนย์ช่วยเหลือสังคมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (สายด่วน 1111) หรือศูนย์ดำรงธรรม (สายด่วน 1567)
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้าย แสดงความเป็นห่วง เรื่องการระบาดของไข้เลือดออก โดยได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดช่วยกันสำรวจ รณรงค์ ให้ประชาชนช่วยกันทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน แต่หากพบว่าป่วย หรือใครสงสัยก็ให้ไปพบแพทย์ทันที
ขอบคุณข่าวจาก