เผยแพร่แล้ว!พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย เป็น‘รปภ.’ต้องเสียใบอนุญาต 1,000 บ/คน
เผยแพร่แล้ว! พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัยพ.ศ. 2558 ขึ้นทะเบียนบริษัท รปภ. ผบ.ตร. ประธานทุกบริษัท ใช้ชื่อขึ้นต้น “บริษัทรักษาความปลอดภัย” เสียค่าใบอนุญาตฉบับละ 50,000 บาท เป็น ‘พี่ยาม’ ต้องเสีย 1,000 บาท ใช้ต่างด้าวไม่ได้ จบการศึกษาภาคบังคับ
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า 5 พ.ย.58 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 76 มาตรา ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 1 (คณะกรรมการกํากับธุรกิจรักษาความปลอดภัย) และมาตรา 72 (ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สาระสำคัญ คือ
1.ให้มี คณะกรรมการกํากับธุรกิจรักษาความปลอดภัย ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อํานวยการสํานักงานกิจการยุติธรรม ผู้บัญชาการศูนย์รักษา ความปลอดภัย และผู้อํานวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจํานวนหกคน ในจํานวนนี้จะต้องเป็น ผู้แทนจากองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยไม่น้อยกว่าสองในสาม ให้ผู้บัญชาการตํารวจนครบาลเป็นกรรมการและเลขานุการ และข้าราชการตํารวจยศพันตํารวจตรีขึ้นไป ในกองบัญชาการตํารวจนครบาลซึ่งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลแต่งตั้งจํานวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
2.ผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัท และได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียน (มาตรา 16)
3. บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องใช้คํานําหน้าชื่อว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย” และคําว่า “จํากัด” หรือ “จํากัด (มหาชน)” ต่อท้าย แล้วแต่กรณี (มาตรา 20)
4.การให้บริการรักษาความปลอดภัยต้องทําสัญญาเป็นหนังสือระหว่างบริษัท รักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ 8 ข้อ (มาตรา 25)
5. ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดทําบัญชีรายชื่อพนักงานรักษาความปลอดภัย รับอนุญาต ยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย (มาตรา 30)
6. ผู้ใดประสงค์จะทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ต้องได้รับ ใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตจากนายทะเบียน (มาตรา 33)
7. ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ สําเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ ได้รับหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย จากสถานฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรองตามวรรคสอง
ลักษณะต้องห้าม เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษหรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการ กําหนด เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือน ไร้ความสามารถ เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกสําหรับความผิดเกี่ยวกับชีวิต และร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน หรือความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต และมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตมาแล้ว ยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต (มาตรา 34)
8. บริษัทรักษาความปลอดภัยจะกําหนดเครื่องแบบของพนักงานรักษาความปลอดภัย รับอนุญาตให้เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องแบบของทหาร ตํารวจ หรือเครื่องแบบของเจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามที่นายทะเบียนกลาง ประกาศกําหนดมิได้ (มาตรา 40)
9.ผู้ใดทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา63)
สำหรับ อัตราใบอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 50,000 บาท
ใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 1,000 บาท
ใบแทนในอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 3,000 บาท
ใบแทนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 100 บาท
การต่อใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม สำหรับในอนุญาตแต่ละฉบับ
หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัย มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อความสงบ เรียบร้อยของสังคม และในปัจจุบันนี้มีผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยเป็นจํานวนมากแต่มีมาตรฐาน ในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน สมควรกําหนดมาตรฐานของธุรกิจรักษาความปลอดภัยและมาตรฐานของ พนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานธุรกิจรักษาความปลอดภัยและเสริมสร้างศักยภาพ ของพนักงานรักษาความปลอดภัยอันจะเป็นประโยชน์แก่ผใชู้ ้บริการและช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
อ่านฉบับเต็ม : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/104/24.PDF