คำประกาศสมัชชาสวัสดิการชุมชนปฏิรูปประเทศไทย
เครือข่ายสวัสดิการชุมชนกว่า 3,500 แห่งเสนอรัฐทำสวัสดิการเป็นกฎหมาย-อปท.ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นสนับสนุนกองทุนฯอย่างต่อเนื่อง มีระบบที่มั่นคงยั่งยืนไม่เปลี่ยนแปลงตามภาวะการเมือง แนะออกมาตรการช่วยเหลือให้ชุมชนจัดการเองและรัฐสนับสนุนนอกเหนือจากการจ่ายงบโดยตรง แนะ คปร. ดันสวัสดิการเป็นสาระสำคัญปฏิรูปประเทศ
การจัดงาน “สมัชชาสวัสดิการชุมชน: ปฏิรูปสังคมจากฐานราก” เมื่อวันที่ 27-28 ส.ค.ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งมีขบวนองค์กรสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศ คณะกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัด หน่วยงานและองค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมงานกว่า 1,600 คน ขบวนองค์กรสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศ ได้ร่วมประกาศหลักการสำคัญของสวัสดิการชุมชนและข้อเสนอต่อรัฐบาล ดังนี้
คำประกาศสมัชชาสวัสดิการชุมชน 2553 สวัสดิการชุมชนปฏิรูปประเทศไทย
พวกเราผู้แทนเครือข่ายสวัสดิการชุมชนกว่า 3,500 กองทุนทั่วประเทศ ได้มาประชุมกันที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแห่งนี้ เพื่อทบทวนบทเรียนการทำงานประจำปี แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดสวัสดิการเพื่อชาวชุมชนทั้งเมืองและชนบท ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอในเชิงนโยบายเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การพัฒนาสวัสดิการชุมชนมีความแข็งแกร่ง เป็นรากฐานการพัฒนาสวัสดิการสังคมของประเทศต่อไป ผลการแลกเปลี่ยนบทเรียนประสบการณ์ทางด้านต่างๆพวกเรามีฉันทามติดังนี้
1.) เรายึดมั่นในหลักการและอุดมการณ์ของสวัสดิการชุมชนที่เน้นเป็นการให้อย่างมี คุณค่าและรับอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นการช่วยเหลือกันและกัน ด้วยน้ำพักน้ำแรง ภูมิปัญญา ทรัพยากรและทุนที่มีอยู่ในชุมชน ให้ชาวชุมชนมีความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม เราเชื่อว่ากองทุนสวัสดิการชุมชนคือองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเอง เป็นการปฏิรูปสังคมจากฐานรากอย่างแท้จริง
2.) ในปี ๒๕๕๓ นี้เราสามารถจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเพิ่มขึ้นอีก ๕๑๐ กองทุน พวกเราขอขอบคุณคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เป็นเงิน ๗๒๗ ล้านบาทและปี ๒๕๕๔ อีก ๘๐๐ ล้านบาท รวมทั้งการมีมติครม.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนับสนุนกองทุน สวัสดิการได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
3.) เรามีความภาคภูมิใจว่ากองทุนสวัสดิการที่เราจัดตั้งขึ้นสามารถให้การช่วย เหลือสมาชิกทั่วประเทศได้เป็นจำนวนมาก ทั้งคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนด้อยโอกาส ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ กองทุนการศึกษาและความเดือดร้อนฉุกเฉินของสมาชิก หลายกองทุนตำบลมีสมาชิกมากกว่า ๕,๐๐๐ คน กองทุนที่มีความแข็งแกร่งสามารถจัดสวัสดิการให้สมาชิกถึง ๒๕ ประเภท มากกว่าระบบสวัสดิการไหนๆในประเทศ กองทุนสวัสดิการชุมชนได้เปลี่ยนแปลงจิตใจของคนในชุมชนให้มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขและรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่ดีงามของชุมชนกลับมาใหม่ ซึ่งเป็นรากฐานของการเปลี่ยนชุมชนที่สำคัญ
4.) เราพบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จสำคัญของกองทุนสวัสดิการคือ การมีผู้นำที่ดี มีความเสียสละ มีทีมงานที่เข้มแข็ง การเปิดกว้างรับสมาชิกทุกกลุ่ม การใช้กลไกทางศาสนาและหลักธรรมเป็นเครื่องนำทาง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเชื่อมโยงกับกองทุนต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน การบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใสและการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.) ทางด้านการพัฒนาความเข้มข็งของกองทุน เราต้องมีระบบการเงินบัญชีที่ดี มีความโปร่งใส มีระบบข้อมูลสมาชิกที่ครบถ้วนถูกต้อง ต้องรณรงค์ให้มีสมาชิกครอบคลุมประชากรทั้งหมดของเมืองหรือตำบลภายในระยะเวลา สองสามปีข้างหน้านี้ ต้องจัดตั้งกองทุนใหม่ให้ครบทุกเมืองทุกตำบล ต้องคำนวณรายรับรายจ่ายกองทุนให้มีความสมดุลเพื่อความยั่งยืนของกองทุน ต้องเพิ่มประเภทสวัสดิการและเพิ่มเงินช่วยเหลือให้กับสมาชิกให้มากขึ้น เชิญชวนกองทุนและองค์กรชุมชนอื่นๆให้มาจัดสวัสดิการร่วมกัน ต้องระดมทุนเพิ่มเติมเข้ากองทุนด้วยวิธีการต่างๆ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การพัฒนาคณะกรรมการและสมาชิกให้มีทักษะในการบริหารกองทุนให้ร่วมมือกันทำ งานอย่างแข็งขันและต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่ขึ้นมาสืบทอดอุดมการณ์และการ บริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนต่อไป
6.) สำหรับการเชื่อมโยงและขยายผล กองทุนสวัสดิการของเราจะไม่ใช่แค่เพื่อการเกิด แก่ เจ็บ ตายเท่านั้น แต่จะครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสที่แม้ไม่เป็นสมาชิกก็จะได้รับ การช่วยเหลือ ครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือการศึกษาของเด็กๆของเราแล้วให้เขากลับมาทำงานใน ชุมชน เชื่อมโยงไปถึงเกษตรอินทรีย์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการที่ดินเพื่อคนจนและการแก้ปัญหาทุกๆเรื่องของชุมชน เราต้องพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเอง ไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ
7.) เราเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิและเพื่อนๆของเราที่แนะนำ ว่า ขบวนสวัสดิการชุมชนต้องเชื่อมโยงกับขบวนองค์กรชุมชนโดยรวม เชื่อมโยงหรือเป็นส่วนหนึ่งของสภาองค์กรชุมชนและเชื่อมโยงกับขบวนประชาชน เพื่อการปฎิรูปประเทศไทย เราจะกลับไปจัดปรับกองทุนของเราให้เกิดการเชื่อมโยงที่ว่านั้นขึ้นโดยเร็ว กรณีที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว เราจะทำให้สะพานเชื่อมนั้นแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
8.) เราเห็นร่วมกันว่าการจัดสวัสดิการของเราในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการทำงานในเชิงตั้งรับ คือรับมือกับปัญหาสุขภาพต่างๆของสมาชิก เราจะยกระดับให้กองทุนของเราจะทำงานในเชิงรุก ซึ่งก็คือการเสริมสร้างสุขภาพของสมาชิกให้สมบูรณ์แข็งแรง ลดการเบิกค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่งจะทำให้กองทุนของเราสามารถขยายประเภทสวัสดิการไปยังด้านอื่นๆและมีความ ยั่งยืนในระยะยาว
9.) กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา ขบวนองค์กรชุมชนสวัสดิการได้ร่วมทำงานกับคณะกรรมการสวัสดิการในระดับจังหวัด ซึ่งหลายจังหวัดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการ แต่บางจังหวัดก็ยังต้องปรับปรุงพัฒนา อย่างไรก็ตามเครือข่ายสวัสดิการชุมชนยังยืนยันหลักการว่าเราจะทำงานร่วมกับ หน่วยงานต่างๆทุกหน่วยงาน โดยจัดปรับความสัมพันธ์ให้มีความเหมาะสม เพราะการประสานงานกับหน่วยราชการต่างๆในจังหวัดนี้เองที่ทำให้ขบวนสวัสดิการ มีกำลังคนทำงานหลายหลากภาคส่วนรวมกันทั่วประเทศกว่า 2,100 คน
10.) กองทุนสวัสดิการชุมชนทุกหนแห่งจะสร้างความร่วมมือกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนให้มีคุณภาพและมีความยั่งยืน
แต่ลำพังการขับเคลื่อนขบวนสวัสดิการชุมชนด้วยสมาชิกชุมชนเองนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ให้กับระบบสวัสดิการของประเทศ ขบวนสวัสดิการชุมชนใคร่มีข้อเสนอให้รัฐบาลและภาคีที่เกี่ยวข้องสนับสนุนขบวน เราในเรื่องต่างๆดังนี้
1.) แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้ได้ให้การสนับสนุนสวัสดิการชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง แต่การสนับสนุนสวัสดิการชุมชนจากรัฐในปัจจุบันยังไม่มีความมั่นคงถาวร เครือข่ายสวัสดิการชุมชนเสนอให้รัฐบาล กำหนดมาตรการ แผนแม่บทหรือกฎหมาย เพื่อยกระดับสวัสดิการชุมชนจากแค่โครงการรายปีที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงตาม ภาวะทางการเมืองเป็นระบบที่มีความมั่นคง ยั่งยืน มากกว่าเดิม
2.) คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศไทยทุกคณะต้องนำเอาระบบและกระบวน การสวัสดิการชุมชน มากำหนดเป็นสาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศไทย เพราะนี่คือกลไกการคุ้มครองทางสังคมของชุมชนที่สำคัญมาก
3.) คณะกรรมการกระจายอำนาจต้องกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อให้การสนับสนุน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ถาวร ไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของผู้บริหาร
4.) จุดอ่อนของของมาตรการ การช่วยเหลือทางสังคมและสวัสดิการสังคมต่างๆในปัจจุบันคือการเน้นการช่วย เหลือรายบุคคล ใช้งบประมาณมากและรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งไม่มีความยั่งยืนและจะเป็นภาระด้านงบประมาณในระยะยาว รัฐบาลควรปรับเปลี่ยนมาตรการการช่วยเหลือทางสังคมหรือสวัสดิการสังคมที่มี อยู่ในปัจจุบันของทุกหน่วยงานให้มีความยั่งยืน ถ้าโครงการหรือมาตรการไหนเป็นสวัสดิการที่กองทุนสวัสดิการชุมชนสามารถจัดการ ได้ในระดับชุมชน ให้ปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณโดยสนับสนุนงบประมาณตรงให้กองทุนสวัสดิการุชมชน เป็นผู้ดำเนินการ เพราะกองทุนรู้จักและเข้าใจปัญหาของกลุ่มผู้เดือดร้อนมากกว่า จัดการได้รวดเร็วกว่า ต้นทุนดำเนินการต่ำกว่าการดำเนินการโดยหน่วยงานหลายเท่าตัว การจัดการดังกล่าวจะทำให้องค์กรชุมชนชุมชนมีความเข้มแข็งซึ่งเป็นองค์ประกอบ หนึ่งของการพัฒนาประแทศอย่างยั่งยืน
5.) ขอให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนนอกเหนือจากการสนับ สนุนงบประมาณโดยตรง เช่น มาตรการด้านภาษี ด้านการเงินการคลัง การให้กองทุนซื้อพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยสูงพิเศษ การสร้างสินทรัพย์ถาวรของกองทุน เป็นต้น เพื่อให้กองทุนสวัสดิการสามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว เพราะในอนาคตกองทุนสวัสดิการชุมชนจะเป็นระบบซึ่งเป็นที่พึ่งของคนส่วนใหญ่ใน สังคมที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากระบบอื่นๆ
ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยที่ทุกฝ่ายในสังคมจะเข้า มามีส่วนร่วม กองทุนสวัสดิการชุมชนคือองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากฐานรากไปสู่สังคมแห่งความมั่นคงของมนุษย์และชุมชน.
ที่มา : http://www.codi.or.th/webcodi/index.php?option=com_content&task=view&id=3214&Itemid=2