กมธ.ยกร่างรธน. แจงข้อกล่าวหา ต้องการสืบทอดอำนาจหรือไม่?
“การที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องอยู่ต่อนั้น ก็เพราะจะต้องทำงานอันมิอาจก้าวล่วงได้ ในการจัดทำกฎหมายสำคัญที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างน้อย ๒๕ ฉบับ ให้เสร็จสิ้นและเดินหน้าประเทศไทยต่อไปได้”
ฟีดแบ็คต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ค่อยสู้ดีนัก บ้างก็ว่าเป็นรธน.ในห้องแล็บ บางประเด็นถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย รวมทั้งข้อหาฉกรรจ์ที่ว่า กมธ.ยกร่างฯ ต้องการสืบทอดอำนาจ ไม่ยอมลงจากเวทีเสียที?
ล่าสุด ในจุลสาร “รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปเป็นอย่างไร” (ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ปักษ์หลัง มีนาคม 2558) ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำออกมาเผยแพร่เพื่อสื่อสารกับประชาชนผู้สนใจ เผยแพร่เนื้อหาส่วนหนึ่งโดยระบุว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีประเด็นที่ต้องการจะสื่อสารกับประชาชนคือ
เมื่อได้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ยกร่างไปแล้วในบทเฉพาะกาล มาตรา ๓๐๖ ที่ว่า “ เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็นให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ สิ้นสุดลงในวันเปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ตามมาตรา ๑๓๖”
ทำให้มีผู้นำเอาไปตีความและวิพากษ์วิจารณ์ว่านั่นหมายความว่า จะให้แม่น้ำทั้ง ๒ สาย คือ สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืดอายุออกไปจนถึงเมื่อมีการเปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก จนเป็นที่มาของข้อหาฉกรรจ์ที่ว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องการสืบทอดอำนาจหรือไม่ยอมลงจากเวทีเสียที
ฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจว่าการที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องอยู่ ต่อนั้น ก็เพราะจะต้องทำงานอันมิอาจก้าวล่วงได้ ในการจัดทำกฎหมายสำคัญที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญอย่างน้อย ๒๕ ฉบับ ให้เสร็จสิ้นและเดินหน้าประเทศไทยต่อไปได้
เนื้อหาในจุลสารระบุต่อว่า ภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันกับภาระหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ อย่างชัดเจน ก็คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีภารกิจต้องจัดทำพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) เพียง ๓ ฉบับ คือ พรป. ๑. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ๒. ว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง และฉบับที่ ๓ ว่าด้วย พรรคการเมือง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก
แต่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีภาระหน้าที่ ในการจัดทำ พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ จำเป็น อีกอย่างน้อย ๒๔ ฉบับ หรือประมาณ ๘ เท่า
พร้อมกันนี้ได้แจงรายละเอียดว่า ...ต่อไปนี้ เป็นบัญชีกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จจนมีผลบังคับใช้ คือ
ก. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) ตามมาตรา ๑๕๙ จำนวน ๑๒ ฉบับ
๑) พรป. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
๒) พรป. ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี
๓) พรป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
๔) พรป. ว่าด้วยพรรคการเมือง
๕) พรป. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
๖) พรป. ว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ
๗) พรป. ว่าด้วยวิธีพิจารราคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
๘) พรป. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
๙) พรป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๑๐) พรป. ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน
๑๑) พรป. ว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ
๑๒) พรป. ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ข. พระราชบัญญัติ (พรบ.) ที่จ าเป็นต้องตราขึ้นตามร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑๕ ฉบับ
๑) พรบ. ว่าด้วยการเสริมสร้างการปรองดองแห่งชาติ (ตามมาตรา๒๙๗)
๒) พรบ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ( ตามมาตรา ๗๔)
๓) พรบ. สมัชชาพลเมือง (ตามมาตรา ๒๑๕)
๔) พรบ. สภาตรวจสอบภาคพลเมือง (ตามมาตรา ๗๑)
๕) พรบ. คณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ (ตามมาตรา ๗๗)
๖) พรบ. คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนโดยระบบคุณธรรม(ตามมาตรา ๒๐๗)
๗) พรบ. องค์กรบริหารการพัฒนาภาค (ตามมาตรา ๒๘๔ (๕))
๘) พรบ. ว่าด้วยสมาคมการเมือง (ตามมาตรา ๕๕)
๙) พรบ. ว่าด้วยหนังสือสัญญาระหว่งประเทศ (ตามมาตรา ๑๙๓)
๑๐) พรบ. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลขององค์กรบริหารท้องถิ่น (ตามมาตรา ๒๑๖ (๒) และ (๓))
๑๑) พรบ. การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรบริหารท้องถิ่น (ตามมาตรา๒๑๓)
๑๒) พรบ. องค์กรบริหารท้องถิ่น (ตามมาตรา ๒๑๒)
๑๓) พรบ. องค์กรบริหารการพัฒนาภาค (ตามมาตรา ๒๘๔ (๕))
๑๔) พรบ. คณะกรรมการอิสระว่าด้วยค่าตอบแทนบุคลากรของรัฐ(ตามมาตรา ๒๘๔ (๖))
๑๕) พรบ. ว่าด้วยการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ (ตามมาตรา๒๙๗ วรรคสอง)
นี่คือคำชี้แจง ของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ต่อข้อหาที่ว่า ต้องการสืบทอดอำนาจหรือไม่ ผ่านจุลสาร“รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปเป็นอย่างไร” ฉบับล่าสุด
ขอบคุณภาพจาก http://www.parliament.go.th