ชง 6 ข้อเสนอ ลดอุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนเมืองไทย
ข้อเสนอแนะในการลดอุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนเมืองไทย
1. ทบทวนให้มีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับรถยนต์ รถกระบะ รถจักรยานยนต์ หรือ รถขนาดใหญ่ ที่ใช้ทางผิดวัตถุประสงค์ เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางเท้า ทางข้าม และ ไหล่ทาง
2. รณรงค์เรื่องการขับขี่ไม่ประมาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง ความเร็ว การขับรถในระยะกระชั้นชิด และ การแซงซ้าย รวมถึงการคาดเข็มขัดนิรภัยทั้งของผู้ใหญ่และเด็กด้วย
3. เพิ่มความสำคัญในการจัดการปัญหาความเร็วอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
a. รัฐบาล ลงทุนจัดซื้อเครื่องตรวจจับความเร็ว ลงทุนกับระบบสนับสนุนครบวงจร (ตั้งแต่ตรวจจับ จนถึงการปรับจริง และระบบข้อมูลรองรับทั้งหมด) การจัดทำถนนให้เอื้อต่อการชลอความเร็ว การบังคับใช้กฎหมายจริงจัง
b. ตำรวจและหน่วยงานที่ดูแลทาง ทำการสำรวจและติดตั้งป้ายจำกัดความเร็ว บังคับใช้มาตรการจำกัดความเร็วที่เคร่งครัด โดยเฉพาะในเขตชุมชนและหน้าโรงเรียน ตลอดจนการปรับแก้กฎกระทรวง (ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก 2522) เพื่อให้ความเร็วในเขตเมืองลดลง
4. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านงานทาง (เช่น กรมทาง กรมทางหลวงชนบท เทศบาล ฯลฯ) ควรมีการจัดการความปลอดภัย เช่น มีการตรวสอบความปลอดภัยของถนน (Road Safety Audit: RSA) และ เข้มงวดกับผู้มาใช้ที่ริมทาง หรือ ไหล่ทาง ตลอดจนควรจัดทำแผนที่แนะนำเส้นทางที่ปลอดภัยสำหรับการขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว
5. เร่งรัดจัดทำระบบข้อมูลและการสอบสวนอุบัติเหตุของตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ในกรณีที่สำคัญ ควรมีระบบสอบสวนอุบัติเหตุ (Accident Investigation) เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงในการปรับปรุงแก้ไข
6. มาตรการให้ความรู้และฝึกอบรม
a. ควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมและการทดสอบที่เข้มงวดก่อนได้รับการออกใบอนุญาตขับขี่ โดยการเพิ่มชั่วโมงการเรียนรู้ให้เพียงพอ ตลอดจนการลงทุนกับหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ
b. กรมการขนส่งทางบก บรรจุเป็น “ความรู้” เกี่ยวกับการใช้ถนนร่วมกับรถจักรยานอย่างปลอดภัย ในการฝึกอบรม และ จัดทำเป็นข้อสอบสำหรับผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์ประเภทต่างๆ
c. กระทรวงศึกษาธิการบรรจุหรือจัดให้มีการสอนเรื่องความปลอดภัยในการใช้จักรยานให้กับนักเรียนที่ใช้จักรยานมาโรงเรียน