ถอดบทเรียน 10 ปี รัฐทุ่มงบฯ 3.3 พันล.ทำเขตป่า ทำไมเสี่ยงสูงจะล้มเหลว ?
การดำเนินกิจกรรมปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ในอดีต จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ บางโครงการเกิดความล้มเหลว หรือมีความเสี่ยงสูงจะไม่บรรลุผลสำเร็จ
ข้างต้น คือข้อตรวจพบ จากรายงานการตรวจสอบการดำเนินงาน การจัดทําแนวเขตในพื้นที่ป่าไม้ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสําคัญระดับโลกโดยเฉพาะด้านป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจํานวนป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่อง สําหรับประเทศไทยมีสาเหตุสําคัญเกิดจากการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4 หน่วยงาน คือ
กรมป่าไม้ (เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (เขตพื้นที่ป่าชายเลน)
และสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครอบคลุมเขตพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของประเทศไทย)
จึงได้ดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกันของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการกําหนดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยโดยการประกาศทางกฎหมาย ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาหรือแนบท้ายกฎกระทรวง หรือตามแผนที่จําแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขตห้ามล่าสัตว์ป่า) และพื้นที่ป่าชายเลน
ในช่วงปีงบประมาณ 2543 – 2555 รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับกิจกรรมการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้รวมเป็นเงินไม่น้อยกว่า 3,356.14 ล้านบาท
จากการตรวจสอบมีประเด็นข้อตรวจพบและข้อสังเกตที่สําคัญดังนี้
1. การดําเนินกิจกรรมปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถดําเนินการให้บรรลุผลสําเร็จได้ บางโครงการเกิดความล้มเหลว หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่บรรลุผลสําเร็จ มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 การดําเนินโครงการเพื่อปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ที่ประสบความล้มเหลวและยุติโครงการ ซึ่งมีการใช้จ่ายเงินทั้งสิ้นประมาณ 526.55 ล้านบาท ได้แก่
โครงการจัดทําแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตร (ASPL) ปีงบประมาณ 2543 – 2546 ดําเนินการได้เพียงปีงบประมาณ 2545 โดยใช้จ่ายเงิน 172.20 ล้านบาท แต่ไม่สามารถดําเนินโครงการต่อไปได้ เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง และมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ทําให้การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไม่ชัดเจน โดยผลการดําเนินงานที่ผ่านมาไม่สามารถใช้ประโยชน์หรืออ้างอิงในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง และยังคงมีการดําเนินกิจกรรมดังกล่าวอีกในระยะต่อมา
และโครงการจัดทําแผนที่ฐานในการกําหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ที่ดิน(โครงการ Reshape) งบประมาณ 2548 – 2552 ซึ่งการดําเนินโครงการยังไม่แล้วเสร็จ ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ให้ยกเลิกการดําเนินโครงการ และให้ใช้ผลการดําเนินการตามโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ของสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 มาพิจารณาดําเนินการต่อไป
1.2 โครงการซึ่งยังอยู่ระหว่างดําเนินการมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่บรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ได้แก่
โครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศปี งบประมาณ 2552 – 2555 โดยสํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดําเนินการ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสิ้น 2,356.80 ล้านบาท พบว่า มีความเสี่ยงที่จะทําให้การดําเนินกิจกรรมจัดทําแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ตามโครงการเร่งด่วนฯ ไม่สามารถบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ได้
กล่าวคือ การถ่ายทอดแนวเขตพื้นที่ป่าไม้จากแผนที่แนบท้ายฯ เมื่อนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบได้ดําเนินการสํารวจรังวัดและฝังหลักเขตไปแล้ว ปรากฏว่าเส้นแนวเขตไม่ตรงกัน โดยยังไม่มีข้อกําหนดเพื่อให้ได้ข้อยุติของแนวเขตป่าไม้ที่ชัดเจน การสอบทานข้อมูลแนวเขตทรัพยากรป่าไม้ตามโครงการเป็นการสอบทานข้อมูลบนแผนที่เท่านั้น ไม่มีการกําหนดให้ต้องทําการตรวจสอบแนวเขตในภูมิประเทศจริง
ข้อเท็จจริงในพื้นที่พบว่า มีกรณีแนวเขตป่าไม้กับที่ดินของราษฎรที่ยังทับซ้อนกันอยู่ โดยยังไม่มีการกําหนดให้ตรวจสอบพิสูจน์สิทธิเพื่อให้เกิดความชัดเจนและหาข้อยุติ ข้อมูลแนวเขตที่จะนําเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลตามโครงการเป็นข้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบแนวเขตและค่าพิกัดในภูมิประเทศจริง ซึ่งจะทําให้ได้ข้อมูลสําหรับระบบการสืบค้น ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงและไม่คุ้มค่า
1.3 หน่วยงานหลักที่มีภารกิจโดยตรง ยังไม่สามารถดําเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน นําไปสู่การแก้ไขกฎหมายและแผนที่ที่สามารถบังคับใช้ได้ทางกฎหมาย กล่าวคือ แนวเขตพื้นที่ป่าไม้ตามระวางแผนที่ที่ใช้อ้างอิงในทางปฏิบัติไม่ตรงกับแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย/มติคณะรัฐมนตรี พื้นที่บริเวณแนวเขตป่าไม้กับพื้นที่ทํากินหรือที่อยู่อาศัยของราษฎรบางส่วนยังทับซ้อนกันอยู่ ยังไม่สามารถตรวจสอบพิสูจน์สิทธิการครอบครองพื้นที่ที่ชัดเจนได้และหน่วยงานของรัฐมีพื้นที่ในความรับผิดชอบทับซ้อนกัน โดยแต่ละหน่วยงานยังไม่ได้ปรับปรุงข้อมูล
แผนที่ที่แสดงขอบเขตที่ดินในความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ข้อสังเกต 1 การดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้มีลักษณะซ้ำซ้อนกันของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากการตรวจสอบการดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดทําแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้ง 4 หน่วยงาน พบว่ามีความซ้ําซ้อนกันของกิจกรรมตามโครงการเร่งด่วนฯ กับงาน/โครงการของหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าไม้ ทั้งกิจกรรมการจัดทําแนวเขตพื้นที่ป่าไม้และกิจกรรมการก่อสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ รายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1. ความซ้ําซ้อนของกิจกรรมปรับปรุงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ หน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการรับผิดชอบพื้นที่ป่ าไม้ ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 – 2554 โดยได้ใช้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 466.57 ล้านบาท และยังมีแผนการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องอีก
แต่ในขณะเดียวกันปีงบประมาณ 2552 สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดทําแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดของประเทศ ภายใต้โครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่ าไม้ของประเทศ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ป่าชายเลน ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายเดียวกัน
2. ความซ้ําซ้อนของการก่อสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ พบว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้รับงบประมาณเพื่อดําเนินการสํารวจวางโครงข่ายหมุดหลักฐานแผนที่และการจัดสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ดาวเทียม ช่วงปีงบประมาณ 2552 – 2554 วงเงินงบประมาณ 23.59 ล้านบาท และในปี งบประมาณ 2552 – 2554 สํานักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดําเนินโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ ซึ่งมีการก่อสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ โดยใช้งบประมาณดําเนินการ 26.06 ล้านบาท โดยจากการสุ่มตรวจสอบ พบว่ามีความซ้ําซ้อนอยู่ในพื้นที่เดียวกันและใกล้เคียงกันในเขตพื้นที่ป่าเดียวกัน
ข้อสังเกต 2 เครื่องหมายแสดงแนวเขตป่าไม้เกิดการชํารุด สูญหาย และยังไม่สามารถช่วยป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ได้
จากการสุ่มตรวจสอบ พบว่า หลักเขตถูกถอนทิ้ง สูญหาย การฝังหลักหมายแนวเขตในบางพื้นที่ไม่สามารถดําเนินการได้ตามแผนที่กําหนด การฝังหลักเขตบางพื้นที่ไม่ตรงตามค่าพิกัดในบัญชีรายงานผล การจัดทําหลักเขตบางพื้นที่ซ้ําซ้อนกันและไม่ตรงแนวเขตเดิม การฝังหลักเขตบางแห่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีแนวเขตอื่นชัดเจนอยู่แล้วโดยสภาพทางภูมิศาสตร์หรือสภาพทางธรรมชาติและการจัดทําเครื่องหมายแสดงแนวเขตบางแห่งไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมพื้นที่ป่าบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการบุกรุกได้ง่าย
อีกทั้งบางพื้นที่ป่าที่มีการจัดทําเครื่องหมายแสดงแนวเขตชัดเจนแล้ว แต่ปรากฏว่ายังมีการบุกรุกพื้นที่เพื่อทําการเกษตร
อ่านฉบับเต็มที่ได้ที่
-
file download