ข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราง
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะรัฐการวางนโยบายพัฒนาการขนส่งระบบรางของไทย ต้องดำเนินการเชิงกลยุทธ์อย่างครบวงจร โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่ติดตาม ศึกษา ตลอดจนดําเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาการขนส่งระบบรางของไทย ทั้งในส่วนนโยบายของรัฐ การบริหารจัดการโครงการ การพัฒนาโครงการ ตลอดจนการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี จึงต้องการนําเสนอข้อมูลจากมุมมองภาควิชาการ ทั้งต่อสังคมและรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป โดยมีประเด็นหลักที่ต้องการนําเสนอ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นด้านนโยบายการค้า และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1. ไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในลักษณะที่เป็นเพียงทางผ่านเหมือนคลองสุเอซ หรือเป็นศูนย์กลางการ เพิ่มคุณค่าด้วยการนําสินค้าเข้าและทําการเพิ่มมูลค่าในไทยก่อนที่จะส่งออกไปอีกทอดหนึ่งเหมือนสิงคโปร์ และ นอกจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว เราได้เตรียมความพร้อมในด้านอื่นอย่างไรบ้าง ในอันที่จะผลักดันให้ ไทยเป็นศูนย์กลางการเพิ่มคุณค่า เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้งบลงทุนจํานวนมากก่อประโยชน์สูงสุดกับ ประเทศ
2. จากการเชื่อมโยงไทย-จีนด้วยทางรถไฟ สินค้าไทยประเภทใดมีศักยภาพที่จะเข้าไปแข่งขันและขายในตลาดจีน และเราได้เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการด้านการผลิตและการค้าของไทยอย่างไร เพื่อให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าไป แข่งขันในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก
3. จากการเชื่อมโยงไทย-จีนด้วยทางรถไฟ สินค้าจีนประเภทใดที่จะเข้ามาในประเทศไทย ทั้งที่นํามาบริโภค ในประเทศไทยและใช้ไทยเป็นทางผ่านส่งออกไปยังต่างประเทศ และสินค้าเหล่านี้จะซ้อนทับกับสินค้าที่ผลิต ในประเทศไทยและเกิดการแย่งตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศไปจากสินค้าไทยมากน้อยเพียงใด ผู้ประกอบการ ด้านการผลิตและการค้า SME กลุ่มใดจะได้รับผลกระทบจากการแย่งตลาด และได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับ ผู้ประกอบการกลุ่มนี้อย่างไร
ประเด็นด้านการบริหาร การจัดเตรียมและปฏิรูปองค์กรด้านขนส่งระบบราง
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาระบบราง จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูป หน่วยงานรับผิดชอบการวางแผนพัฒนาและให้บริการขนส่งระบบรางควบคู่ไปด้วย เนื่องจากมีภารกิจที่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาทิ
• การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางในภาพรวมของประเทศ
• ความรับผิดชอบการก่อสร้างและบํารุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน
• ความรับผิดชอบการเดินรถโดยสาร และรถขนส่งสินค้า
• การกํากับดูแลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ให้บริการเดินรถ การรับรองมาตรฐาน โครงสร้างพื้นฐาน
• การประสานงานระหว่างผู้ให้บริการเดินรถ ผู้ก่อสร้างและบํารุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน อปท. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางใหม่จะต้องมีบทบาทใดบ้าง
2. องค์กรที่รับผิดชอบในภารกิจแต่ละส่วนมีทรัพยากรเพียงพอที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาหรือไม่ ต้องมีการเตรียม ความพร้อมอย่างไรในด้านต่างๆ อาทิ บุคลากร งบประมาณ อย่างไร
ประเด็นด้านการเตรียมความพร้อมด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ตลอดจนบุคลากร
1. รัฐบาลมีแผนรองรับการจัดการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบรถไฟอย่างไร กรอบระยะเวลาดําเนินการเป็น อย่างไรหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่การออกแบบระบบการก่อสร้างและติดต้งั การให้บริการการซ่อมบํารุง การจัดหาอะไหล่ การใช้อะไหล่ในประเทศทดแทน การส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ อุตสาหกรรมการ ประกอบรถไฟในประเทศไทย การปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี
2. รัฐบาลมีการเตรียมบุคลากรทั้งในระดับบริหารจัดการ วิศวกร ช่างเทคนิค ตลอดจนแรงงาน ตลอดแผนการพัฒนา โครงการตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไร หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
3. รัฐบาลมีแนวนโยบายอย่างไรที่จะทําให้การควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการเดินรถ มาตรฐานงาน ซ่อมบํารุง มาตรฐานชิ้นส่วน มาตรฐานการผลิตชิ้นส่วน มาตรฐานการตรวจติดตามระบบ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
4. รัฐบาลมีแผนรองรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและก่อสร้างระบบงานต่างๆ ในช่วงระยะเวลาพัฒนา โครงการอย่างไร วัสดุ-อุปกรณ์-เครื่องมือต่างๆ ผลิตในประเทศ หรือนําเข้า
5. รัฐบาลมีแผนรองรับการจัดการแรงงานต่างชาติและการพัฒนาช่างฝีมือในประเทศ ในช่วงระยะเวลาพัฒนาโครงการ อย่างไร อาทิ ด้านการจดทะเบียน การสาธารณสุข ความมั่นคง อาชญากรรม ฯลฯ