ลำดับเหตุการณ์เหตุโคลนทะลักสวนสมุนไพร ฉบับอภัยภูเบศร
ลำดับเหตุการณ์พื้นที่ปัญหาเหตุโคลนทะลักเข้าสวนสมุนไพร
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ ตระหนักว่า การพัฒนานวัตกรรมสมุนไพร การส่งต่อภูมิปัญญาการรักษาแบบโบราณ การสร้างสวนสมุนไพรเพื่อรักษาพันธุ์ที่ถูกต้องไว้ให้คนรุ่นต่อไป รวมทั้งการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นปัญหาสาธารณสุขในระยะเวลาอันใกล้นี้ จึงมีความจำเป็นที่จะมีที่ดินสักแปลง เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงมีการสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมมาหลายแปลงพบว่า ที่ดินตำบลเนินหอม ติดถนนทางขึ้นเขาใหญ่มีความเหมาะสม
ก่อนหน้าที่จะซื้อมีการตรวจสอบดังนี้
1.ซื้อจากกรมบังคับคดี ไม่มีภาระทางกฎหมาย อันเนื่องจากขายทอดตลาดมาตั้งแต่ปี 2552 ไม่ได้ระบุว่า มีแนวเขตท่อก๊าซอยู่ในพื้นที่
2.เมื่อไปตรวจสอบที่ที่ดินแปลงดังกล่าว ไม่พบความผิดปกติอื่นใด เช่น ป้ายแสดงแนวเขตของท่อก๊าซ
3.มูลนิธิฯ ซื้อที่ดินมาไร่ละ 530,000 บาท เปรียบเทียบราคาตลาดกับแปลงข้างเคียงแล้ว เป็นราคาที่เหมาะสม
30 กรกฎาคม 2555 ประชุมสามัญประจำปี มูลนิธิฯ มีมติให้จัดซื้อที่ดินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ ดังนี้ที่
1. สร้างโรงงานผลิตยา โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่
2. ปลูกสวนสมุนไพรหายาก เพื่อใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้แก่ประชาชนทั่วไป
3. เป็นสถานที่จัดนิทรรศการสมุนไพรให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม
4. สร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในลักษณะองค์รวม
5. ทำศูนย์ฝึกอบรมด้านสุขภาพและการผลิตสมุนไพร
9 สิงหาคม 2555 มูลนิธิฯ รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 92 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา จากนายนภดล ตรีสุวรรณ (ผู้จัดการมรดกของนางอำไพ ตรีสุวรรณ ) ภายหลังจากโอนที่ดินแล้วผู้จัดการมรดกจึงได้แจ้งว่ามีแนวท่อก๊าซพาดผ่านกลางที่ดิน ตามแนวสายไฟฟ้าแรงสูง
29 สิงหาคม 2555 ตัวแทนของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.) ส่งอีเมล์ เกี่ยวกับประกาศสำรวจเพื่อสร้างระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ตลอดจนแจ้งค่าตอบแทนทรัพย์สินที่ถูกประกาศกำหนดเป็นแนวท่อส่งก๊าซ
22 กันยายน 2555 มูลนิธิฯ ทำหนังสือแจ้ง บมจ.ปตท. ไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดิน
22 ตุลาคม 2555 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มีหนังสือถึงมูลนิธินัดตรวจสอบข้อเท็จจริงวันที่ 30 ตุลาคม 2555
30 ตุลาคม 2555 พนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้นัด มูลนิธิฯ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมี บมจ.ปตท. มาด้วย และแจ้งมูลนิธิฯ ว่า ไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์แนวเขตระบบท่อส่งก๊าซ และไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์เรื่องเงินค่าทดแทน และมูลนิธิฯ ยืนยันไม่ให้ บมจ.ปตท. เข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน
5 พฤศจิกายน 2555 บมจ.ปตท. ทำหนังสือ 2 ฉบับ ถึงมูลนิธิฯ เรื่อง แจ้งวางระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ และแจ้งค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกประกาศกำหนดเป็นเขตระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ ( แจ้งตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 อ้างว่า ที่ดินของมูลนิธิฯ อยู่ในโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 (ระยอง – แก่งคอย) ซึ่ง บมจ.ปตท.ดำเนินการตามมติ ครม. วันที่ 17 พ.ค. 2548 และวันที่ 19 มิ.ย.2550 ) เนื้อที่รวม 7 ไร่ 36 ตารางวา ได้รับเงินชดเชย 1,488,900 บาท คิดเป็นไร่ละ 210,000 บาท
30 พฤศจิกายน 2555 มูลนิธิฯทำหนังสือถึง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ยืนยันไม่ยินยอมให้ บมจ.ปตท. ใช้ที่ดิน (คัดค้านแนวเขตและเงินค่าทดแทน)
14 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทำหนังสือแจ้ง ว่า ได้รับคำร้องคัดค้านการก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซของมูลนิธิฯไว้แล้ว
17 มกราคม 2556 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ ว่า ที่ประชุม คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 2 ม.ค.2556 มีมติไม่รับพิจารณาอุทธรณ์ เนื่องจากมูลนิธิฯ ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายหลังการประกาศกำหนดเขตระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ
30 มกราคม 2556 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานบมจ.ปตท. และมูลนิธิฯ ได้ประชุมหารือเรื่องแนวเขตระบบท่อส่งก๊าซ โดย บมจ. ปตท. ได้เสนอแนวทางลดผลกระทบโดย เปลี่ยนแนวเขตใหม่ จากเดิม ที่เป็นเส้นตรงผ่านกลางที่ดิน ให้เป็น ลักษณะโค้งตามแนวรอบเขตที่ดินของมูลนิธิฯ ซึ่งมูลนิธิฯ รับไว้พิจารณาโดยมูลนิธิฯ มีคำถามเรื่องแนวเขตที่กำหนด ข้อกฎหมาย และความปลอดภัย
1 กุมภาพันธ์ 2556 บมจ.ปตท. ได้ส่งหนังสือถึงมูลนิธิฯ ขอความเห็นชอบในการเปลี่ยนตำแหน่งแนวเขตฯ
11 กุมภาพันธ์ 2556 มูลนิธิฯ ได้ส่งหนังสือถึง บมจ.ปตท. ขอให้ชี้แจงเกี่ยวกับความปลอดภัยเพิ่มเติม
18 กุมภาพันธ์ 2556 ปตท. ทำหนังสือชี้แจงเรื่องที่สอบถาม แต่มูลนิธิฯไม่ยอมรับ
7 มีนาคม 2556 คณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติยืนยัน ไม่ยินยอมให้ บมจ.ปตท.เข้าใช้ประโยชน์ในทิ่ดิน เนื่องจาก แม้จะเปลี่ยนแปลงแนวท่อให้เลาะตามขอบนอกแนวเขต ไม่ผ่านกลางที่ดิน แต่โครงการของมูลนิธิฯ ในพื้นที่นี้เป็นกิจกรรมที่อ่อนไหว เช่น การดูแลผู้สูงอายุ สวนสมุนไพรหายากของอาเซียน รวมทั้งต้องเสียพื้นที่มากขึ้น ในราคาที่ไม่เป็นธรรม จึงให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
28 มีนาคม 2556 ยื่นคำฟ้อง
1.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ทั้งสองขัดต่อ วัตถุประสงค์ แนวนโยบายแห่งรัฐ และบทบาทอำนาจหน้าที่ ตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2552
มาตรา ๗ พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์(๕) ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้พลังงาน(๖) ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาตในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้ และจัดการด้านพลังงาน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝาย
มาตรา ๘ รัฐพึงมีแนวนโยบายพื้นฐานว่าด้วยกิจการพลังงาน ดังตอไปนี้ (๑) จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ มีคุณภาพ มีความมั่นคง และมีระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเน้นการใช้ประโยชน์และพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานที่มีอยู่ภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดลhอม รวมทั้งลดการพึ่งพาพลังงานนําเข hาจากต่างประเทศ
มาตรา ๑๑ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(๖) ตรวจสอบการประกอบกิจการพลังงานของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส (๗) ออกระเบียบหรือประกาศและกํากับดูแลมาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งมาตรการในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานจากการประกอบกิจการพลังงาน
การออกประกาศกำหนดเขต ไม่ขอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นธรรม ทั้งในฐานะเจ้าของที่ดิน และในฐานะผู้ใช้พลังงาน เพราะมีการ กำหนดแนวเขตตามอำเภอใจ ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ซึ่งมีหน้าที่ตาม พรบ กลับละเลย ไม่ตรวจสอบ ว่ามีประสิทธิภาพหรือโปร่งใสหรือไม่ ซึ่ง การวางแนวท่อ ตามถนน 319 จะใช้ระยะทางสั้นกว่าถึง 40 กม. หรือเส้น 33 และการเลียบถนน ก็ใช้ความกว้างเพียง 5 เมตร แต่มาใช้เสาแรงสูงต้อง 20 เมตร และกระทบกับเอกชนน้อยรายกว่ามาก การลงทุนต่ำกว่า เพราะสั้นกว่า และ เวนคืนน้อยกว่า( กลุ่มธุรกิจดาษดา ก็มีเสาแรงสูงแต่ท่อก๊าซไม่ผ่านที่ โดยอ้อมหลบ )
บมจ.ปตท.มีท่อส่งก๊าซเดิมที่เชื่อมต่อจากระยองถึงแก่งคอยอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างท่อส่งก๊าซเพิ่ม
บมจ.ปตท.สามารถกำหนดแนวเขตตามอำเภอใจแล้วให้ หน่วยงานรัฐ คือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานใช้อำนาจ ตาม พ.ร.บ. บังคับใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น ซึ่งการกำหนดแนวเขต ทำให้ บมจ. ปตท.ขายก๊าซให้แก่กลุ่มผลประโยชน์ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ ให้ บมจ.ปตท. ไม่เป็นธรรมกับมูลนิธิฯ การดำเนินการแจ้งประกาศกำหนดเขตระบบโครงข่าย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การขยายโครงข่ายท่อส่งก๊าซช่วงปี 2544-2554 ไม่ได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ย่อมขัดต่อวัตถุประสงค์ในการอนุมัติโครงการของ ครม.
โครงการตามประกาศเขตระบบท่อส่งก๊าซที่พิพาทนี้ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยเทียบเคียงกับกฏหมายเวนคืน ที่ต้องระบุ วัตถุประสงค์ และกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้ ถ้ามิได้ใช้ตามเวลาที่กำหนดต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท (ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ข้อ 4 วรรคท้าย ประกาศเขตสำรวจให้ใช้บังคับกำหนดเวลาสองปี แต่ต้อแงไม่เกิน 4 ปี ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 18 กพ52 ก็จะต้องใช้ภายใน 18 กพ 56 ซึ่งเลยเวลากำหนดมาแล้ว)
การกำหนดราคาที่ดินและทรัพย์สินไม่เป็นธรรม
บมจ.ปตท.สามารถเปลี่ยนแปลงแนววางท่อได้ จากการที่ บมจ.ปตท ได้เสนอกับมูลนิธิฯขอให้ศาลปกครอง พิจารณาและมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยกเลิกเพิกถอนประกาศหรือคำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหรือมีคำสั่งว่าประกาศหรือคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับประกาศการกำหนดเขตระบบท่อส่งก๊าซ ตลอดจนการประกาศเกี่ยวกับเงินทดแทน ไม่มีผลบังกับผู้ฟ้องคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแต่ศาลปกครองมีความเห็นว่า ทางมูลนิธิฯฟ้องช้ากว่า 3 เดือนหลังครอบครอง (โอนที่ดินเมื่อ 9 สิงหาคม 2555 บมจ.ปตท.ส่งเอกสารเป็นทางการ 5 พฤศจิกายน 2555 ขาดอีก 4 วันจะครบกำหนด 3 เดือน จึงดำเนินการไม่ทัน) เรายังได้ฟ้องในประเด็นขออุทธรณ์แนวเขต เพราะทาง ปตท.บอกว่าย้ายแนวเขตได้ และขอความเป็นธรรมในค่าชดเชยการรอนสิทธิ์ (ทางมูลนิธิฯไม่อยากได้ แต่มันไม่เป็นธรรม เราไม่อยากมีท่อก๊าซผ่านที่ดินในโครงการเรา)
9 มกราคม 2558 เจ้าหน้าที่ บมจ.ปตท.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ของมูลนิธิฯโดยลอดรั้วลวดหนาม(แจ้งความเป็นหลักฐาน)
12 มกราคม 2558 เจ้าหน้าที่ บมจ.ปตท 2 ราย บุกรุกเข้าพื้นที่ของมูลนิธิฯ (แจ้งความเป็นหลักฐาน)
19 มกราคม 2558 ได้รับหนังสือของปตท.ฉบับลงวันที่ 15 มกราคม 2558 แจ้งให้ทราบว่าจะเข้าพื้นที่ของมูลนิธิฯ
24 มกราคม 2558 มีโคลนผุดขึ้นในแปลงสมุนไพรของมูลนิธิฯ ทำให้พันธุ์สมุนไพรเสียหายพื้นที่ ประมาณ 2 ไร่ บางส่วนไหลลงบ่อน้ำ( แจ้งความเป็นหลักฐาน) จำนวนพันธุ์สมุนไพรที่เสียหาย 88 ชนิด
29 มกราคม 2558 ได้รับหนังสือของปตท. ฉบับลงวันที่ 26 มกราคม 2558 ขอความอนุเคราะห์ให้เข้าพื้นที่เพื่อกำจัดโคลน
ประเด็นท้วงติงปตท.
1.เรื่องยังอยู่ในชั้นศาลแต่ ปตท.มาดำเนินการโดยพลการ ไม่คำนึงถึงเหตุผลความจำเป็นของคู่กรณี
2.ปตท.ควรแจ้งขั้นตอนการดำเนินการ และบอกวันเวลาอย่างชัดเจน ควรแจ้งเตือนผลกระทบและการเตรียมการป้องกันล่วงหน้า เช่น รู้ว่าในสวนมีสมุนไพรที่อาจจะ ได้รับผลกระทบจากโคลนทะลัก ต้นไม้อาจตายได้ แต่ปตท.ไม่ได้บอก
3.การกระทำที่ไม่ใส่ใจของปตท. ทำให้ต้นไม้สำคัญสูญหาย
4. ผลจากการกระทำของปตท.ที่ดำเนินการในช่วงกลางคืน ทำให้ยากแก่การป้องกัน
5.ควรเปิดเผยองค์ประกอบในโคลนเบโทไนด์
6.การจัดการเบนโทไนด์ของปตท. ไม่ควรทำให้โคลนเทียมทะลักจากแปลงข้างเคียงมาลงยังแปลงของมูลนิธิฯ