สภาองค์กรชุมชนอืด ประธานรับไม่มีเอกภาพ เตือนอย่าตกเป็นเครื่องมือการเมือง
ลุงสนชี้วิกฤติประเทศเกิดจากการพัฒนาที่กดหัวคนจน สภาองค์กรชุมชนจะเป็น ประชาธิปไตยรากหญ้าที่ส่องไฟเข้าไปในมุมมืด สมานฉันท์ทั้งเหลือง-แดง แต่ตอนนี้ยังใส่เกียร์ต่ำ จดทะเบียน 2 พันกว่าตำบล แต่ตรงเจตนารมณ์น้อย ประธานสภาฯยอมรับยังไม่เป็นเอกภาพ เห็นผลต่ำทางการเมือง ตัวแทนภาคเหนือเตือนต้องควบคุมกันเองให้ได้ อย่าตกเป็นเครื่องมือนักการเมืองในกระแสปฏิรูป
วันนี้(27 พ.ค.) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะกรรมการดำเนินการสภาองค์กรชุมชน จัดสัมนา “สภาองค์กรชุมชนกับการ ปฏิรูปประเทศไทย” โดย นายสน รูปสูง รองประธานสภาพัฒนาการเมือง(สพม.) กล่าวว่าวิกฤติประเทศเกิดจาก 1.สถาบันการเมืองการปกครองอ่อนแอแตกแยกทำ ให้สังคมเข้าสู่อนาธิปไตยเผาบ้านเผาเมือง เพื่อแย่งยึดอำนาจทางการเมืองในชนชั้นปกครอง 2.นักการเมืองหรือเจ้า หน้าที่รัฐ ใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินโดยมิชอบเกิดคอรัปชั่นอย่างหนา แน่น 3.ทิศทางนโยบายการพัฒนาประเทศผิดพลาดเอื้อประโยชน์คนรวยและ ละทิ้งคนจน 4.การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มองเพียงจีดีพีประเทศทำให้ราย ได้กระจุกตัวที่คนรวยมีเพียง 20% ขณะที่ฐานราก 80% ตกอยู่ในภาวะทรง ทรุด ยากจน
5.กติกาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไม่เป็นธรรม ผูกขาดกระจุกตัว เช่น กลุ่มทุนเพียง 20% ถือครองที่ดิน 80% ของประเทศ เฉลี่ย 1 คนต่อ 200 ไร่ ขณะที่คนจนถือครองเพียง 20% หรือแค่คนละไร่เศษ 6.การ บังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรมไม่เท่าเทียมและไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ ชาวบ้านจึงมองว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือจับกุมคนจนเท่านั้น 7.ข้า ราชการหรือนักการเมืองยังสืบทอดวิธีคิดแบบเจ้าขุนมูลนายหรือยึดติดกับชน ชั้นทั้งที่ภาพปัญหาของสังคมปรากฏชัดว่าแก้ไขไม่ได้ด้วยระบบนี้ 8.การให้ บริการของรัฐหรือระบบสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม ไม่ทั่วถึงไม่เท่าเทียม
“ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง เกิดเป็นความน้อยเนื้อต่ำใจที่ชาวบ้านเก็บกดจนปะทุขึ้น ส่วนพรรคการเมืองเป็นเพียงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ดังนั้นการปฏิรูปต้องคิดให้มากทำให้เร็วที่สุด โดยเริ่มจากเรื่องเฉพาะหน้า เช่น ปัญหาที่ดิน หนี้สินที่เริ่มทำได้ตั้งแต่วันนี้” นายสน กล่าว
รองประธาน สพม. กล่าวต่อไปว่า เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สภาองค์กรชุมชนที่แท้จริง(ร่างแรก) ระบุไว้ชัดคือการปฏิรูปการเมืองโดยเพิ่มอำนาจให้ประชาชนทั้งการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และการปฏิบัติ ซึ่งขณะนี้องค์กรชุมชนที่ดำเนินการจัดตั้งเป็นสภาฯ มี 2,000 กว่าตำบลจาก 7,967 ตำบลทั่วประเทศ แต่ต้องยอมรับว่าสภาฯ ที่ขยับตามเจตนารมณ์จริงของ พ.ร.บ.ยังมีอยู่น้อย ที่ไม่เดินหน้าก็มีอีกมาก
“ผมเชื่อว่าประชาธิปไตยชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนเป็นการเมืองแบบสมานฉันท์ที่ สามารถทำได้ และไม่เชื่อว่าการที่หมู่บ้านหนึ่งซึ่งมีเสื้อเหลืองและเสื้อแดงจะเดินไป พร้อมกันไม่ได้ ขบวนการนี้เป็นเหมือนการเปิดไฟให้สังคมไทยสว่างทั่วประเทศ ไม่มีมุมมืดให้ใครเข้าไปซุกซ่อนสิ่งสกปรก เพราะมันคือต้นทางธรรมาภิบาลที่สามารถปราบนักการเมืองหรือกลุ่มทุนที่คดโกง ได้” นายสน กล่าว
นายพรมมา สุวรรณศรี ประธานคณะกรรมการดำเนินการสภาองค์กรชุมชน กล่าวถึงการทำงานของสภาองค์กรชุมชนว่ายังไม่เป็นเอกภาพ ทั้งที่โครงสร้างองค์กรมีฐานระดับตำบลซึ่งเกี่ยวข้องกับมวลชนส่วนมากของ ประเทศ โดยเฉพาะมิติการเมืองยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจน คงต้องวิเคราะห์จุดแข็งจุดด้อยหาจุดร่วมเพื่อให้ทิศทางของสภาองค์กรชุมชนมี บทบาทในการปฏิรูปประเทศเพื่อประโยชน์สังคมอย่างแท้จริง
นายมะลิ ทองคำปลิว สภาองค์กรชุมชนภาคเหนือ ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิรูปโดยภาคประชาชนท่ามกลางวิกฤติความขัดแย้งที่ลุกลามไปยังคนทุกกลุ่ม ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง เพราะกระแสปฏิรูปที่เกิดขึ้นอาจเป็นเครื่องมือให้กลุ่มทุนหรือรัฐแฝงตัวเข้า ครอบงำ และหากสภาฯไม่สามารถควบคุมกันเองได้ จะกลายเป็นเหมือนหนูที่เข้ากับดัก
นายพิพัฒนาชัย พิมพ์หิน ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน กล่าวว่า แนวทางที่สภาองค์กรชุมชนจะทำได้เพื่อต่อยอดให้เกิดการปฏิรูปท่ามกลางซากปรัก หักพัง ซากศพคนจนและประชาธิปไตยที่อาบด้วยเลือด ต้องไม่เป็นเพียงวาทกรรมที่จะสร้างหลุมดำให้สังคมแล้วเอื้อให้ผู้มีอำนาจ เข้ามามีบทบาทและส่งต่อวงจรความเสื่อมแบบเดิมในสังคมอีก .