โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจการเมืองไทย ในสายตาเอสเอ็มอี โดยดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว มธบ.
โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจการเมืองไทย ในสายตาเอสเอ็มอี
โดยดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ประเด็นสำคัญ
- ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 13.2% ระบุว่า จะพบกับการขาดทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2557
- ผู้ประกอบการเกือบครึ่ง เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะดีขึ้น โดยจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 3.28%
- มีการทำตลาดโดยใช้ E-Marketing
- ด้านการทำธุรกิจในอาเซียน สิ่งที่ผู้ประกอบการยังไม่พร้อม ได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆ ในอาเซียน กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำธุรกิจในอาเซียน การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำตลาดในอาเซียน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การประเมินผลการทำงานของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจได้ 8.2 คะแนน ด้านการเมืองได้ 8.1 คะแนน ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ 7.0 คะแนน
ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 816 รายจาก 12 จังหวัด เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ผลการประกอบการ แผนการทำธุรกิจในปี 2558 และการประเมินผลการทำงานของรัฐบาล ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 6 พฤศจิกายน 2557
จากการสอบถามถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ผู้ประกอบการ 34.2% ระบุว่า ดีกว่าที่คาดไว้ 24.7% ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ และอีก 41.1% แย่กว่าที่คาดการณ์ไว้
สำหรับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 เทียบกับไตรมาสที่ 3 11.5% ระบุว่า ดีขึ้น 71.6% ใกล้เคียงกัน 10.2% แย่ลง และอีก 6.7% ไม่แน่ใจ ผลที่ได้สะท้อนให้เห็น มุมมองของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังไม่ได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อสอบถามถึงการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปี 2558 48.2% ระบุว่า ดีขึ้น 41.1% ใกล้เคียงกัน 2.8% แย่ลง และอีก 7.9% ไม่แน่ใจ เมื่อสอบถามกลุ่มที่ระบุว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพื่อให้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ประกอบการในกลุ่มนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 3.28%
ผลจากการให้ผู้ประกอบการประเมินผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก พบว่า โดยภาพรวมแล้ว 11.3% ระบุว่า จะมีกำไรเพิ่มขึ้น 41.0% กำไรใกล้เคียงกัน 34.5% กำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน และอีก 13.2% ระบุว่า ขาดทุน
โดยสัดส่วนผู้มีกำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม คิดเป็น 15.2% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ 2) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร คิดเป็น 12.0% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ และ 3) ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง คิดเป็น 10.0% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้
ที่น่าสังเกตก็คือ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกค้าส่งก็เป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนผู้ของผู้ประกอบการที่ขาดทุนสูงที่สุดเช่นกัน โดยคิดเป็น 15.0% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เท่ากันผู้ประกอบการที่ขาดทุนในภาคการท่องเที่ยวและโรงแรม
เมื่อสอบถามถึงแผนการใช้จ่ายในปี 2558 ในสามด้าน คือ ด้านการลงทุน ด้านการทำตลาด และด้านบุคลากร ได้ผลดังนี้
การลงทุน เรื่องที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ คิดเป็น 26.3% ของผู้ประกอบการทั้งหมด การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คิดเป็น 13.4% เครื่องมือเครื่องจักร คิดเป็น 10.2% และโดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการ 51.0% ยังไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนหรือคาดว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในปี 2558
การตลาด เรื่องที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการตลาดมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ E-Marketing คิดเป็น 49.8% ของผู้ประกอบการทั้งหมด การหาตลาดใหม่ในประเทศ คิดเป็น 35.6% การหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ คิดเป็น 25.5% และโดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการ 33.0% ยังไม่มีแผนการลงใช้จ่ายด้านการตลาดที่ชัดเจนหรือคาดว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในปี 2558
บุคลากร เรื่องที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ บุคลากรด้านบริการ คิดเป็น 49.8% ของผู้ประกอบการทั้งหมด ด้านการขนส่ง 18.8% ด้านการตลาด 12.3% และโดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการ 41.8% ยังไม่มีแผนการลงใช้จ่ายด้านบุคลากรที่ชัดเจนหรือคาดว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในปี 2558
จากการให้ผู้ประกอบการประเมินความพร้อมของธุรกิจของตนเองในการทำธุรกิจในประชาคมอาเซียน พบว่า ด้านที่มีความพร้อมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐานการผลิต เทคโนโลยีการผลิต ความสามารถของบุคลากรระดับบริหาร และความสามารถของบุคลากรระดับปฏิบัติการ
ด้านที่ยังไม่พร้อมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆ ในอาเซียน กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำธุรกิจในอาเซียน การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำตลาดในอาเซียน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนด้านที่ยังไม่ทราบแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไรที่มีสัดส่วนผู้ตอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ การจัดการความเสี่ยงจากการส่งออกนำเข้า แผนการทำตลาด การหาพันธมิตรในอาเซียน การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำตลาดในอาเซียน และการพัฒนาความสามารถของบุคลากรระดับบริหาร
เมื่อให้ผู้ประกอบการประเมินผลการทำงานของรัฐบาล 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการเมือง และ 3) ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ผลดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ ในภาพรวมได้ 8.2 คะแนน ด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความชัดเจนของนโยบาย 8.9 คะแนน การบริหารจัดการงบประมาณของรัฐ 8.6 คะแนน การสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ 8.5 คะแนน ส่วนได้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ การแก้ปัญหาคุณภาพของแรงงาน ได้ 7.1 คะแนน
ด้านการเมือง ในภาพรวมได้ 8.1 คะแนน ด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การสร้างความปรองดอง 8.9 คะแนน การรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม 8.4 คะแนน และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง 7.8 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ การสร้างจิตสำนึกในการเคารพกฎหมาย ได้ 7.5 คะแนน
ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมได้ 7.0 คะแนน ด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความปลอดภัยในชุมชน 7.9 คะแนน การส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว 7.5 คะแนน และการส่งเสริมคณะค่าความเป็นไทย 7.2 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษา ได้ 5.2 คะแนน
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้ให้ความเห็นจากผลการสำรวจครั้งนี้ว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ และหากประเมินจากแผนการใช้จ่ายในปีหน้า จะเห็นว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีแนวทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจน โดยจะเน้นการทำตลาดโดยใช้ E-Marketing เพื่อการหาลูกค้าทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับการให้บริการลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวล คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมในการทำธุรกิจในประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ ความพร้อมภาษา พันธมิตรในภูมิภาค แหล่งทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการส่งออกนำเข้า ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว
สำหรับการทำงานของรัฐบาล สิ่งที่เป็นความท้ายทายในปีหน้า คือ มีทั้งความท้าทายในระยะสั้น โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางการเมือง การดำเนินคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในช่วงก่อนหน้านี้ ความท้าทายในระยะยาวที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะปัญหาด้านการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของแรงงาน การจะรับมือกับความท้าทายนี้ได้ รัฐบาลจะต้องขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอย่างสมดุล และสามารถมองปัญหาได้อย่างเป็นองค์รวม
ประเด็นสำคัญ
Ø ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 13.2% ระบุว่า จะพบกับการขาดทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2557
Ø ผู้ประกอบการเกือบครึ่ง เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะดีขึ้น โดยจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 3.28%
Ø มีการทำตลาดโดยใช้ E-Marketing
Ø ด้านการทำธุรกิจในอาเซียน สิ่งที่ผู้ประกอบการยังไม่พร้อม ได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆ ในอาเซียน กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำธุรกิจในอาเซียน การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำตลาดในอาเซียน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
Ø การประเมินผลการทำงานของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจได้ 8.2 คะแนน ด้านการเมืองได้ 8.1 คะแนน ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ 7.0 คะแนน
ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 816 รายจาก 12 จังหวัด เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ผลการประกอบการ แผนการทำธุรกิจในปี 2558 และการประเมินผลการทำงานของรัฐบาล ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 6 พฤศจิกายน 2557
จากการสอบถามถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ผู้ประกอบการ 34.2% ระบุว่า ดีกว่าที่คาดไว้ 24.7% ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ และอีก 41.1% แย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 เทียบกับไตรมาสที่ 3 11.5% ระบุว่า ดีขึ้น 71.6% ใกล้เคียงกัน 10.2% แย่ลง และอีก 6.7% ไม่แน่ใจ ผลที่ได้สะท้อนให้เห็น มุมมองของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังไม่ได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อสอบถามถึงการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปี 2558 48.2% ระบุว่า ดีขึ้น 41.1% ใกล้เคียงกัน 2.8% แย่ลง และอีก 7.9% ไม่แน่ใจ เมื่อสอบถามกลุ่มที่ระบุว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพื่อให้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ประกอบการในกลุ่มนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 3.28%
ผลจากการให้ผู้ประกอบการประเมินผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก พบว่า โดยภาพรวมแล้ว 11.3% ระบุว่า จะมีกำไรเพิ่มขึ้น 41.0% กำไรใกล้เคียงกัน 34.5% กำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน และอีก 13.2% ระบุว่า ขาดทุน โดยสัดส่วนผู้มีกำไรเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม คิดเป็น 15.2% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ 2) ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร คิดเป็น 12.0% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ และ 3) ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง คิดเป็น 10.0% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ ที่น่าสังเกตก็คือ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกค้าส่งก็เป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนผู้ของผู้ประกอบการที่ขาดทุนสูงที่สุดเช่นกัน โดยคิดเป็น 15.0% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เท่ากันผู้ประกอบการที่ขาดทุนในภาคการท่องเที่ยวและโรงแรม
เมื่อสอบถามถึงแผนการใช้จ่ายในปี 2558 ในสามด้าน คือ ด้านการลงทุน ด้านการทำตลาด และด้านบุคลากร ได้ผลดังนี้
การลงทุน เรื่องที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ คิดเป็น 26.3% ของผู้ประกอบการทั้งหมด การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คิดเป็น 13.4% เครื่องมือเครื่องจักร คิดเป็น 10.2% และโดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการ 51.0% ยังไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนหรือคาดว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในปี 2558
การตลาด เรื่องที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการตลาดมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ E-Marketing คิดเป็น 49.8% ของผู้ประกอบการทั้งหมด การหาตลาดใหม่ในประเทศ คิดเป็น 35.6% การหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ คิดเป็น 25.5% และโดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการ 33.0% ยังไม่มีแผนการลงใช้จ่ายด้านการตลาดที่ชัดเจนหรือคาดว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในปี 2558
บุคลากร เรื่องที่มีสัดส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ บุคลากรด้านบริการ คิดเป็น 49.8% ของผู้ประกอบการทั้งหมด ด้านการขนส่ง 18.8% ด้านการตลาด 12.3% และโดยภาพรวมแล้วผู้ประกอบการ 41.8% ยังไม่มีแผนการลงใช้จ่ายด้านบุคลากรที่ชัดเจนหรือคาดว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในปี 2558
จากการให้ผู้ประกอบการประเมินความพร้อมของธุรกิจของตนเองในการทำธุรกิจในประชาคมอาเซียน พบว่า ด้านที่มีความพร้อมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาตรฐานการผลิต เทคโนโลยีการผลิต ความสามารถของบุคลากรระดับบริหาร และความสามารถของบุคลากรระดับปฏิบัติการ
ด้านที่ยังไม่พร้อมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆ ในอาเซียน กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำธุรกิจในอาเซียน การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำตลาดในอาเซียน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนด้านที่ยังไม่ทราบแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไรที่มีสัดส่วนผู้ตอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ การจัดการความเสี่ยงจากการส่งออกนำเข้า แผนการทำตลาด การหาพันธมิตรในอาเซียน การเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการทำตลาดในอาเซียน และการพัฒนาความสามารถของบุคลากรระดับบริหาร
เมื่อให้ผู้ประกอบการประเมินผลการทำงานของรัฐบาล 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการเมือง และ 3) ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ผลดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ ในภาพรวมได้ 8.2 คะแนน ด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความชัดเจนของนโยบาย 8.9 คะแนน การบริหารจัดการงบประมาณของรัฐ 8.6 คะแนน การสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ 8.5 คะแนน ส่วนได้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ การแก้ปัญหาคุณภาพของแรงงาน ได้ 7.1 คะแนน
ด้านการเมือง ในภาพรวมได้ 8.1 คะแนน ด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การสร้างความปรองดอง 8.9 คะแนน การรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม 8.4 คะแนน และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง 7.8 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ การสร้างจิตสำนึกในการเคารพกฎหมาย ได้ 7.5 คะแนน
ด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมได้ 7.0 คะแนน ด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ความปลอดภัยในชุมชน 7.9 คะแนน การส่งเสริมคุณค่าของครอบครัว 7.5 คะแนน และการส่งเสริมคณะค่าความเป็นไทย 7.2 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษา ได้ 5.2 คะแนน
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้ให้ความเห็นจากผลการสำรวจครั้งนี้ว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้ และหากประเมินจากแผนการใช้จ่ายในปีหน้า จะเห็นว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีแนวทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจน โดยจะเน้นการทำตลาดโดยใช้ E-Marketing เพื่อการหาลูกค้าทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับการให้บริการลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวล คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความพร้อมในการทำธุรกิจในประชาคมอาเซียนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ ความพร้อมภาษา พันธมิตรในภูมิภาค แหล่งทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการส่งออกนำเข้า ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องแก้ไขโดยเร็ว
สำหรับการทำงานของรัฐบาล สิ่งที่เป็นความท้ายทายในปีหน้า คือ มีทั้งความท้าทายในระยะสั้น โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางการเมือง การดำเนินคดีความที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในช่วงก่อนหน้านี้ ความท้าทายในระยะยาวที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะปัญหาด้านการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของแรงงาน การจะรับมือกับความท้าทายนี้ได้ รัฐบาลจะต้องขับเคลื่อนการแก้ปัญหาอย่างสมดุล และสามารถมองปัญหาได้อย่างเป็นองค์รวม
-
file download