กรอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมาธิการ 18 คณะ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ”
เปิดกรอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมาธิการ 18 คณะ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” ให้รายงานสภาความคืบหน้าทราบทุกหนึ่งเดือน
เมื่อวันที่ 4 พ.ย.47 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ประกอบด้วย
หมวด 1 การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา
หมวด 2 อํานาจและหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และเลขาธิการ
หมวด 3 การประชุม ส่วนที่ 1 วิธีการประชุม ส่วนที่ 2 การเสนอญัตติ ส่วนที่ 3 การอภิปราย ส่วนที่ 4 การลงมติ
หมวด 4 กรรมาธิการ
หมวด 5 การจัดทําร่างพระราชบัญญัติ
หมวด 6 การจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 การพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
หมวด 7 การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย
หมวด 8 บทสุดท้าย และ บทเฉพาะกาล
สำนักข่าวอิศรา นำสาระสำคัญ ในหมวด 4 (ข้อ 79-100) ว่าด้วย การตั้งคณะกรรมาธิการมาเสนอดังนี้
ข้อ 80 ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาสิบแปดคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจํานวน ไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเจ็ดคน และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจํานวนหนึ่งในสี่ของ กรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจาก รายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก โดยมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการเมืองให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(2) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ด้านการบริหารราชการแผ่นดินให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(3) คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(4) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการปกครอง ท้องถิ่นให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(5) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(6) คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(7) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและการบริการมีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและการบริการให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่
สภามอบหมาย
(8) คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านพลังงาน ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(9) คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านระบบ สาธารณสุขให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(10) คณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(11) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ด้านการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่ สภามอบหมาย
(12) คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและ ผู้ด้อยโอกาส มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่น ตามที่สภามอบหมาย
(13) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการแรงงานให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(14) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(15) คณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูป ด้านค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนาให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่น ตามที่สภามอบหมาย
(16) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการกีฬา ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย
(17) คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภา มอบหมาย
(18) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอํานาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย หากมีความจําเป็นสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาเพิ่มขึ้นหรือลดจํานวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อใดก็ได้
สมาชิกคนหนึ่งจะดํารงตําแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาได้ไม่เกินสองคณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดํารงตําแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญประจําสภา ให้ดํารงตําแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจําสภา ได้หนึ่งคณะ สําหรับสมาชิกผู้ดํารงตําแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาจะดํารงตําแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาอื่นอีกมิได้ ผู้ซึ่งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจดํารงตําแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาได้ไม่เกินหนึ่งคณะ แต่จะเป็นผู้ดํารงตําแหน่งใด ๆ ในคณะกรรมาธิการคณะนั้นมิได้
เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจําสภาจะดําเนินการศึกษาและเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจําสภารายงานให้สภาทราบ และให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบทุกหนึ่งเดือน