รู้จักศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำพิพากษาในคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดา ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและภริยา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ตัดสินให้จำคุก พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากได้ทำผิดพระราชบัญญัติ ปปช. มาตรา 100 เป็นอีกหนึ่งผลงานของ ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(1) {audio}images/Media/pnune1.mp3{/audio}
(2) {audio}images/Media/pnune2.mp3{/audio}
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้มีองค์กรอิสระหลายหน่วยงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆและตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ฝ่ายการเมืองและผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารบ้านเมือง โดยมุ่งเน้นความเป็นอิสระขององค์กรเพื่อให้ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหรืออิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มการเมืองใดๆ
นอกจากนี้ยังออกแบบองค์กรให้เหมาะสมกับภารกิจและหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. คณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปช. ศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึง ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกฯ รมต. สส. สว. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ และข้าราชการการเมืองตั้งแต่ระดับชาติจนถึงการเมืองท้องถิ่น
ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีความเหมือนหรือแตกต่างจากกระบวนการพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมทั่วไปอย่างไร
ติดตามจากรายงาน