'ยิ่งลักษณ์'ลุยบางระกำโมเดล ยันแก่งเสือเต้นไม่อยู่ในแผน
นายกฯลุยแผนบาง ระกำโมเดล ระบุแก่งเสือเต้นไม่อยู่ในแผน ย้ำวิธีการจะต้องดูการเชื่อม แม่น้ำยม และน่าน ไหลรวม จะทำแก้มลิงให้ชลประทานศึกษา
ที่ว่าการอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก-น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางตรวจโครงการบางระกำโมเดล เพื่อเป็นการตรวจความคืบหน้าของโครงการดังกล่าว อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาว ที่แม่น้ำยมเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่หลายจังหวัด ของลุ่มน้ำยมตั้งแต่ จ.สุโขทัย พิษณุโลกและพิจิตร โดยหลังจากนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงที่ว่าการอำเภอบางระกำ ได้มีคณะแม่บ้านของอำเภอบางระกำมายืนรอให้การต้อนรับกันจำนวนมาก หลังจากนั้นนายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้พานายกรัฐมนตรีดูผังแผนที่สภาพแม่น้ำยม พร้อมทั้งบรรยายสรุปให้แก่นายกรัฐมนตรี
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวในที่ประชุมว่า การเดินทางมาครั้งนี้ต้องการทราบความคืบหน้าของโครงการบางระกำโมเดล เพื่อจะได้เป็นต้นแบบของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งอยากให้หลายหน่วยงานทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้เกิดเป็นรูปธรรม
สำหรับบางระกำโมเดลเป็นรูปแบบการบูรณาการในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่าง เป็นระบบ หลังจากนี้ขอให้ทางจังหวัดพิษณุโลกนำวิธีการขยายไปยังระดับอำเภอ ก่อนขยายไปจังหวัดข้างเคียงและเป็นรูปแบบของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระดับ ประเทศ นอกจากนรี้ขอให้ทำแผนในสวนของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งควบคู่ไปด้วย
ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรที่นาข้าวถูกน้ำท่วม ที่ผ่านมาอาจต้องเสียเวลาในการตรวจสอบนาน 3 เดือน แต่เมื่อทางจังหวัดเห็นว่าความเสียหายเกิดขึ้นจริงแล้วให้รีบทำเรื่องเสนอขอ งบประมาณมาช่วยเหลือประชาชนทันที พร้อมกันนี้ขอให้ดูแลประชาชนที่เสียใจ เพราะนาข้าวถูกน้ำท่วม ให้ทีมแพทย์เข้าถึงโดยเฉพาะที่พิษณุโลกมีผู้เสี่ยงจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 29 ราย หรือกว่า 2.7%ของผู้ประสบปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ ภารกิจนายกรัฐมนตรีวันนี้ ช่วงเช้าก็หลังจากตรวจโครงการบางระกำโมเดล แล้ว ก็จะเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่แขก เกจิดังของจังหวัดพิษณุโลก หลังจากนั้นก็จะไปแจกถุงยังชีพให้แก่ประชาชนที่ประสบเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ อ.บางระกำ และ อ.พรหมพิรามต่อไป
การเดินทางมาติดตามบางระกำโมเดลครั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปกราบนมัสการพระครูมงคลสุธี หรือ หลวงปู่แขก ที่วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เกจิอาจารย์แห่งเมืองสองแคว เพื่อขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเลือกตั้งนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ เคยไปกราบนมัสการครั้งหนึ่งแล้ว โดยในครั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้นำพวงมาลัยถวายหลวงปู่แขก จากนั้นหลวงก็มอบพวงมาลัยให้ด้วยการโยนเข้าศีรษะนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าเลย ทำให้นายกรัฐมนตรียิบมาคล้องคอได้
หลังจากนั้นหลวงปู่แขกได้มอบรูปปั้นนกยูงทอง ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมกับแนะนำการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ อ.บางระกำ ด้วยการสร้างแม่น้ำเทียม คือการขุดคลองให้ลึก 6 เมตร เพื่อเป็นสถานที่กักเก็บน้ำได้ ป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ไปทำการศึกษา ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นจะยึดรูปแบบบางระกำโมเดล เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหลายจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี
ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี ว่า หลักการ 2 อาร์ 2 พี แตกต่างจากที่ทำอย่างไรไปแล้ว นายกรัฐมนตรีตอบว่า ตามโมเดลต้นแบบ เพื่อให้รวมศูนย์ตัดสินใจรวมศูนย์ เชื่อมโยงในพื้นที่บางระกำ ไปส่วนกลาง แก้ปัญหาคาดหวังว่าจะแก้ปัญหารวดเร็วขึ้น งานที่ทำอย่างไร บางกระกำ ตั้งศูนย์เพื่อร้องเรียน เพื่อไปส่วนกลาง ให้การช่วยเหลือ และส่วนในเยียวยา เป็นอย่างรวดเร็ว ทั้งเกษตรกรรม และการป้องกันระยะ ทางผู้ว่าฯ เสนอ เรื่องน้ำ อย่างถาวร จะนำเรื่องไปบูรณาการในภาพรวมเพื่อวางแผน จากนั้นจะทำระบบรายงาน รายงานเข้าสู่ส่วนกลาง และขยายผลไปส่วนอื่น
นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า บางระกำโมเดล จะต้องปรับปรุงไปเรื่อย แก้ไขปัญหา วิธีการ รวมศูนย์ และไม่ใช่คำตอบ แก้ไขปัญหา คือ การรวมศูนย์เพื่อแก้ไข ปัญหาภัยแล้ง ก็จะประยุค ส่วนพื้นที่เกษตร การเยี่ยวยา จะต้องรอน้ำลดก่อน ซึงให้เวลานาน ส่วนการทำแม่น้ำเทียม จะต้องให้กรมชลประทานอยู่ เพราะแก่งเสือเต้น ไม่อยู่ในแผน บางระกำโมเดล วิธีการจะต้องดูการเชื่อม แม่น้ำยม และน่าน ไหลรวมไปที่ใด จะทำแก้มลิง หรือไม่ จะต้องให้กรมชลประทานศึกษา
"อยากให้เร็วที่สุด เร่งทำเวิร์คช็อปเดือนหน้า แบ่งเป็นระยะสั้น กลาง ยาว จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทำทั้งระบบทั่วประทศ ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรที่นาข้าวถูกน้ำท่วม ที่ผ่านมาอาจต้องเสียเวลาในการตรวจสอบนาน 3 เดือน แต่เมื่อทางจังหวัดเห็นว่าความเสียหายเกิดขึ้นจริงแล้วให้รีบทำเรื่องเสนอขอ งบประมาณมาช่วยเหลือประชาชนทันที พร้อมกันนี้ขอให้ดูแลประชาชนที่เสียใจ เพราะนาข้าวถูกน้ำท่วมให้ทีมแพทย์เข้าถึงโดยเฉพาะที่พิษณุโลกมีผู้เสี่ยงจาก การฆ่าตัวตายสูงถึง 29 ราย หรือ กว่า 2.7%ของผู้ประสบปัญหาดังกล่าว"น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
นายปรีชา เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก กล่าวว่า จากสภาวะฝนตกหนักดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเสียหายของพืชผลการเกษตรเป็น จำนวนมาก โดยจังหวัดพิษณุโลกมีอำเภอที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ ซึ่งเป็นอำเภอที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอบางระกำจะถูกน้ำท่วมขังเกือบทั้งปี สำหรับความเสียหายที่เกิดจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2554 ณ ปัจจุบัน จังหวัดพิษณุโลกได้รับผลกระทบจากความเสียหายทั้ง 9 อำเภอ 80 ตำบล 652 หมู่บ้าน โดยมีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 33,722 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 321,001 ไร่
สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้นขณะนี้ (25 ส.ค.) จังหวัดพิษณุโลกได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 411,560 บาท พืชและการเกษตรอื่นๆ 3,367,353 บาท ปศุสัตว์ 14,320 บาท ประมง 1,666,385 บาท ด้านการป้องกันและบรรเทา สารธรณภัย 126,398,869 บาท และด้านการปฏิบัติการให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีก 313,185 บาท รวมใช้งบประมาณในการให้ ความช่วยเหลือในเบื้องต้น เป็นเงินจำนวน 132,171,612 .