แนะ 8 แนวทางปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพเอื้อสังคมผู้สูงวัย
ผอ.สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพหวั่นปัญหาระบบประกันสุขภาพไม่เอื้อสังคมสูงอายุ เหตุประชาชนเข้าถึงบริการน้อย ด้านผจก.แผนงานสร้างและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบและกลไกสังคมผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย เสนอทบทวนระบบดูแล 8 ข้อ
นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กล่าวถึงกรณีภาคประชาชนเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบสุขภาพทั้งระบบ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในระบบสุขภาพไทย โดยเฉพาะในมิติการเข้าถึงกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของผู้สูงอายุนั้น เพราะคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี2567และเป็น“สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ. 2573 ดังนั้นประเทศไทยจะต้องมีความพร้อมด้านการส่งเสริมระบบสุขภาพมากกว่าที่เป็นอยู่
“สิ่งที่น่าวิตกจากข้อมูลงานทบทวนสถานการณ์การเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของผู้สูงอายุในปี 2557 พบว่าถึงแม้ว่าประชาชนไทยเกือบ 99 % จะได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักประกันสุขภาพระบบใดระบบหนึ่ง แต่จากการประเมินการรับบริการเฉพาะในส่วนบริการสุขภาพตามระบบหลักประกัน สุขภาพที่ผู้สูงอายุควรได้รับกลับได้รับบริการในสัดส่วนน้อยกว่าที่ควร”
นพ.พินิจ กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนคือในรอบ 1 ปี ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 56.7% บริการทันตกรรม 8.7% ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประมาณ 12.8 % ได้รับการตรวจไขมันในเลือดไม่เกิน 40% ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ 3.7% และได้รับการเยี่ยมบ้าน 38.7 % จากข้อมูลยังพบว่าผู้สูงอายุในเขตเมืองเช่นกรุงเทพฯ ได้รับการเยี่ยมบ้านต่ำกว่าเขตต่างจังหวัด และผู้ดูแลที่มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่ออกจากบ้านไม่ได้มีเพียง 25.3 % สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าแม้ภารกิจการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจะมีหลายหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบในภารกิจที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.)
“ แต่ภาพการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ออกมากลับต่ำนั่นบ่งบอกว่าเรายังไม่มีการบูรณาการระบบต่างๆ เข้าด้วยกันเท่าที่ควร ทำให้ในอนาคตระบบการพัฒนาคุณภาพสถานบริการทุกระดับให้ดีขึ้นบนการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วย พัฒนาการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในวิกฤติประชากรสังคมผู้สูงวัยที่ประเทศไทยกำลังเผชิญต่อจากนี้”
ด้านพญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการแผนงานสร้างและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบและกลไกสังคมผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่า หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ค่อนข้างจะ มีรูปแบบการดูแลที่ครบวงจรทั้งในส่วนของกิจกรรม จำนวนบุคลากรสหวิชาชีพที่เหมาะสม ส่วนหน่วยบริการอื่นๆยังไม่มีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในลักษณะของการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งลักษณะการได้รับบริการยังขึ้นอยู่ กับความสามารถในการจ่ายของผู้ใช้บริการซึ่งเราจะต้องนำมาพิจารณาดังนี้
1.การร่วมจ่ายค่าบริการยังคง มีอยู่ แม้ในหน่วยบริการของรัฐเพื่อการได้รับบริการที่สะดวกสบายกว่า สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการจ่าย ในขณะที่สิ่งที่น่าสนใจคือในสถานบริการของเอกชนที่มีเรื่องของการจ่ายเข้ามา เกี่ยวข้อง แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางกลุ่มที่ไม่สามารถมีจ่ายแต่ได้รับการดูแลในมาตรฐาน เดียวกัน
2.งบประมาณดำเนินการมีความสำคัญและส่งผลต่อความสามารถในการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กรหลายแห่งที่สามารถขับเคลื่อนได้ดีเนื่องจากความ ยืดหยุ่นของการใช้งบประมาณ
3.กิจกรรมทางสังคมมีความชัดเจนในสถานบริการของรัฐ เนื่องจากการมีโครงสร้างบุคลากรที่ปฏิบัติเกี่ยวข้องและมีความชำนาญในเนื้องาน
4.ปัญหา การละเลยการดูแล/การให้คำแนะนำหน่วยบริการเอกชนในการดูแลผู้สูงอายุ และการประสานความร่วมมือการให้โอกาสในการร่วมเรียนรู้กับกิจกรรมโครงการที่ รัฐจัด
5.การเรียนรู้การปรับบริการจากประสบการณ์ตรงในการดูแลผู้ใช้บริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ
6. การทำงานเชิงรุกมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดภาวะการณ์พึ่งพิงสถาบันของผู้สูงอายุ
7.การ กำหนดเงื่อนไขการเข้าใช้บริการในสถานบริการของรัฐส่วนหนึ่งกลายเป็นการผลัก ให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไข ไม่สามารถเข้าสู่สถานบริการได้ ต้องย้ายตนเองไปอยู่ในสถานพยาบาลเอกชน แม้ไม่มีความสามารถในการจ่ายและยังส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการดูแลทางสังคม ที่ไม่ดีนัก
8.การให้เครือข่ายทางสังคมร่วมเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุใน มิติต่างๆ สนับสนุนการสร้างอาสาสมัครในการทำงานชุมชนในการดูแลเป็นการเพิ่มความ สามารถให้ชุมชนและลดภาระงานของบุคลากรในสถานบริการซึ่งเป็นการใช้วัฒนธรรม ทางสังคมและองค์กรในพื้นที่ในการร่วมเรียนรู้และตระหนักในความสำคัญของผู้ สูงอายุ