เปิดกรุ "นักกฎหมาย" ตัวเลือก"เนติบริกร"คสช. ร่างธรรมนูญฉบับชั่วคราว!
"..คำถามที่น่าสนใจในขณะนี้ คือ ประเทศไทย มีนักกฎหมายชั้นครู ที่เหมาะสมสำหรับภารกิจร่างธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว ฉบับ คสช. กี่คน.."
"เรื่องนี้ทีมโฆษกยังไม่ได้รับข้อมูล ทั้งนี้ทีมโฆษกจะสามารถเสนอได้แต่ข้อมูลที่ชัดเจน เพราะข้อแตกต่างระหว่างระบบงานของ คสช. กับระบบเดิมแตกต่างกัน คือต้องนำเสนอข้อมูลที่ปฏิบัติแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้เป็นงานในอนาคตที่ต้องมานำเสนอต่อไป"
นี่คือคำยืนยันจากทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ตอบคำถามสื่อมวลชน ถึงกระแสข่าว จากสื่อหลายสำนัก ที่คาดว่า คสช. จะแต่งตั้ง ให้นายวิษณุ เครืองาม เป็นหัวหน้าทีมกฎหมายร่างธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว
ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ในท้ายที่สุดแล้ว คสช. จะเลือกใช้งาน นายวิษณุ เจ้าของสมญา "เนติบริกร" ผู้มากด้วยฝีมือรายนี้หรือไม่
คำถามที่น่าสนใจ ในขณะนี้ คือ ประเทศไทย มีนักกฎหมายชั้นครู ที่เหมาะสมสำหรับภารกิจร่างธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว ฉบับ คสช. กี่คน
เบื่องต้น สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้ตรวจสอบรายชื่อ นักกฎหมาย ที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานที่คอยให้คำปรึกษาข้อกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานราชการต่างๆ
พบว่า ปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 106 คน ประกอบ ด้วยคณะกรรมการ 12 คณะ ดังนี้
คณะที่ 1 กฎหมายเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
มีนาย มีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน
กรรมการในคณะนี้ ประกอบด้วย คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันท์, นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์, นายอาษา เมฆสวรรค์, นางอารีย์ วงศ์อารยะ, พลตำรวจเอก ดรุณ โสตถิพันธุ์, นายปรีชา วัชราภัย, นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ, นายประสพสุข บุญเดช
คณะที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน
กรรมการในคณะนี้ ประกอบด้วยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, นายวิลาศ สิงหวิสัย, พลเอก ประพาฬ กุลพิจิตร, นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์, คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์, นายสีมา สีมานันท์, นายอัชพร จารุจินดา, นางโฉมศรี อารยะศิริ
คณะที่ 3 กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน
นายปลั่ง มีจุล เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายโกวิทย์ โปษยานนท์, นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล, หม่อมราชวงศ์ จตุมงคล โสณกุล, นายพรชัย นุชสุวรรณ, นายประสงค์ วินัยแพทย์, นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
คณะที่ 4 กฎหมายเกี่ยวกับการคมนาคม
นายอมร จันทรสมบูรณ์ เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายสมยศ เชื้อไทย, นายเพ็ง เพ็งนิติ, นายกมลชัย รัตนสกาววงศ์, นายวันชัย ศารทูลทัต, พลเรือเอก ชลินทร์ สาครสินธุ์, พลอากาศเอก อมร แนวมาลี, นายปิยะพันธุ์ จัมปาสุต, นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
คณะที่ 5 กฎหมายเกี่ยวกับการค้าและอุตสาหกรรม
นายวัฒนา รัตนวิจิตร เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายมนู เลี่ยวไพโรจน์, นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายสงขลา วิชัยขัทคะ, นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์, นายเกริก วณิกกุล
คณะที่ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการค้าต่างประเทศ และทรัพย์สินทางปัญญา
นายอรุณ ภานุพงศ์ เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นางสาวสุคนธ์ กาญจนาลัย, นายพิชัยศักดิ์ หรยางกูร, นายสุเทพ เจตนาการณ์กุล,
นายการุณ กิตติสถาพร, นายพชร ยุติธรรมดำรง, นายสบโชค สุขารมณ์, นายชุมพร ปัจจุสานนท์
ทั้งนี้ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ที่ถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกฯ มีรายชื่ออยู่ในกรรมการชุดนี้ด้วย
คณะที่ 7 กฎหมายเกี่ยวกับ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน
นายสรรเสริญ ไกรจิตติ เป็นประธานกรรมการ
กรรมการรายอื่น ประกอบด้วย นายเคียง บุญเพิ่ม, นายศิริ เกวลินสฤษดิ์, นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, นายจเร อำนวยวัฒนา, นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา, นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ, นายอำพน กิตติอำพน, นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล
คณะที่ 8 กฎหมายเกี่ยวกับ การศึกษา การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา
นายเกษม สุวรรณกุล เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายทักษพล เจียมวิจิตร, นายธงทอง จันทรางศุ, นายนรนิติ เศรษฐบุตร, นายสุรินทร์ นาควิเชียร, นายบุญปลูก ชายเกตุ, คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นายสุรพล นิติไกรพจน์
นางกาญนารัตน์ ลีวิโรจน์
คณะที่ 9 กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม
นายไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ, นายนพนิธิ สุริยะ, นางสาวพวงเพชร สารคุณ, นางสุดาศิริ วศวงศ์, นายสุนทร มณีสวัสดิ์, พลตำรวจเอก บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ, นายนคร ศิลปอาชา, นายนิพนธ์ ฮะกีมี
คณะที่ 10 กฎหมายเกี่ยวกับ การสาธารณสุข
นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายวิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์, นายวิฑูรย์ อึ้งประพันธ์,นายสุประดิษฐ์ หุตะสิงห์, นายสมชาย พงษธา, นางจริยา เจียมวิจิตร, พลเอก พิชิต ยูวะนิยม, นายสมคิด เลิศไพฑูรย์, นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์
คณะที่ 11 กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ทางแพ่งและทางอาญา
นายโสภณ รัตนากร เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายคณิต ณ นคร, นายเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, นายดิเรก สุนทรเกตุ, พลตำรวจเอก สุพาสน์ จีระพันธุ, นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม, พลเอก อัฏฐพร เจริญพานิช, นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ, นายไพโรจน์ วายุภาพ
คณะที่ 12 กฎหมายเกี่ยวกับการคลัง
นายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย นายบดี จุณณานนท์, นางพรทิพย์ จาละ, นายสมชัย ฤชุพันธ์, นายปัญญา ถนอมรอด,นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์, นายธานิศ เกศวพิทักษ์, นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล, นายเข็มชัย ชุติวงศ์
จากรายชื่อกรรมการกฤษฎีกาทั้ง 106 คนนี้ มีนักกฎหมายชื่อดังของไทย รวมถึงข้าราชการและกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นที่รู้จักจากหลากหลายขั้วการเมือง
อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีต ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550, นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, นายมนู เลี่ยวไพโรจน์ ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน), อดีตประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), อดีต อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
นายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ กรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) , นายธงทอง จันทรางสุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี , นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, , คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,นายสมคิด เลิศไพฑูรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานที่ประชุมอธิการบดี และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 รวมถึงนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูก คสช. เรียกรายงานตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดได้โทรศัพท์ติดต่อไปยัง นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย และหนึ่งในกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 11 ว่าทราบถึงความคืบหน้าใดๆ ในกรณีที่นายวิษณุ จะเป็นหัวหน้าร่างธรรมนูญปกครองฉบับชั่วคราวหรือไม่
นายคณิต กล่าวว่ายังไม่ทราบรายละเอียดใดๆ ส่วนในฐานะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายนั้น หากสภาผู้แทนราษฎรส่งมาให้พิจารณา ทาง คปก. ก็จะนำเสนอความเห็นต่อร่างกฎหมาย นั้นๆ
“แต่ปัญหาตอนนี้คือ ไม่มีสภาฯ แล้ว และก็ยังไม่มีร่างกฎหมายใดๆ ส่งมาถึงเรา” นายคณิต กล่าวในฐานะประธาน คปก.
ทั้งนี้ คือ รายชื่อนักกฎหมายชั้นครู ที่ประจำการอยู่ที่ "คณะกรรมการกฤษฎีกา"
ส่วน "คสช."จะเลือกใช้บริการ จาก "นิติบริกร" รายไหน เพื่อมาทำภารกิจสำคัญในการร่างธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวครั้งนี้
คำตอบจะถูกเฉลย ในเร็ววันนี้