วัดใจบิ๊ก คสช.ทลายขุมทรัพย์หมื่นล้าน บ.อุตสาหกรรมการบิน
"...บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด แหล่งรายได้ของคนในกองทัพอากาศ อาจเป็นภารกิจท้าทายคณะรักษาความสงบ (คสช.) หากต้องการตรวจสอบความโปร่งใสในการใช้งบประมาณจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ..."
การจัดซื้อจัดจ้างในกองทัพอากาศ ผ่านบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญากับกองทัพกว่า 1.5 หมื่นล้าน เป็นวาระที่ท้าทาย คสช. หากมีเจตนำนงในการตรวจสอบความโปร่งใสการใช้งบประมาณของภาครัฐอย่างตรงไปตรงมา
บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด แหล่งรายได้ของคนในกองทัพอากาศ อาจเป็นภารกิจท้าทายคณะรักษาความสงบ (คสช.) หากต้องการตรวจสอบความโปร่งใสในการใช้งบประมาณจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ ตามเจตจำนงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. คำกล่าวเมื่อวันที่ 30 พ.ค.เวลา 21.41 น.ถึงเหตุผลในการทำรัฐประหาร
“ ….สำหรับเหตุผลที่ คสช. เข้ามาบริหารราชการในครั้งนี้นั้น สืบเนื่องมาจากความแยกแยกทางความคิดทางการเมืองของประชาชนที่หยั่งรากลึก ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งผิด ทั้งถูก การชุมนุมประท้วงที่ยาวนาน ตลอดจนเหตุการณ์ความรุนแรง มีการใช้อาวุธสงคราม รวมทั้งมีการทุจริต ทำผิดกฎหมาย เป็นผลให้ประชาชนไม่มีความสุข และไม่ปลอดภัย รัฐบาลรักษาการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายปกติได้..”
นอกจากนี้ พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ เพื่อเป็นช่องทางตรวจสอบความถูกต้องความโปร่งใสต่อการดำเนินงานและโครงการต่างๆ และเพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณ โดยมุ่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างในกองทัพอากาศนั้นพบว่า บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด เป็นคู่สัญญารับจ้างซ่อมอากาศยานและอุปกรณ์เกี่ยวกับอากาศยาน จำหน่ายอุปกรณ์อากาศยาน ในปี 2546 - 2556 จำนวน 411 ครั้ง วงเงิน 15,401,333,721 บาท ในจำนวนนี้เป็นหน่วยงานในกองทัพอากาศ(กรมอิเล็คทรอนิกส์ทหารอากาศ และกรมช่างทหารอากาศ) 388 ครั้ง วงเงินรวม 13,959,565,936 บาท กองทัพบก โดย กรมการขนส่งทหารบก1 ครั้ง 998,890,000 บาท รวม 389 ครั้ง วงเงิน 14,958,455,936 บาท ที่เหลือเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานราชการอื่น
ทั้งนี้ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 รายคือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม50.99% และ กองทุนสวัสดิการกองทัพอากาศ โดยพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง48.99% จดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า วันที่ 31 ตุลาคม 2546 ทุนเริ่มแรก 1 ล้านบาท 30 มี.ค.47 เพิ่มเป็น 100 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 171 อาคารหมายเลข ถนนพหลโยธิน แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้งพล.ร.อ. อิทธิคมน์ ภมรสูตนายวรเดช หาญประเสริฐนายวันชัย ผโลทัยถเกิงนายปฏิมา จีระแพทย์นายวิฑูรย์ สิมะโชคดีนายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร เป็นกรรมการ
แจ้งผลประกอบการปี 2555 รายได้ 4,126,903,469 บาท กำไรสุทธิ 208,801,233 บาท สินทรัพย์ 3,525,983,735 บาท หนี้สิน 2,362,968,908 บาท กำไรสะสม 1,137,264,827 บาท
เทียบปี 2554 มีรายได้ 2,304,663,773 บาท กำไรสุทธิ 173,195,132 บาท
ก่อนหน้านี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า กองทุนสวัสดิการกองทัพอากาศ ไม่ได้มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐ จึงเกิดคำถามถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่?
เรื่องนี้เกี่ยวพันกับภารกิจของกองทัพในการเป็นอุตสาหกรรมการบิน ต้องคอยดูว่า คสช.จะคลายข้อสงสัยอย่างไร?
ผลประกอบการ 5 ปี บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด
ปี |
รายได้ (บาท) |
กำไรสุทธิ (บาท) |
สินทรัพย์ (บาท) |
2555 |
4,126,903,469 |
208,801,233 |
3,525,983,735 |
2554 |
2,304,663,773 |
173,195,132 |
2,352,285,460 |
2553 |
2,260,605,562 |
128,734,447 |
2,167,266,015 |
2552 |
2,406,720,337 |
68,541,483 |
2,355,353,978 |
2551 |
2,116,493,620 |
144,324,572 |
2,938,677,412 |
ที่มา:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ศูนย์ข่าวสืบสวนสำนักข่าวอิศรา รวบรวม
อ่านประกอบ : ล้วงลึก“บ.อุตสาหกรรมการบิน”ขุมทรัพย์กองทัพอากาศฟันเละหมื่นล.