นักสังเกตการณ์อากาศท้องถิ่นแห่งศูนย์ภูมิอากาศชุมชน
ดิน ฟ้าอากาศ...กลายเป็นผู้กำหนดให้เกษตรกร ชาวประมง ผู้พึงพาสภาพอากาศจะต้องผันตัวเองมาเป็นผู้สังเกตการณ์อากาศ เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมกับสภาพอากาศที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในอนาคตหากเกษตรกร ชาวประมงไม่ปรับตัวตามสภาพอากาศที่ปรวนแปรได้ นั่นก็อาจจะนำไปสู่การล่มสลายของกระบวนการทำเกษตรกรรมหรือการทำประมงแบบดั้งเดิม
วันนี้ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน หรือแม้กระทั่งชาวประมงที่ดำรงชีวิตด้วยสภาพอากาศจำเป็นที่จะต้องยอมรับสภาพ ที่ไม่อาจฝืนหรือรั้นที่จะเหมือนเดิม เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจเอาชนะ แต่ทำได้แค่รับมือและปรับตัว ปรับวิถีการดำรงชีพแบบใหม่ เพื่ออยู่รอดและปลอดภัย
บทบาทใหม่ของชุมชนกับการรับมือสภาพอากาศแปรปรวนกำลังจะกลายเป็นเรื่องใหม่มากใน การเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้ามองดินฟ้าอากาศเพื่อการคาดการณ์สภาพอากาศอากาศ ที่จะเกิดขึ้น ...ในเมื่อทุกวันนี้การผลิตทางการเกษตรกรรมต้องเสียหายจากการไม่เท่าทันกับ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ฤดูกาลที่ผันผวน และชาวประมงผู้หาอาหารในทะเลไม่สามารถออกเรือตามช่วงเวลาเดิมที่เคยเป็น และในขณะเดียวกันภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือองค์ความรู้ดั้งเดิมจากการประสบการณ์ ในอดีตไม่อาจที่จะใช้ในการคาดการณ์สภาพอากาศได้ดีเช่นดังเดิม นี่คือปัญหาใหม่ที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากเราไม่สามารถประเมินลักษณะอากาศได้
บริบทใหม่ของชุมชนจะกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจขึ้นมาทันที หากการเตรียมรับมือเช่นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ต่อสภาพอากาศที่กลายเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชุมชนมีความสำคัญเพราะคือผู้ที่เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เมื่อชุมชนอยู่ในสถานะเช่นนี้ หากชุมชนจะกลายเป็นศูนย์รายงานความเปลี่ยนแปลงของอากาศในแต่ละพื้นที่ก็น่า จะดีที่สุด เนื่องจากลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์นั้นแตกต่างกัน หากมีการรายงานและรวบรวมจากจุดย่อยๆในหลายชุมชนนำไปสู่การประเมินในภาพรวมก็ น่าจะเป็นการคาดการณ์ที่ดูจะดีที่สุด และหากเป็นเช่นนั้นได้ก็จะทำให้กระบวนการรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่นนี้ย่อมนำไปสู่ทางออกที่ดีขึ้น
ชุมชน คือกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมและลงตัวในฐานะนักสังเกตการณ์ที่จะทำหน้าที่ บันทึกเรื่องราวในแต่ละวัน เมื่อการจดบันทึกเหล่านั้นจะนำไปสู่การคาดการณ์อนาคตได้โดยการผนวกไป กับการประเมินในรูปแบบวิธีการใหม่ ซึ่ง การจดบันทึกอากาศจะกลายเป็นความรู้ใหม่และจะเป็นข้อมูลสำคัญในการรายงานสภาพ อากาศ โดยทุกรายละเอียดจะถูกนำไปวิธีการประเมินด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วยสูตรการ คิดบนฐานทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้นเมื่อทุกอย่างลงตัวในรูปแบบทางความคิดและวิธีการแล้วจะนำไปสู่การสร้างศูนย์ภูมิอากาศชุมชน เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศแปรปรวน
จากแนวคิดในการสร้างศูนย์ภูมิอากาศชุมชนก็ล้วนสืบเนื่องมาจากเกษตรกร ชาวประมง ผู้อาศัยดินฟ้าอากาศในการดำเนินชีวิตต้องตกอยู่ในความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่ แปรปรวนที่มีความเสี่ยงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างการรับรู้หรือความสามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในพื้นที่ก่อนที่จะทำการเพาะ ปลูกและการออกเรือ เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรและชาวประมงจะสามารถวางแผนการผลิตให้เหมาะสมและลด ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
แม้ว่ากรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหน่วยงานที่ให้รายงานข้อมูลคาดการณ์หรือพยากรณ์ ลักษณะอากาศรายวันในแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงการคาดการณ์ถึงความแปรปรวนที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงต่างๆ และสามารถระบุถึงพื้นที่เสี่ยงภัยได้ แต่ข้อมูลที่มีอยู่นั้นยังไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงความแม่นยำสำหรับการวางแผนเพื่อการเพาะปลูกได้ เนื่องด้วยสถานีตรวจวัดอากาศที่มีอยู่เพียงจังหวัดละ 1-2 แห่งเท่านั้น ซึ่งลักษณะสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันได้มาก ดังนั้นข้อมูลที่มีอยู่จากสถานตรวจวัดที่มีเพียงไม่กี่แห่งในแต่ละจังหวัด จึงไม่เพียงพอและเหมาะสำหรับเป็นข้อมูลที่จะนำไปใช้วางแผนการผลิตของเกษตรกร ได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์พยากรณ์หรือศูนย์ภูมิอากาศชุมชนจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากขึ้นภายใต้ สภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในพื้นที่ระดับชุมชนจะทำให้การคาดการณ์มีความ แม่นยำและให้รายละเอียดได้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเพาะปลูกของเกษตรในพื้นที่ และลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศได้
ที่มาของการจัดตั้งโครงการศูนย์ภูมิอากาศระดับชุมชน เพื่อนำความรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบครบวงจรจากส่วนกลางเข้าสู่ ชุมชน โดยจะเป็นการบูรณาการข้อมูลด้านอุทกศาสตร์และธรณีวิทยาในพื้นที่เข้าด้วยกัน เพื่อให้ชุมชนสามารถวางแผนทำการเกษตร การประมงได้ง่ายขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติต่างๆ โดยจะมีการบูรณาการข้อมูลจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ข้อมูลสภาพอากาศจากภายนอก (จากกรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานระดับต่างๆ) เช่น การ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากสถานีตรวจอากาศขนาดเล็กและสถานีตรวจ อากาศมาตรฐานในแต่ละพื้นที่เพื่อศึกษารูปแบบความแปรปรวนและความสัมพันธ์กับ ลักษณะอากาศในภาพรวมเชิงเวลาและเชิงพื้นที่
2.องค์ความรู้ของคนในพื้นที่ โดการรวบรวมและสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะอากาศและภูมิอากาศท้องถิ่นที่ มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางการเกษตรจากภูมิปัญญาของแต่ละชุมชน
3.การรับมือกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยี โดยมีเวทีชุมชนเพื่อรวบรวมความต้องการเกี่ยวกับการพยากรณ์และการคาดการณ์ ลักษณะอากาศและภูมิอากาศท้องถิ่น เงื่อนไข โอกาส และข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจจะมีในแต่ละชุมชน และจะนำมาซึ่งการพัฒนาแบบจำลองระดับท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่โดยมีการผนวก ข้อมูลระดับท้องถิ่นกับผลแบบจำลองภูมิอากาศระดับประเทศและระดับภูมิภาคที่ เหมาะสม และถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝึกอบรมและแก้ปัญหาด้านเทคนิคให้กับชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ในแต่ละพื้นที่
นี่คือแนวทางที่เกิดขึ้นโดยจะมีพื้นที่จังหวัดนำร่องที่จังหวัดยโสธรและเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการแนวคิดเช่นนี้ดูจะไม่ยากเย็นนัก เพียงสร้างแนวคิดในการสังเกตการณ์ ในวิธีการจดบันทึกที่ใส่ใจรายละเอียด เพียงเท่านี้เราก็คงจะสร้างความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า ...ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจะเป็นเช่นไรในอนาคตอันใกล้และการเตรียมการ และวางแผนการดำรงชีวิตของชุมชนก็จะง่ายมากขึ้นในการรับมือกับสภาพอากาศที่ เปลี่ยนไป
นี่อาจจะเป็นมิติใหม่ของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการที่ทำการศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เริ่มทำงาน เชื่อมโยงกับท้องถิ่น ชุมชน ผู้คน ที่ต่างความรู้กันคนละแนวให้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทร่วมกันที่น่าสนใจ อันนี้ต้องรอดูและติดตามสิ่งที่จะเกิดขึ้น...ที่มิอาจใช่แค่การทดลองชั่ว ครั้งชั่วคราว เชื่อว่าอนาคตวิธีการเช่นนี้จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นได้จริงในกระบวนการ รับมือและการปรับตัวของสภาพอากาศที่ไม่เหมือนเดิม .
***โครงการศูนย์ภูมิอากาศชุมชน เป็นโครงการความร่วมมือของศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (CCKM) ร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป(EU), ออกแฟม(Oxfam), มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (Earth Net Foundation)
ภาพจาก : southasia.oneworld.net
ข้อมูลจาก : ศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (CCKM) และ เกษตรยั่งยืน ความหวังสร้างโลกเย็น (พลิกวิกฤตโลกร้อน ด้วยวิถีเกษตรกรรมที่ยั่งยืน) 2553.