เปิดชื่อ 36 ส.ว.ถูกเชือด-ใครรอดคมดาบ ป.ป.ช.ปมแก้ที่มาวุฒิสภา
เปิดชื่อ ส.ว. ใครรอด –ใครถูก ป.ป.ช.เชือด คดีแก้รัฐธรรมนููญ "ที่มาวุฒิสภา"โดยมิชอบ ถูกถอดถอน
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2557 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ส.ว. 36 รายเนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในประเด็นเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจากทั้งหมด 50 ราย
(อ่านประกอบ : “ป.ป.ช.” มีมติเชือด “ส.ว.” 36 ราย ปมแก้ที่มาวุฒิสภา)
ใครรอด ใครถูกเชือด ?
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. “ฉบับเต็ม” ในกรณีดังกล่าวมานำเสนอ ดังนี้
263.นายประสงค์ ตันมณีวัฒนา
270.พล.ต.ท.สมยศ ดีมาก
288.นายมานพน้อย วานิช
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (263) (270) และ (288) รวม 3 ราย ซึ่งได้ร่วมลงลายมือชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา แต่มิได้พิจารณาและลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ และวาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา และวาระที่ 3
คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ลำพังเพียงการร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยที่ยังมิได้พิจารณาในวาระต่าง ๆ ยังฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เห็นควรให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไป
306.นางภารดี จงสุขธนามณี
308.พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (306) และ (308) รวม 2 ราย ซึ่งได้ร่วมลงลายมือชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และมิได้พิจารณาและลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ และวาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา แต่ได้ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในวาระที่ 3
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเสียงข้างมากเห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เห็นควรให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไป
261.นายประสิทธิ์ โพธสุธน
262.นายสมชาติ พรรณพัฒน์
264.พล.ต.ต.องอาจ สุวรรณสิงห์
265.นายดิเรก ถึงฝั่ง
266.นายประวัติ ทองสมบูรณ์
267.นายกฤช อาทิตย์แก้ว
269.พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์
274.นายภิญโญ สายนุ้ย
276.นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์
277.นายสุเมธ ศรีพงษ์
278.พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์
279.นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล
280.นายพีระ มานะทัศน์
286.นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล
292.นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง
294.นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล
296.นายรักพงษ์ ณ อุบล
297.นายบวรศักดิ์ คณาเสน
298.นายจตุรงค์ ธีระกนก
303.นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง
304.นายยุทธนา ยุพฤทธิ์
309.นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร
3. การกระทำของผ็ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (261 – 262) (264 – 267) (269) (274) (276 – 280) (286) (292) (294) (296 – 298) (303 – 304) และ (309) รวม 22 คน ที่ได้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งต่อมาได้พิจารณารับหลักการในวาระที่ 1 และลงมติในวาระที่ 2 โดยเฉพาะมาตรา 6 และลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3
คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการทั้งหมดดังกล่าวถือว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง
268.นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธุ์
273.นายโสภณ ศรีมาเหล็ก
275.นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ
281.พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ
282.นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์
285.พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์
287.ผศ.วรวิทย์ บารู
290.นายสุโข วุฑฒิโชติ
295.นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง
299.นายสุริยา ปัจอร์
301.นายถนอม ส่งเสริม
302.นายบุญส่ง โควาวิสารัช
307.นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (268) (273) (275) (281 – 282) (285) (287) (290) (295) (299) (301 – 302) และ (307) รวม 13 ราย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเสียงข้างมากเห็นว่าการกระทำของผ้ถูกกล่าวหาที่ได้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และได้พิจารณาและลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ และลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 โดยมิได้พิจารณาลงมติเห็นชอบในวาระที่ 2 โดยเฉพาะมาตรา 6 ก็ถือว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหา มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง
271.นายสุพจน์ เลียดประถม
272.พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์
283.พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์
284.นางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา
289.นายบรรชา พงศ์อายุกูล
291.นายธันว์ ออสุวรรณ
293.นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ
300.นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย
305.นายศุภวัฒน์ เทียนถาวร
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (271 – 272) (283 – 284) (289) (291) (293) (300) และ (305) รวม 9 ราย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเสียงข้างมากเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และได้พิจารณาและได้ลงมติเพียงเฉพาะในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ แต่มิได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 2 โดยเฉพาะในมาตรา 6 นั้นและมิได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 พฤติการณ์ยังฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เห็นควรให้ข้อกล่าวหาประเด็นนี้เป็นอันตกไป
310.นายวิทยา อินาลา
ผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (310) จำนวน 1 ราย ซึ่งได้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และได้พิจารณาและลงมติในวาระที่ 2 โดยเฉพาะมาตรา 6 แต่มิได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 เห็นว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบในมาตรา 6 ถือว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง แล้ว แม้ต่อมาจะมิได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 ก็มิได้เป็นเหตุให้การกระทำดังกล่าวไม่มีมูลความผิดแต่อย่างใด
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง
สำหรับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (261 – 310) ซึ่งได้ร่วมลงลายมือชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 11 และมาตรา 11/1 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่ถือว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เห็นควรให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไป
โดยที่ข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหา ลำดับที่ (261 – 310) ดังกล่าว เป็นข้อกล่าวหาที่ประธานวุฒิสภาส่งมาเป็นเรื่องสำคัญและได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นแล้ว จึงให้แยกทำรายงานเฉพาะข้อกล่าวหาดังกล่าวส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาก่อน ตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 และให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามมาตรา 273 และมาตรา 274 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
สำหรับในส่วนของการดำเนินคดีอาญาขณะนี้อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง”
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก aecnews