ตรวจรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.สามจังหวัดใต้ เปิดตัวสองพรรคน้องใหม่ชูจุดขาย"อิสลาม"
การรับสมัครผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีทั้งสิ้น 11 เขตเลือกตั้ง สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 ก.พ.2557 นั้น ไม่มีปัญหาการปิดล้อมขัดขวางการสมัครอย่างดุเดือดเหมือนภาคใต้ตอนกลางและตอนบน
บรรยากาศตึงเครียดมีแค่วันแรกที่ จ.ยะลา เท่านั้น เมื่อผู้ชุมนุมเครือข่ายคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้รวมตัวไปปิดล้อมทางเข้า-ออกศาลากลางจังหวัดยะลาซึ่งเป็นสถานที่รับสมัคร แต่ก็เพียงแค่วันเดียว และในวันแรกก็ไม่มีผู้สมัครรายใดเดินทางไปสมัคร เข้าใจว่ารอดูท่าที
บรรยากาศที่ จ.ยะลา คล้ายกับที่ จ.นราธิวาส แต่ที่เมืองนราฯนั้น ผู้ชุมนุม กปปส.ไปปรากฏกายแค่คนเดียวในวันแรก
สรุปเปิดรับสมัคร 5 วัน คือระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.2556 ถึง 1 ม.ค.2557 ทุกเขตในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีผู้สมัครเกิน 1 คน เข้าข่ายมีการแข่งขันกันตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องลุ้นได้คะแนนเสียงเกิน 20% ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น
สรุปรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แต่ละจังหวัดได้ดังนี้ (ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ)
O จ.ปัตตานี มีผู้สมัครทั้งสิ้น 19 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1
1) นายอิสมาแอ อุเซ็ง พรรคมหาชน หมายเลข 51
2) นายมุข สุไลมาน พรรคเพื่อไทย หมายเลข 15
3) นายถวัลย์ศักดิ์ ประสิทธิ์นุ้ย พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
4) นายแวอุเซ็ง แวอาลี พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
เขตเลือกตั้งที่ 2
1) นายมูฮำมัดอารีฟีน จะปะกิยา พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข 14
2) นายอรุณ เบ็ญจลักษณ์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
3) นายมะแอ ดอเลาะ พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
4) นายหามะ ยูโซะ พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
5) นายมะยูตี โต๊ะเส็น พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า หมายเลข 25
6) นายมนูญ หมัดมูซา พรรคดำรงไทย หมายเลข 22
เขตเลือกตั้งที่ 3
1) นายอนุมัติ ซูสารอ พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข 14
2) นายนิมุคตาร์ วาบา พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
3) นายมะการิง สะรี พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
4)นายสาเละ หะยีสามะ พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
เขตเลือกตั้งที่ 4
1) นายรุสดี แวบือซา พรรคมหาชน หมายเลข 51
2) นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
3) นายอาหะมะ เวาะผา พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
4) นายมูหามัด หะยีหามะ พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
5) นายสะมะแอ ลาหิง พรรคเงินเดือนประชาชน หมายเลข 50
O จ.ยะลา มีผู้สมัครทั้งสิ้น 10 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1
1) นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี พรรคชาติพัฒนา หมายเลข1
2) นายนิรันดร์ วายา พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
3) นายธีรวัธน์ วุนาพันธ์ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 15
4) นายมะสือดี สะแลแม พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข24
เขตเลือกตั้งที่ 2
1) นายซูการ์โน มะทา พรรคเพื่อไทย หมายเลข15
2) นางวราภรณ์ กูเกลี๊ยะ พรรคดำรงไทย หมายเลข22
3) นายอดิศร อาลีลาเต๊ะ พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
เขตเลือกตั้งที่ 3
1) นายสมนึก หวันสมัน พรรคพลังสหกรณ์ หมายเลข 5
2) นายหะยีอับดุลเราะห์หมาน ติงอุเซ็ง พรรคเพื่อไทย หมายเลข 15
3) นายมะหาเล็ง ยูเปาะนา พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
O จ.นราธิวาส มีผู้สมัครทั้งสิ้น 22 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1
1) นายวัชระ ยาวอหะซัน พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข 14
2) นายมะนาแซ อาแด พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
3) นพ.แวมาฮาดี แวดาโอะ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
4) นายอภิชาติ แดมะยุ พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
เขตเลือกตั้งที่ 2
1) นายมะดาโอะ อาแซ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 15
2) นายวัชรินทร์ มะรอเซ๊ะ พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
3) นายสาแรดี ดือราแม พรรคพลังสหกรณ์ หมายเลข 5
4) นายซูไฮรี มามะ พรรคประชาธรรม หมายเลข 38
5) นายรอนิง อีซอ พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
6) นายภูวเดช เจ๊ฮูเซ็ง พรรคคนขอปลดหนี้ หมายเลข 32
เขตเลือกตั้งที่ 3
1) นายกูเฮง ยาวอหะซัน พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข 14
2) นายยูโซ๊ะ แวยูโซ๊ะ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
3) นายรอสุปี สะแอเต๊ะ พรรคประชาธิไตยใหม่ หมายเลข 24
4) นายมูหามะยูนัน ยูนุ๊ พรรคเงินเดือนประชาชน หมายเลข 50
เขตเลือกตั้งที่ 4
1) นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 15
2) นายโตโมนี ดารายีสาฮอ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6
3) นายสุกรี มะเต๊ะ พรรคพลังสหกรณ์ หมายเลข 5
4) นายไซดี เจะหามะ พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 24
5) นายอัมรัน เจ๊ะเลาะ พรรคคนขอปลดหนี้ หมายเลข 32
6) นางนิติมา นิเลาะ พรรคเสียงประชาชน หมายเลข 31
7) นายคลอมือลี บินสาและ พรรคดำรงไทย หมายเลข 2
8) นายกูสารธิต ตูแวรอนิง พรรคเพื่อแผ่นดิน หมายเลข 53
เปิดตัว 2 พรรคน้องใหม่ชูจุดขาย "อิสลาม"
สำหรับการรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ ที่เปิดสมัครไปก่อนหน้านั้น มีประเด็นน่าสนใจ คือ มีพรรคการเมืองน้องใหม่ 2 สองพรรค ซึ่งเป็นพรรคของคนมุสลิมจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปยื่นใบสมัคร และจับสลากหมายเลขด้วย
พรรคแรก คือ พรรคภราดรภาพ ได้หมายเลข 7
พรรคที่สอง คือ พรรคเพื่อสันติ ได้หมายเลข 9
สำหรับ พรรคภราดรภาพ มีคำขวัญประจำพรรคว่า "หลักชัยของการเมืองไทย คือ คุณธรรมนำการเมือง" อุดมการณ์ของพรรค คือ ความสุขของประชาชนและการอยู่ร่วมกันอย่างมีภราดรภาพบนพื้นฐานแห่งความหลากหลายของชาวไทย ต้องยึดหลักสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ คุณธรรม นิติธรรม เสรีภาพ เสมอภาค เอกภาพ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
พรรคภราดรภาพ ยื่นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 25 คน จากจำนวนเต็มบัญชี 125 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากในพื้นที่ชายแดนใต้ ภาคใต้ และกรุงเทพฯ อาทิ นายทวี ซันเฮม (กรุงเทพฯ) ดร.บุญญา หลีเหลด (สงขลา) นายอิบรอฮิม ยานยา (ยะลา) นายสมศักดิ์ มีชัย (กรุงเทพฯ) นายอนุมัติ ศาสนูปถัมภ์ (กรุงเทพฯ) นายวาลิด หะยียูโซะ (นราธิวาส) นายชาญวิทย์ หมาดโสะ (พัทลุง) นายอามีน มันยามีน (สตูล) นายมะเซาฟี สาและ (ปัตตานี) เป็นต้น
นโยบายของพรรคภราดรภาพเน้นคุณธรรม นักการเมืองของพรรคจะถูกควบคุมโดยสภาซูรอ มีสมาชิก25คน มาจากการแต่งตั้งโดยภาคประชาสังคม ผู้นำมีนาย ประเสริฐ อยู่เป็นสุข เป็นประธานสภาซูรอ การทำงานของนักการเมืองสังกัดพรรคภราดรภาพ ทุกอย่างต้องนำเข้าที่ประชุมสภาซูรอ เมื่อสภาซูรอเห็นชอบ ส.ส.ของพรรคจึงดำเนินนโยบายนั้นได้ สาเหตุที่ทำเช่นนี้เพื่อควบคุมพฤติกรรมนักการเมืองไม่ให้มีประเภทเสือ สิงห์ กระทิง แรด
ขณะที่ พรรคเพื่อสันติ มีนโยบายมุ่งส่งเสริมสิทธิมุสลิมขั้นพื้นฐาน เร่งคืนความสงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ จัดระเบียบสังคม ยกระดับการศึกษาของชาติ
พรรคเพื่อสันติ นิยามตัวเองในระบบการเมืองไทยว่า เป็นสถาบันทางการเมืองที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยสร้างบุคลากรทางการเมืองที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรมของอิสลาม
ทั้งนี้ พรรคเพื่อสันติเปิดตัวมาตั้งแต่เดือน ต.ค.2544 ในนาม "กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ" เพื่อแสดงจุดยืนเพื่อความถูกต้องในสังคม ประท้วงเหตุอธรรมทั่วโลก และเรียกร้องสิทธิอันพึงได้รับของมุสลิม ตลอดจนประชาชนชาวไทยทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจต่อพี่น้องมุสลิมและคนทั่วไปในเรื่องหลักการของศาสนาอิสลามเพื่อความสมานฉันท์ในสังคมอีกด้วย
พรรคเพื่อสันติทำกิจกรรมทางการเมืองมาโดยตลอด โดยส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับหลักการอิสลาม เช่น ตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิม (ฮิมายะห์) เพื่อให้การดูแลสิทธิของพี่น้องมุสลิมที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบริโภค และช่วยตรวจสอบสินค้าที่มีการละเมิด ปลอมปนแต่มีการรับรองฮาลาล นอกจากนั้นยังก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไวท์แชแนล เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอิสลามและรณรงค์ให้ทำความดีเพื่อสร้างสันติสุขในสังคมไทย เป็นต้น
พรรคเพื่อสันติ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อทั้งสิ้น 20 คน มี นายปราโมทย์ สมะดี เป็นหัวหน้าพรรค นายมูฮัมหมัดเฟาซี แยนา นายนภศูล รามบุตร และ นายวรุณ โมมิทร์ เป็นรองหัวหน้าพรรค และมี นายฮานีฟ หยงสตาร์ เป็นเลขาธิการพรรค
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองพรรคการเมืองไม่ได้ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับคะแนนเฉลี่ยที่ประชาชนเลือกพรรคการเมือง (เลือก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค) ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 อยู่ที่ 2.6 แสนคะแนน หากพรรคการเมืองใดได้คะแนนในแบบบัญชีรายชื่อ 2.6 แสนคะแนน ก็จะได้ ส.ส.1 คน เรียงตามลำดับที่ยื่นสมัครเอาไว้
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้เคยมีความพยายามตั้งพรรคการเมืองสู้ศึกเลือกตั้งในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยชูจุดขายความเป็นพรรคมลายูมุสลิมมาแล้ว คือ พรรคประชาธรรม ลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อปี 2554 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หนำซ้ำ นายมุคตาร์ กีละ หัวหน้าพรรคยังถูกยิงเสียชีวิตเมื่อ 15 ธ.ค.2554 ที่บ้านใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ด้วย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บรรยายภาพ :
1 บรรยากาศการรับสมัครผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตที่ จ.ยะลา คนกลางคือ นายซูการ์โน มะทา น้องชายของ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา สวมเสื้อพรรคเพื่อไทยลงสู้ศึกเลือกตั้งอีกสมัย
2-3 โลโก้พรรคภราดรภาพ และ พรรคเพื่อสันติ