เก็งคำตอบ "ศาล รธน." คดีที่มาวุฒิสภา จะมียุบพรรคอีกหรือไม่??
...บางคนในเพื่อไทยระบุไว้แล้วว่า หากศาลรัฐธรรมนูญล้มกระดานการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็จะท้าชนศาลรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบ..."
20 พฤศจิกายน 2556 คือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญ (ศาล รธน.) นัดฟังคำวินิจฉัยคำร้องเรื่อง “การแก้ไขรัฐธรรมนูญราย มาตราว่าด้วยเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา”
ความสำคัญของวันดังกล่าว ลำพังก็ได้รับการจับตามองทางการเมืองอย่างมากอยู่แล้ว เนื่องเพราะหากสุดท้ายศาล รธน.วินิจฉัยออกมาว่าการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว รวมถึงการให้ความเห็นชอบของที่ประชุมรัฐสภา ตั้งแต่วาระที่ 1 จนถึงวาระที่ 3 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ตามที่มีการยื่นคำร้องไป
นอกจากทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจ “แท้ง” ไม่มีผลบังคับใช้ แม้ต่อให้ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 แล้ว
จับตาวาระร้อน เดิมพัน "ยุบพรรค-ตัดสิทธิ 5 ปี"
ตัวผู้ถูกร้องคือ คือ “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” ประธานรัฐสภา “นิคม ไวยรัชพานิช” รองประธานรัฐสภา กับพวก ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาที่ส่วนใหญ่คือ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.สายเลือกตั้ง รวม 312 คน ที่ร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ก็ยังต้องต้องลุ้นกับผลคำวินิจฉัยที่จะออกมาด้วยว่าหากศาล รธน.เห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ก็อาจจะโดนพ่วงเอาผิด ”ยุบพรรค-ตัดสิทธิการเมืองห้าปี” ด้วยหรือไม่
และถึงต่อให้ในบรรดา 312 สมาชิกรัฐสภาที่ส่วนใหญ่ก็คือ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล จะมีหลายคนไม่ได้เป็นกรรมการบริหาร พรรค ที่อาจไม่โดนตัดสิทธิการเมืองห้าปีหากว่าโดนยุบพรรค แม้จะหาพรรคใหม่สังกัดได้ แต่ก็ต้องลุ้นว่า จะโดนดาบสองคือ ”ยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง” ตามมาหรือไม่ ที่หากว่ามีคนไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แล้วต่อมาหาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด พวกนี้ก็จะต้องหยุดพักการปฏิบัติหน้าที่ทันที
ด้วยเหตุข้างต้นทำให้หลายฝ่ายจับตามองกันว่า 20 พฤศจิกายน 2556 นี้ จะเป็นอีกวันหนึ่งที่การเมืองจะทวีความเข้มข้น-ร้อนแรง หากว่าศาล รธน.วินิจฉัยออกมาในทางไม่เป็นคุณกับผู้ถูกร้องที่ก็คือฝ่ายรัฐบาล เพื่อไทยในเวลานี้และพวก ส.ว.ที่ส่วนใหญ่ก็คือ ส.ว.สายเลือกตั้งปีกนิคม ไวยรัชพานิช นั่นเอง
แล้วยิ่ง เมื่อ ”สุเทพ เทือกสุบรรณ” แกนนำการชุมนุมเวทีถนนราชดำเนิน ออกมายกระดับการชุมนุมจากต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาเป็น ”โค่นล้มระบอบทักษิณ” โดยประกาศว่าการชุมนุมจะจบโดยฝ่ายตัวเองได้รับชัยชนะ ภายในไม่เกินวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 นี้
ก็เลยยิ่งทำให้ การอ่านคำวินิจฉัยของศาล รธน.ในเวลา 11.00 น. ของวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ยิ่งถูกจับตามองมากขึ้น ว่าที่ตัวสุเทพประกาศอย่างเชื่อมั่นดังกล่าว ก็เพราะเชื่อว่าคำวินิจฉัยของศาล รธน.จะออกมาในทางเป็นลบกับฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย โดยที่สุเทพไปรู้ข้อมูลอินไซด์อะไรลึกๆ เกี่ยวกับคดีนี้มาล่วงหน้าหรือไม่? นี้คือสิ่งที่ผู้คนกำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่…
เนื่องจากหากดูจากสภาพการเมืองปกติ แม้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมกับ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” รมว.มหาดไทยในเร็วๆนี้แต่ทว่าต่อให้ฝ่ายค้านมีข้อมูลแน่นหนา อภิปรายดีอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
ทุกคนจึงพูดกันเป็นเสียงเดียวเวลานี้ว่า “จุดเปลี่ยนสำคัญ” ที่จะทำให้การเมืองพลิกผันได้ก็มีแค่เรื่อง คำวินิจฉัยของศาล รธน.เท่านั้น !?!
ยิ่งความเชื่อของ ฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทยที่มองว่าองค์กรอิสระหลายแห่งที่ก็หมายรวมถึงตุลาการศาล รธน.บางคนในชุดปัจจุบัน อยู่ฝั่งตรงข้ามรัฐบาลเพื่อไทย จึงทำให้แกนนำรัฐบาล- .ส.เพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดง มีสกุลความคิดตรงกันว่าปัจจัยที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพความเป็นไปของรัฐบาลเพื่อไทยนับจากนี้ หาใช่การชุมนุมที่เวทีราชดำเนิน แต่เป็นคำวินิจฉัยของศาล รธน.
คำวินิจฉัยศาลรธน.ออกได้ 3 หน้า
ทั้งนี้ คำร้องคดีนี้มีการยื่นเข้าไปด้วยกันทั้งสิ้น 4 คำร้องคือคำร้องของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ 2 คนคือ “วิรัตน์ กัลยาศิริ-พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” กับคำร้องของ ส.ว.อีก 2 คนคือ “พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม-สาย กังคเวคิน” แต่เนื่องจากคำร้องทั้งหมดมีลักษณะเดียวกัน ศาล รธน.จึงได้รวมทั้ง 4 คำร้องไว้เป็นสำนวนเดียวกัน
และมีการเปิดห้องพิจารณาไต่สวนคดีไปเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา โดยมีบุคคลที่ถูกศาลเรียกไปชี้แจงรวมทั้งสิ้น 10 คน แม้จะมีผู้มาชี้แจงเพียง 7 คน แต่ศาลบอกว่าสามารถรับฟังได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องไต่สวนอีกต่อไป และนัดอ่านคำวินิจฉัยทันที
ส่วนที่ไม่มีฝ่ายผู้ถูกร้องไปชี้แจง เนื่องจากทั้งหมดได้เคยแถลงปฏิเสธอำนาจศาล รธน.ที่รับคำร้องคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ตอนรับคำร้องคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และ 237 ไปก่อนหน้านี้ ทำให้เมื่อศาล รธน.มีการไต่สวนคำร้อง ฝั่งผู้ถูกร้องจึงปฏิเสธที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีของศาล รธน.มาตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตาม แม้คำร้องทั้ง 4 คำร้องจะมีลักษณะเดียวกัน แต่เนื้อหารายละเอียดของท้ายคำร้องก็มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะใน 2 คำร้องสำคัญคือคำร้องของวิรัตน์และ พล.อ.สมเจตน์
เพราะคำร้องของวิรัตน์ แค่ต้องการให้ศาล รธน.เพิกถอนกระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การพิจารณาของรัฐสภาในวาระที่ 1 เป็นต้นมา ไม่มีเรื่องการขอให้ยุบพรรค แต่ในคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ มีข่าวว่าได้ขอให้ศาล รธน.วินิจฉัยเลยไปถึงการยุบพรรค-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ด้วย
จึงต้องดูว่า คำวินิจฉัยของศาล รธน.จะออกมาแบบไหน ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2556 นี้
บนการวิเคราะห์จากบางฝ่ายว่าทิศทางของคำวินิจฉัยที่จะออกมา น่าจะออกมาในทางใดทางหนึ่ง คือ
1.ยกคำร้อง
ที่ก็คือยกคำร้องทั้งหมด ศาลเห็นว่าประเด็นที่ผู้ร้องยื่นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไม่มีมูลอันมีผลทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาวาระ 3 ไปแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมใช้ต่อไป หลังก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา
2 คือวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามคำร้อง
ที่หากออกมาแนวทางนี้ มติของที่ประชุมตุลาการศาล รธน.ก็อาจออกมาได้หลายแนวทางเช่น
2.1 วินิจฉัยว่ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีการดำเนินการโดยไม่ชอบในบางกระบวนการตามที่ได้มีการระบุไว้ในคำร้องและใน ชั้นการไต่สวนของศาล รธน.
จึงทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ จึงสั่งเพิกถอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว แต่ไม่มีคำสั่งให้ยุบพรรคหรือตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง โดยจะมีการระบุในคำวินิจฉัยว่าสาเหตุที่มีคำวินิจฉัยดังกล่าว เนื่องด้วยเหตุผลใด
ที่อาจเป็นไปตามที่มีการร้อง และไต่สวนข้อเท็จจริงกันไว้ เช่น เพราะมีการเสียบบัตรแทนกันของสมาชิกรัฐสภาในห้องประชุม ตอนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 และ 3 ที่มีการขานชื่อเสียบบัตรในห้องประชุมหรือเพราะกระบวนการพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภาตอนพิจารณาร่างดังกล่าวไม่ได้พิจารณาเรียงตามวาระ มีการข้ามขั้นตอน อันทำให้สมาชิกรัฐสภาบางส่วนเสียสิทธิในการยื่นขอคำสงวนคำแปรญัตติ
หรืออาจเห็นว่าการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีปัญหาในเรื่องเอกสาร เพราะร่างที่ยื่นต่อประธานรัฐสภาในครั้งแรกกลับร่างที่มีการแจกจ่ายให้สมาชิกรัฐสภา เป็นเอกสารคนละชุดกัน อีกทั้งมีความแตกต่างกันในเนื้อหาสาระสำคัญ ที่ตามหลักจะต้องยึดร่างที่ยื่นต่อประธานรัฐสภาเป็นร่างหลักในการพิจารณา
ส่วนที่อาจ “ไม่ยุบพรรค-ไม่ตัดสิทธิการเมืองห้าปี” ก็อาจให้เหตุผลว่าเนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่จะดำเนินการได้โดยชอบ และเป็นเรื่องของ ส.ส.-ส.ว. ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง จึงไม่มีเหตุให้ต้องมีคำสั่งยุบพรรคและตัดสิทธิดังกเป็นคำวินิจฉัยแบบ ”ทะลุซอย” มากเกินไป
3.ทางอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ก็เป็นไปได้ที่ศาล รธน.อาจมีคำวินิจฉัยที่แตกต่างไปจากที่เก็งกันไว้ 3 แนวทางดังกล่าว คืออาจออกสูตรอื่นได้เช่นกัน
อาทิ วินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว บางขั้นตอนเช่น การลงมติมีปัญหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น มีการเสียบบัตรแทนกัน ก็ให้รัฐสภาไปจัดการแก้ไขกันใหม่ โดย�ล่าว
2.2 วินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวของรัฐสภาไม่ชอบ ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยจะระบุในคำวินิจฉัยว่าเพราะเหตุใดศาล รธน.จึงมีคำวินิจฉัยดังกล่าว และมีคำสั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิเลือกตั้งส.ส.ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการ เมืองที่ไปร่วมลงชื่อในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวหรือลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว
กระนั้นแนวทางข้อนี้ นักกฎหมายหลายสำนักก็ยังมองว่าไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะจะ��ห้เริ่มนับหนึ่งตั้งแต่ตอนนั้น แต่กระบวนการก่อนหน้านี้ ศาลอาจชี้ว่าไม่มีปัญหา แต่ก็พบว่าสูตรดังกล่าวนี้ หลายคนประเมินว่าน่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะหากกระบวนการใดกระบวนหนึ่งดำเนินการมาโดยไม่ชอบ ก็น่าจะส่งผลให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำมาทั้งหมด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางย่อมไม่ชอบไปด้วย
ขณะที่ก็มีข่าวอีกบางกระแส วิเคราะห์ไว้ว่า อาจออกมาในแนวทางว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูไม่ชอบ แล้วก็มีการเอาผิดกับ ส.ว.เลือกตั้ง ที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วยการลงมติในวาระที่ 1 จนถึงวาระที่ 3 เนื่องจากถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเพราะได้ประโยชน์จากการลงสมัคร ส.ว.ต่อจากเดิมที่ต้องเว้นวรรค อันเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 112 อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าว ว่ากันตามจริง ก็เป็นเรื่องที่ยากจะรู้ได้ว่า ส.ว.เลือกตั้งคนไหนจะลงสมัคร ส.ว.ต่ออีกหรือไม่ ส.ว.เลือกตั้งที่ลงคะแนนเสียงเห็นชอบในวาระต่างๆ บางคนก็อาจไม่ลงสมัครต่อก็ได้ จึงเป็นเรื่องของอนาคตที่ศาล รธน.ไม่อาจล่วงรู้ได้ หากออกมาแนวนี้ก็จะถูกมองว่า ศาล รธน.ไปตัดสินในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น
"รัฐบาล-เพื่อไทย-เสื้อแดง" จับตาผลพิพากษาใกล้ชิด
ด้านฝั่ง ”รัฐบาล-เพื่อไทย-เสื้อแดง-ส.ว.สายเลือกตั้ง” พบว่าเฝ้าจับตามองการอ่านคำวินิจฉัยของศาล รธน.นี้ค่อนข้างมาก แม้จะมีบางคนในฟากนี้วิเคราะห์ไว้ผ่านสื่อและในวงสนทนาการเมืองว่าคำวินิจฉัยหากออกมา ให้แรงสุดขั้วจริงๆ ก็แค่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่มีผล ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาทั้งหมด ไม่ถึงขั้นสั่งให้ “ยุบพรรค-ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค” แน่นอน แต่ก็เป็นแค่การคาดการ เพราะสุดท้ายก็ไม่มีใครเดาทางตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนได้ ว่าจะวินิจฉัยออกมาทางไหน
อย่างไรก็ตาม หลายคนในเพื่อไทย ก็ยังมองโลกในแง่ดีว่าสุดท้ายทุกอย่างน่าจะผ่านไปได้ด้วยดีเพราะเป็นการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ตามที่ศาล รธน.เคยแนะนำไว้ตอนเบรกมาตรา 291 ที่สำคัญเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ที่ให้สมาชิกรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาล รธน.จะมาก้าวก่ายใช้อำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ
แต่ก็มีบางคนในเพื่อไทยระบุไว้แล้วว่า หากศาล รธน.ล้มกระดานการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็จะท้าชนศาล รธน.ทุกรูปแบบ เช่น อาจมีการล่าชื่อส.ส.-ส.ว.และประชาชน ถอดถอนตุลาการศาล รธน.หรือแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาล รธน.ที่ลงมติล้มกระดาน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.
ส่วนที่ว่าผลคำวินิจฉัยของศาล รธน.จะทำให้การชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน จบก่อน 30 พฤศจิกายน 2556 บนคำประกาศชัยชนะของกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการขยายผลทางการเมือง หากว่าศาลไม่ยกคำร้อง–มีคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นคุณกับผู้ถูกร้อง
แต่ลำดับแรก ต้องลุ้นคำวินิจฉัยที่จะออกมาเสียก่อน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 นี้ คงได้รู้