ร่างสุดท้าย ! พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง-สุดซอย
เปิดเนื้อหาร่างสุดท้าย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง-สุดซอย ที่ กมธ.นิรโทษกรรม มีมติแก้ไขให้ครอบคลุมถึง "ทักษิณ-อภิสิทธิ์-สุเทพ" และเตรียมนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ต่อไป
เนื้อหาร่างสุดท้ายของ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม (กมธ.นิรโทษกรรม) มีมติด้วยเสียงข้างมากแก้ไขเนื้อหาจากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเดิม ให้ครอบคลุมถึงหลายฝ่าย รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทำให้มีเสียงคัดค้าน ทั้งจากญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ปี 2553 พรรคฝ่ายค้าน ฮิวแมนไรท์วอทช์ กระทั่งแกนนำคนเสื้อแดง
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2556 กมธ.นิรโทษกรรมได้นัดประชุมสรุป ก่อนจะเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ต่อไป
โดยร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้านล่าง คือร่างที่ กมธ.นิรโทษกรรม จะเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ
00000
ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....
.............................................................................................................
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือของประชาชน
.............................................................................................................
มาตรา 1 พ.ร.บ.นี้เรียกว่า “พ.ร.บ.ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ....”
มาตรา 2 พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้บรรดาการกระทำใดๆ ทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการชุมนุม การประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทำต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่อจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2547 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำในตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ขอประชาชนผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
มาตรา 4 เมื่อ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวนหรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้อง หรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดถ้าผู้นั้นในกรณีที่บุคคลใดอยู่ระหว่างการรับโทษ ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น ทั้งนี้ ให้ทุกองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อผู้กระทำตามมาตรา 3 ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัดต่อไป
มาตรา 5 การนิรโทษกรรมตาม พ.ร.บ.นี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้นอันเกี่ยวเนื่อกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง
มาตรา 6 การดำเนินการใดๆ ตาม พ.ร.บ.นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย
มาตรา 7 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
00000
หมายเหตุ - “ตัวอักษรสีเทา” คือถ้อยคำจากร่างนิรโทษฯ ฉบับเดิมที่ถูก กมธ.นิรโทษกรรมตัดออก ส่วน “ตัวอักษรสีดำ-ตัวหนา” คือถ้อยคำที่ กมธ.นิรโทษกรรมเติมเข้าไป
ภาพประกอบ - บรรยากาศการประชุม กมธ.จากเว็บไซต์ www.posttoday.com (แฟ้มภาพ)