แถลงการณ์ “กลุ่มรักษ์อโศก” ค้านกทม.สร้างทางยกระดับบนถนนอโศกมนตรี
เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา “กลุ่มรักษ์อโศก” ประกอบด้วยบุคคลผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบ อาชีพในพื้นที่ รวมเรียกว่าเป็นชุมชนชาวอโศกได้จัดให้มีการประชุมขึ้นที่สมาคมนามธารีสังคัต แห่งประเทศไทย (Namdhari Sangat of Thailand) ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21) ประชาชนในพื้นที่ จำนวนมากได้มาร่วมประชุมครั้งนี้ก็เพื่อรับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับโครงการ ทางยกระดับบนถนนอโศกมนตรี ซึ่งเป็นโครงการที่กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการ สำรวจออกแบบและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
บริษัทที่ปรึกษาฯ อ้างว่าได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนมาตั้งแต่กันยายนปี 2554 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนอโศกมนตรี เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ได้สำรวจให้กรุงเทพมหานคร พิจารณาภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2556 เพื่อเป็นการตัดสินใจว่าจะดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับดังกล่าว หรือไม่ ในทางเป็นจริงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นกระทำกันในกลุ่มเล็กๆ และมิใช่จากชุมชน ชาวอโศกอย่างกล่าวอ้าง อีกทั้งได้รับทราบในเวลากระชั้นชิดมาก
จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ล้วนคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
สำหรับข้อสรุปของ “กลุ่มรักษ์อโศก” ที่ไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านการก่อสร้างโครงการดังกล่าว ด้วยเหตุผลขั้นต้น ดังนี้
• การสร้างถนนยกระดับความยาวกว่า 4 กิโลเมตร เกี่ยวข้องกับผู้คนมากกว่าแสนคน ที่มีทั้งผู้อยู่อาศัย โรงเรียน มหาวิทยาลัย สำนักงาน โรงพยาบาล ศูนย์การค้า หน่วยงานทางวัฒนธรรม ศาสนสถาน ฯลฯ ยังไม่นับรวมถึงผู้คนที่ผ่านเข้าออก ในบริเวณอีกวันละหลายหมื่นคน
• เป็นการสร้างมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม
• เป็นการสร้างภูมิทัศน์ที่น่ารังเกียจต่อศูนย์กลางทางธุรกิจของประเทศ
• บริษัทที่ปรึกษาฯ ไม่สามารถอธิบายถึงการสร้างทางยกระดับว่า จะแก้ไขปัญหาจราจร ได้อย่างชัดเจน
• เป็นการล้าสมัยที่จะก่อสร้างสะพานยกระดับกลางเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร เพราะหากพิจารณาจากมหานครต่างๆ ในโลกเช่น มหานครลอนดอน นิวยอร์ค โตเกียว จะเห็นว่าประเทศต่างๆเหล่านี้แก้ไขปัญหาการจราจร โดยส่งเสริมสนับสนุนการขนส่งมวลชนอย่างเต็มที่
• บริษัทที่ปรึกษาฯ ควรคิดหาทางเลือกอื่นที่จะแก้ไขปัญหาจราจรในถนนอโศกมากกว่าที่จะยืนยันว่า มีความจำเป็นต้องสร้างทางยกระดับ โดยใช้งบประมาณมหาศาลเกือบ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการนำภาษีราษฏรมาใช้อย่างไม่คุ้มค่า
• รัฐไม่ควรส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถส่วนบุคคลมากเกินกว่าปริมาณถนนที่มีอยู่แต่ควรเร่งขยาย
ด้านการขนส่งสาธารณะมากกว่า
• ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นหากโครงการนี้หากเกิดขึ้นจริง เช่น ความถดถอยของราคา อสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวทางเวนคืนของโครงการ
• ไม่สามารถที่จะจ่ายค่าตอบแทนต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างยุติธรรม เมื่อพิจารณาจากโครงการ ต่างๆในอดีตที่ผ่านมา
• การพยายามสรุปว่าถนนอโศกเป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนและต้องทำให้จบนั้น เป็นการนำความคิดของการพัฒนาเมืองเมื่อ 50 ปีที่แล้วมาปัดฝุ่นสำหรับบ้านเมืองที่เปลี่ยน สภาพไปแล้ว
• ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทุกรัฐบาลในโลกเอาใจใส่และมุ่งแก้ไขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคน แต่จากการประเมินผลเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งทำการศึกษาโดยบริษัทที่ปรึกษาฯ กล่าวถึงช่วง เวลา 2 ปี ที่จะทำการก่อสร้างเท่านั้น ไม่ได้ศึกษาถึงความเสียหายหลังการก่อสร้างเสร็จซึ่งจะเป็น ปัญหาของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องไปตลอดกาล
• เป็นการบีบบังคับประชาชนให้ยอมรับในสิ่งที่ผู้ปกครองเป็นผู้กำหนด โดยขาดจริยธรรม และธรรมาภิบาล