FTA Watch เสนอกรมเจรฯ ปรับกรอบเจรจา TPP
สืบเนื่องจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยแพร่ร่างกรอบเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค หรือที่รู้จักกันว่า TPP (ทีพีพี) โดยเปิดให้ประชาชนเสนอความเห็นได้นั้น
นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุลล ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อชช์ กล่าวว่า ข้อห่วงกังวลของภาคประชาสังคมที่ติดตามการค้าเสรีอย่างใกล้ชิด เปิดเผยว่ามีข้อห่วงใยที่เสนอแก้ไขปรับปรุงกรอบการเจรจาดังกล่าวหลายประเด็น ได้แก่
(1) ในหมวดการค้าสินค้า ต้องยกเว้นสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ไม่ให้มาอยู่ในการเจรจา
(2) ข้อตกลงต้องไม่เกินไปกว่า ความตกลงขององค์การการค้าโลก ว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (ทริปส์) และต้องไม่ยอมรับความตกลงว่าด้วยการต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (แอคต้า) ที่มีเนื้อหาเรื่องมาตรการชายแดนและศุลกากร ที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถยึดจัสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งได้
และ (3) การระงับข้อพิพาท ระหว่างรัฐและเอกชน ต้องมีความยินยอมจากรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะกรณีทุกครั้งไป โดยการเจรจาต้องไม่มีผลให้นาข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านสาธารณสุข สาธารณูปโภคพื้นฐาน และความมั่นคง เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ
“การจะเข้าร่วมการเจรจาครั้งนี้ ต้องประเมินผลได้ ผลเสียให้ดี เพราะสิทธิพิเศษทางการภาษี (GSP) ที่จะได้รับนั่นอาจจะไม่มากพอที่ไทยต้องเข้าร่วมเจรจา เพราะไทยมีข้อตกลงการค้ากับประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นสมาชิกทีพีพีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุน เป็นต้น ดังนั้นหากการเข้าร่วมไม่ได้ประโยชน์จากการเจรจา มากเท่าที่ข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะส่งผลกระทบมหาศาล” ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อชช์ กล่าว
นางสาวกรรณิการ์ กล่าวต่อ หากยอมรับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่า ทริปส์ อาทิ การผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) แล้ว ตามความเห็นของ สานักงาน อย.ต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภา และงานวิจัยของสถาบันการศึกษาชั้นนาหลายแห่งระบุตรงกันว่าจะขัดขวางการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ (ซีแอล) มิให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ ดังนั้น หากประเทศไทยถูกผูกมัดด้วยบทบัญญัติทั้งการขยายอายุการคุ้มครองสิทธิบัตร และการผูกขาดการขึ้นทะเบียนยา จะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ภาครัฐอย่างรุนแรง ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทย
“การเอาประเด็นเรื่องการค้าการลงทุน กับการประเมินความคุ้มค่าในการที่ไทยทำความตกลงการค้าเสรีมาเป็นเงื่อนไขนั้น ต้องพิจารณาว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ผลประโยชน์จากการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี(GSP) ถาวรนั้นคือกลุ่ม ที่ส่งออกข้าวและไก่ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ น่าจะมีศักยภาพในการปรับตัวในการแข่งขันได้ดี ดังนั้นผลกระทบน่าจะไม่สูงดังที่มีการประเมินไว้”
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล ผู้ประสานงานฝ่ายการต่างประเทศ เอฟทีเอ ว็อชช์ กล่าวว่า นอกจากประเด็นข้อห่วงกังวลข้างต้นต่อร่างกรอบเจรจา ยังมีประเด็นเรื่องกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิกทีพีพีว่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ เนื่องจากไทยต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศเข้าร่วมการเจรจาก่อนหน้านี้ทั้ง 12 ประเทศก่อน จึงจะสามารถเข้าร่วมการเจรจาได้ ทั้งนี้ในระหว่างการเจรจาการเจรจากับทั้ง 12 ประเทศอาจมีการต่อรองแลกเปลี่ยนและตกลงกันในเรื่องต่างๆ ชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงจะสามารถเข้าสู่การเจรจาทีพีพีได้
“คำถามที่หนึ่ง คือ แท้จริงแล้ว กระบวนการตามมาตรา 190 ควรเริ่มตั้งแต่เมื่อไร ตั้งแต่การเจรจาเป็นรายประเทศก่อน หรือเมื่อเจรจากับทั้ง 12 ประเทศเสร็จแล้วและเริ่มเจรจาทีพีพี คำถามที่สอง คือ ควรจะต้องให้รัฐสภาเห็นชอบกับกรอบการเจรจารายประเทศกับทั้ง 12 ประเทศหรือไม่ และคำถามที่สาม คือ การรับฟังความคิดเห็นเพื่อที่จะยื่นเรื่องให้รัฐสภาเห็นชอบในลักษณะเช่นนี้ โดยที่ไม่ได้นาเรื่องการเจรจากับ 12 ประเทศก่อน ถือว่าขัดกับมาตรา 190 หรือไม่” นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว
ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อชช์ กล่าวต่อ ด้วยเงื่อนไขของความตกลงทีพีพี กำหนดให้ประเทศคู่เจรจาต้องรักษาเนื้อหาของความตกลงหรือการเจรจาเป็นความลับ ทั้งในขณะและหลังจากการเจรจาเสร็จสิ้น เงื่อนไขเช่นนี้ถือว่าขัดต่อหลักการและเจนต์จานงของมาตรา 190 ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและก่อให้เกิดธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ด้วยเงี่อนไขดังกล่าว ประชาชนจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเจรจาและความตกลงทีพีพีได้อย่างไร รวมถึงการที่รัฐสภาจะต้องพิจารณาและให้ความเห็นชอบด้วย
“อย่างไรก็ตาม การเปิดให้ประชาชนแสดคงความคิดเห็นต่อร่างกรอบเจรจาเป็นเรื่องที่ดี แต่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศต้องนำความคิดเห็นของภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียไปปรับปรุงร่างกรอบเจรจา ก่อนที่จะนำเข้าสู่สภาฯ อย่าเพียงแต่รับฟัง แต่ไม่ได้นำความเห็น และข้อกังวลต่างไปปรับปรุงกรอบเจรจา เช่นร่างกรอบเจรจาการค้าเสรี ระหว่างไทยกับยุโรปดังที่ผ่านมา” ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อชช์ ทิ้งท้าย
ผู้ที่สนใจรายละเอียดความคิดเห็นต่อร่างกรอบเจรจา สามารถติดตามได้ที่ www.ftawatch.org