เปิดบันทึก “สรรพากร” ชงข้อมูล “นาย” ซัด “กรมศุลฯ” เอี่ยว ก่อนคืนภาษีฉาว!
เปิดบันทึกกรมสรรพากรถึงผู้บริหาร เรียงขั้นตอนการส่งสินค้าออก กรมศุลกากรเกี่ยวข้องหน่วยงานต้นทาง ก่อนเกิดกรณีตั้งบริษัทคืนภาษีมูลค่า 4.2 พันล้าน
กรณีกลุ่มนายวีรยุทธ แซ่หลก กับพวกได้ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยอ้างว่าส่งออกแร่โลหะรวมมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทจากนั้นได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรกว่า 4.2 พันล้านถูกตั้งข้อเกตจากกรมสรรพากรว่าความเสียหายจำนวนดังกล่าวกรมศุลกากรมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
จากกรณีดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ส่วนตรวจคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตพ.) กรมสรรพากร โดยผู้อำนวยการ ส่วน ตพ. ได้ทำบันทึกที่ 0723/ตพ ถึงผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากร (ผอ.มก.) สรุปขั้นตอนการส่งออก พร้อมเอกสารประกอบหลายหน้ากระดาษ ในส่วนของส่งออกสินค้ามีขั้นตอน ดังนี้
1.ผู้ประกอบการลงทะเบียนแสดงเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยต้องแสดงเอกสารประการลงทะเบียนได้แก่
(1) แบบคำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร
(2) สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองนิติบุคคล ไม่เกิน 6 เดือน
(3) สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
(4) เลขที่บัญชีเงินฝาก ชื่อ ที่อยู่ สาขา และประเภทบัญชีของธนาคาร (BANK STATEMENT)
(5) สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประจำประชาชน
(6) เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติม เฉพาะกรณี เช่น
-กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนระบุเงื่อนไขการลงลายมือชื่อที่ต้องประทับตราสำคัญให้ยื่นสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองตราสำคัญของบริษัท (บอจ.3) หรือ ห้างหุ้นส่วน (หส.2)
-กรณีมีการมอบอำนาจให้ตัวแทนออกของเป็นผู้กระทำการแทนในการผ่านและดำเนินพิธีการศุลกากร ให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่ บัญชีรายชื่อตัวแทนออกของ (Customs Broker) ผู้รับมอบอำนาจ สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เป็นต้น
2.เมื่อผู้ประกอบการต้องการส่งออก จะต้องดำเนินการจองระวางเรือก่อน
3.เมื่อได้ระวางเรือแล้ว ผู้ประกอบการจะออก Invoice และบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าขาออกบนบนระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร เมื่อระบบตรวจสอบข้อมูลถูกต้องแล้ว จะออกเลขรหัสใบขนสินค้าขาออก นำใบขนสินค้าขาออกไปเสียภาษีอากร (ถ้ามี)
4.นำสินค้าไปบรรจุ และบันทึกใบกำกับสินค้าบนระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ด้วยต้นเอง หรือตัวแทนซึ่งได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร ณ สถานประกอบการ หรือ ณ เขตอารักขาของกรมศุลกากร
5.ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร จะตรวจสอบใบขนสินค้าขาออก กับ ใบกำกับสินค้าเมื่อนำสินค้ามายังสถานีรับบรรทุก เจ้าหน้าที่จะแจ้งสถานะแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งมี 2 สถานะ คือ
5.1 Green Line ยกเว้นการตรวจ กรณีนี้สินค้าจะถูกส่งไปบรรทุกลงเรือ เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ต้องผ่านการตรวจ
5.2 Red Line ให้สุ่มตรวจแบ่งเป็น 3 กรณี
(1) กรณีด่านที่มีเครื่องเอกซเรย์ ให้สุ่มไม่เกินร้อยละ 30 แต่ไม่เกิน 3 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อ 1 ใบขนสินค้า เมื่อเอกซเรย์มีข้อสงสัยให้เจ้าหน้าที่สามารถเปิดตู้เพื่อตรวจดูสินค้าได้ตามที่เห็นสมควร
(2) ด่านที่ไม่มีเครื่องเอกซเรย์ ให้สุ่มเปิดตรวจไม่เกินร้อยละ 30 แต่ไม่เกิน 3 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อ 1 ใบขนสินค้า หากพบความผิดปกติให้เจ้าหน้าที่สามารถเปิดตู้เพื่อตรวจดูสินค้าได้ตามที่เห็นสมควร
(3) กรณีเป็นรายย่อยๆ ที่มีบรรจุสินค้าภายในเขตอารักขาของกรมศุลกากรซึ่งเป็นการตรวจก่อนบรรจุสินค้า อัตราการเปิดตรวจ
จำนวนไม่เกิน |
10 |
หีบห่อ |
ให้เปิดตรวจ |
1 หีบห่อ |
จำนวนไม่เกิน |
50 |
หีบห่อ |
ให้เปิดตรวจ |
2 หีบห่อ |
จำนวนไม่เกิน |
100 |
หีบห่อ |
ให้เปิดตรวจ |
3 หีบห่อ |
จำนวนไม่เกิน |
500 |
หีบห่อ |
ให้เปิดตรวจ |
4 หีบห่อ |
จำนวนไม่เกิน |
1000 |
หีบห่อ |
ให้เปิดตรวจ |
5 หีบห่อ |
จำนวนไม่เกิน |
1001 |
หีบห่อ |
ให้เปิดตรวจ |
6 หีบห่อ |
กรณีไม่พบข้อสงสัยให้นำของผ่านสถานีรับบรรทุกเข้าไปได้
กรณีพบว่ามีการกระทำผิดให้ทำการจับกุมและดำเนินคดีจนกว่าจะแล้วเสร็จ
6.เมื่อผ่านการตรวจ กรณีเป็น Red Line หรือไม่ต้องตรวจใดๆ กรณี Green Line สินค้าจะถูกส่งไปยังเรือ เพื่อชั่งน้ำหนักจากรถเครนที่ยกตู้คอนเทนเนอร์วางบนเรือ
7.เมื่อบรรจุสินค้าลงเรือแล้ว นายเรือจะต้องยื่นบัญชีสินค้าสำหรับเรือ ต่อกรมศุลกากรภายใน 6 วันเต็มนับตั้งแต่วันที่ได้ออกใบปล่อยเรือขาออก
8.ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร จะตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาออก กับ ใบกำกับสินค้า และบัญชีสินค้าสำหรับ หากถูกต้อง ระบบจะออกรหัส 0409 หมายถึง การส่งออกสำเร็จ หากไม่ถูกต้อง จะให้ผู้ประกอบการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง ก่อนออกรหัส 0409 แล้วจึงส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
ทั้งนี้ บันทึกและเอกสารประกอบดังกล่าวใช้เป็นเอกสารประกอบของผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากรในการชี้แจงต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
(ดูเอกสารประกอบ)