11 คำถามที่น่าสนใจ ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
11 คำถามที่น่าสนใจ ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
1. Q : สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนตามยุทธศาสตร์กรมฯจัดเป็นสถาบันประเภทใด
A :จัดอยู่ในสถาบันทางสังคมไม่ใช่สถาบันทางการเงิน
2. Q :ลักษณะเด่นของสถาบันทางสังคมคืออะไร
A :ลักษณะเด่นของสถาบันทางสังคมคือ การจัดระเบียบ
การควบคุมอำนาจของสังคม โดยอำนาจจะต้องมาจากสังคม
3. Q : เมื่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนตามยุทธศาสตร์กรมฯเป็นสถาบันทางสังคม อยากทราบว่าจัดอยู่ในประเภทใดของสถาบันทางสังคม
A : จัดอยู่ในประเภทสถาบันทางเศรษฐกิจ จาก 5 ประเภทของสถาบันทางสังคม ได้แก่
1.สถาบันครอบครัว
2.สถาบันการปกครอง
3.สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
4.สถาบันการศึกษา
5.สถาบันศาสนา
4. Q : หน้าที่หลักของสถาบันเศรษฐกิจ มีหน้าที่ทำอะไร
A : สถาบันทางเศรษฐกิจมีหน้าที่หลัก ดังนี้
1. ผลิตสินค้า (บริการ) เพื่อความต้องการ
2. แจกแจงนำวัตถุดิบไปสู่หน่วยผลิต
3. ช่วยให้ผลผลิตมีการบริโภคเพียงพอ
4. พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
5. Q : หน้าที่ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่สำคัญตามหน้าที่หลักของสถาบันเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง
A : หน้าที่(บริการ)ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่สำคัญได้แก่
1. การจัดระเบียบกองทุนต่างๆในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด“แก่สมาชิกกองทุน”
2. การจัดระเบียบกองทุนต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด“แก่ชุมชน”
6. Q : ข้อแตกต่างระหว่างสถาบันเศรษฐกิจและสถาบันทางการเงิน มีอะไรบ้าง
A : ข้อแตกต่างมีดังนี้
สถาบันเศรษฐกิจ(สังคม)
1. จะเข้ามารับความเสี่ยงเอง
2. เป็นนายหน้าให้บริการสภาพคล่องทำตัวเป็นเอเย่นต์
3. มุ่งลดต้นทุนในการทำธุรกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
4. หวังกำไรสูงสุด
สถาบันทางการเงิน
1. ไม่รับความเสี่ยงเอง
2. ไม่ทำตัวเป็นเอเย่นต์หรือนายหน้า
3. มุ่งอำนวยความสะดวกในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่คำนึงต้นทุน
4. ไม่หวังกำไร
7. Q : การจัดระเบียบกองทุนต่างๆในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสถาบันฯควรทำอย่างไร
A : กิจกรรมที่สถาบันฯควรทำได้แก่
(1) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ของสมาชิก เช่น การให้กู้ยืมการให้โอนเปลี่ยนแปลงสมาชิกระหว่างกองทุนโดยโอนภาระหนี้สินไปด้วย
(2) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการออกกฎเกณฑ์ เงื่อนไข ระเบียบ ข้อบังคับข้อตกลงร่วมกันระหว่างกองทุนกับกองทุนหรือกองทุนกับสมาชิก
(3) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปรับปรุง กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ระเบียบ ข้อบังคับระหว่างกองทุนต่างๆให้เอื้อต่อการดำเนินการของกองทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
8. Q : กิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในการให้บริการของสถาบันฯมีอะไรบ้าง
A : กิจกรรมที่เป็นรูปธรรมได้แก่
(1) การให้สมาชิก (กลุ่ม)กู้ยืม
(2) การปรับเปลี่ยนสัญญากู้ยืมของสมาชิก
(3) การโอนภาระหนี้สินระหว่างกองทุนสมาชิก
(4) การทำข้อตกลงระหว่างกองทุนเพื่อดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน
(5) บริการด้านการเงิน จัดทำบัญชีงบดุล
(6) บริการด้านการปรับปรุงพัฒนาระบบงาน
(7) บริการด้านระเบียบ กฎหมาย
(8) บริการด้านติดตาม เร่งรัดหนี้สิน
(9) บริการด้านส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
(10) บริการด้านฝึกอบรมพัฒนาสมาชิก
(11) อื่นๆ ที่สมาชิกต้องการ
9. Q : ทุนดำเนินการของสถาบันฯได้จากอะไร
A : ทุนดำเนินการของสถาบันฯได้จาก
(1) การบูรณาการกองทุนของสมาชิก
(2) การระดมทุนหรือหุ้นพิเศษของสมาชิก
(3) เงินรับฝากของสมาชิก
(4) เงินงบประมาณจากทางราชการ องค์กรเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) เงินบริจาค
10. Q : รายได้ของสถาบันได้จากอะไร
A : รายได้ของสถาบันฯได้จาก
(1) ดอกผลจากการให้สมาชิกกู้ยืม
(2) ค่าธรรมเนียม ค่าสมัครจากสมาชิก
(3) รายได้จากการจัดกิจกรรมให้บริการสมาชิก เช่น ค่าลงทะเบียนฝึกอบรม ค่าบริการทำบัญชีงบดุล เร่งรัดหนี้สิน เป็นต้น
(4) รายได้จากการทำกิจกรรมลงทุนของสถาบันฯ
(5) อื่นๆตามที่สถาบันฯกำหนด
11. Q : โครงสร้างการบริหารของสถาบันฯ ควรเป็นอย่างไร
A : โครงสร้างการบริหารของสถาบันฯ ควรประกอบด้วย
1 ผู้จัดการสถาบันฯ
2 ฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่
2.1 ฝ่ายอำนวยการ
2.2 ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
2.3 ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา
2.4 ฝ่ายเงินกู้(สินเชื่อ)
2.5 ฝ่ายบัญชีและการเงิน(ฝาก-ถอน)
2.6 ฝ่ายนิติกรรมและเร่งรัดหนี้ฯลฯ
3. ที่ปรึกษาสถาบันฯ (เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน , ผู้ทรงคุณวุฒิ)