คปก.ทบทวนร่างกม.ส่งเสริมเเละรักษาคุณภาพสิ่งเเวดล้อม คาดชงความเห็นรบ.ใน 3 เดือน
คปก.เปิดเวทีทบทวน ‘ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม’ แนะเพิ่มกลไกชุมชน-ประชาสังคม-ธุรกิจ ร่วมจัดการ ประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อมคำนึงทุกมิติ คาดชงความเห็นรัฐบาลภายใน 3 เดือน
วันที่ 12 ก.ค. 56 คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น ‘ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม’ ณ โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท กรุงเทพฯ
นายไพโรจน์ พลเพชร ประธานอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พ.ร.บ.สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ.2535 เปนกฎหมายสําคัญของประเทศ มีสาระสําคัญครอบคลุมการบริหารจัดการสิ่งแวดลอมในหลายดาน ทั้งการกําหนดใหมีคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ กองทุนสิ่งแวดลอม การคุมครองสิ่งแวดลอม การควบคุมมลพิษ มาตรการสงเสริม ความรับผิดทางแพงและบทกําหนดโทษ อยางไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวบังคับใชมานานกวา 20 ป ขณะที่สถานการณ สภาพปญหาดานสิ่งแวดลอมมีความรุนแรงและซับซอนมากขึ้น ทําใหบทบัญญัติบางประการไมสอดคลองกับสถานการณในปจจุบัน ทั้งนี้คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาเนื้อหาทั้งหมดเห็นว่า ควรเพิ่มหลักการเข้าถึงข้อมูล หลักความโปร่งใส และหลักของการมีส่วนร่วมเข้าไปในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว
สำหรับแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายนั้น คณะอนุกรรมการฯ มีแนวทางอย่างน้อย 5 ประเด็น คือ 1.การเปลี่ยนแปลงแนวคิดสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ จากเดิมที่ให้หน่วยงานของรัฐเป็นบทบาทหลักที่ทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ควรมีการเปลี่ยนแปลงให้ประชาชน องค์กร ชุมชนและ ท้องถิ่น เข้ามาใช้อำนาจทางกฎหมายร่วมกับรัฐ 2.ในแง่กลไกการบริหาร ควรเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใหม่ โดยเพิ่มองค์ประกอบตัวแทนชุมชน ท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
และ 3.การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากปัจจุบันที่มีการประเมินในระดับโครงการและกิจกรรม ควรให้มีการประเมินในระดับยุทธศาสตร์ด้วย ขณะเดียวกันการประเมินผลกระทบในระดับโครงการหรือกิจกรรม ควรเพิ่มมิติการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน อีกทั้งควรพิจารณาประเด็นปัญหาด้วยว่าใครจะเป็นผู้กำกับให้เป็นไปตามการประเมินและรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนั้น ซึ่งส่วนตัวคิดว่า ควรเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวถึงกรณีการประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อม ควรให้ประชาชน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และคำนึงถึงเรื่องแหล่งผลิตอาหารและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้การประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อมดังกล่าวตอบสนองวัตถุประสงค์ ไม่เฉพาะเพียงแค่มิติเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุนเท่านั้น แต่ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องสิทธิชุมชน เศรษฐกิจภาคเกษตร และแหล่งผลิตอาหารด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องการควบคุมมลพิษ ควรให้เปิดช่องทางประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหามาตรการให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง
“ภายหลังการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ จะนำข้อมูลมาพิจารณาทบทวนว่าจะมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคปก. ก่อนที่จะเสนอแนะในทางเนื้อหาต่อรัฐบาล, สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยคาดว่าจะจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลได้ภายใน 2-3 เดือนหลังจากนี้ ทั้งนี้คาดว่าจะปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนในก.ค.นี้ นายไพโรจน์ กล่าวสรุป .
ที่มาภาพ: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1250522304&grpid=00&catid=00